SLider section

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

 

 

ความเป็นมา

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าเป็นอาหารจานเดียวประเภทเส้นของคนจีนกวางตุ้ง ได้ข้ามาเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในสมัยที่มีการอพยพเข้ามาของชาวจีนและคนจีนที่มีฝีมือทางด้านทำอาหารได้เปิดร้านเพื่อขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เนื่องจากเป็นอาหารจานเดียวที่ทำได้ง่ายและเป็นที่นิยม จึงกลายเป็นที่แพร่หลายมาจนปัจจุบัน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าจัดเป็นอาหารเส้นที่มีคุณค่าอาหารครบ 5 หมู่ เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งข้าวเจ้า ในปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 220 กิโลแคลอรีเพราะเส้นจะมีน้ำมันเคลือบ ในขณะที่ข้าวหุงสุก 100 กรัมให้พลังงาน 110 กิโลแคลอรี ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าหมู 1 จานให้พลังงาน  397 กิโลแคลอรี

 

ส่วนผสม

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่            120    กรัม

เนื้อหมู                              50      กรัม

ผักคะน้าหั่น                        50      กรัม

เต้าเจี้ยว                              2        ช้อนโต๊ะ

ซีอิ๊ว                                    1        ช้อนชา

น้ำซุป                                   1        ถ้วย

แป้งมันสำปะหลัง                 2        ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย)

น้ำมันสำหรับผัด                  2        ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อยพอเคลือบกระทะ พอร้อนใส่เส้นลงไปผัดให้เส้นกระจายและไม่ให้ติดกัน ใส่ซีอิ๊วเล็กน้อย ผัดจนหอม ตักขึ้นใส่จานผัดหมูกับน้ำมัน พอสุกใส่ผักคะน้า เติมน้ำซุปเล็กน้อย ใส่เต้าเจี้ยว รอจนเดือด เติมแป้งมันสำปะหลังให้พอเหนียว ตักราดเส้นที่ผัดไว้ เสิร์ฟ

 

 

ภาค ใต้

แกงไตปลา

ความเป็นมา แกงไตปลาอาหารจานเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารใต้ ไตปลาทำมาจากการนำพุงปลา และกระเพาะปลาที่มีอยู่มาก เช่น พุงปลาทู พุงปลาลัง มาใส่เกลือหมักดองไว้ ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อหมักจนได้ที่ประมาณ 1 เดือน ก็นำมาทำแกง ใส่เนื้อปลา ผัก ที่มีรสชาติเผ็ด เค็ม ร้อนแรง   คุณค่าทางโภชนาการ ไตปลาเป็นของหมักดองที่มีโปรตีนสูง นำมาทำแกงโดยใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งล้วนมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีไขมันจากปลาซึ่งเป็นไขมันดี และมีวิตามินต่างๆ จากผัก เช่น ฟักทองที่มีวิตามินเอ มะเขือพวงช่วยย่อยอาหาร และข้อเด่นของผักทั้งหมดที่ใส่นี้มีกากใยที่ช่วยระบายท้องได้อย่างดี   ส่วนผสมไตปลาปรุงรส ไตปลา(พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว)             1     ถ้วย ตะไคร้บุบ                            3     ต้น ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ ข่าหั่นแว่น                           60   กรัม พริกไทยเม็ดบุบ                    2     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ต้มไตปลาผสมน้ำแล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ทั้งหมด พอเดือด กรองน้ำไว้ พักไว้ ส่วนผสมพริกแกง กระเทียม 15 กรัม หอมแดง 50 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด พริกชี้หนูสด 15 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ  ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด พักไว้ ส่วนผสมแกงไตปลา ไตปลาปรุงรส                       1     ถ้วย ปลาย่างแกะเนื้อ                   1     ถ้วย หน่อไม้หั่น                          1     ถ้วย มะเขือเปราะ                        80   กรัม มะเขือพวง                           ½    ถ้วย ถั่วฝักยาวหั่นสั้น                   ½    ถ้วย ฟักทองหั่น                          80   กรัม น้ำสะอาด                            3     ถ้วย ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ วิธีทำ นำไตปลาปรุงรสละลายกับน้ำตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาย่างแกะเนื้อ หน่อไม้ และฟักทอง เมื่อเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และใบมะกรูดฉีก ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำขนุน

    ความเป็นมา ตำขนุน หรือ ตำบ่าหนุน คือการนำขนุนอ่อนมาโขลกรวมกับพริกแกงเพื่อเพิ่มรสชาติขนุนอ่อนนิยมรับประทานเป็นผักเคียงอีกทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย   คุณค่าทางโภชนาการ ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากพลังงาน โปรตีน ไขมัน กากใยอาหาร อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย   ส่วนผสม ขนุนอ่อน                  400    กรัม เนื้อหมูสับ                100    กรัม ใบมะกรูด                  5        ใบ กระเทียมเจียว           1        ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย                    1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย               1        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้งทอด       5        เม็ด น้ำมันพืช                      2        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ                  1        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง            15      เม็ด กระเทียม                   10      กรัม หอมแดง                     30      กรัม ข่าหั่น                           1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                  1        ช้อนโต๊ะ กะปิ                              1        ช้อนชา ปลาร้าต้มสุก                1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                             ½       ช้อนชา วิธีทำ โขลกขนุนอ่อนที่ต้มแล้วให้ละเอียดพักไว้ โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียดพักไว้ จากนั้นตั้งกระทะเจียวกระเทียมพอเหลือง ใส่เครื่องแกงลงผัดให้หอม ใส่หมูสับ ผัดให้หมูสุก ใส่ขนุนลงผัดให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูด ตักใส่ภาชนะโรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชีและพริกขี้หนูแห้งทอด      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

โอเอ๋ว

    ความเป็นมา โอเอ๋วเป็นชื่อของเมล็ดโอเอ๋ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเม็ดแมงลัก จัดเป็นเมล็ดสมุนไพร เมื่อนำมาแช่น้ำจะเป็นเมือก ใส่เจี่ยกอเพื่อให้จับตัวเป็นก้อนเหมือนวุ้นไม่มีสี นำมาหั่นใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำแดง ใส่รวมกับเฉาก๊วย ถั่วแดง เป็นของหวานน้ำแข็งไส ซึ่งเป็นขนมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตที่มาพร้อมกับชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในภูเก็ต   คุณค่าทางโภชนาการ เมล็ดโอเอ๋วจัดเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง มีฤทธิ์เย็นที่ช่วยแก้ร้อนใน ยิ่งเมื่อกินในฤดูร้อนที่ใส่น้ำแข็งจะช่วยดับร้อน ทำให้รู้สึกสดชื่น และยังช่วยให้ร่างกายเย็นซึ่งไปช่วยแก้อาการร้อนในได้อย่างดี   ส่วนผสม โอเอ๋ว                                   80      กรัม ถั่วแดง                                  3        ช้อนโต๊ะ เฉาก๊วยหั่นเป็นชิ้น                30      กรัม น้ำแดงหรือน้ำเชื่อม              3        ช้อนโต๊ะ น้ำแข็งไส   วิธีทำ นำส่วนผสมใส่ชาม ใส่น้ำแข็งไส ราดน้ำเชื่อม    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire