SLider section

ร้านอาหารใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้าวผัดปูเมืองทอง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ดอกรักอาหารป่า

รายละเอียดเพิ่มเติม

ร้านลอดช่องใบเตย สวนจตุจักร

รายละเอียดเพิ่มเติม

ร้านห่านฮ่องเต้

รายละเอียดเพิ่มเติม

เกษร คลองโคน

รายละเอียดเพิ่มเติม

เครปนมสด จุฑาพร

ร้านอาหารยอดนิยม

รายละเอียดเพิ่มเติม

ร้านอาหารติดลม

รายละเอียดเพิ่มเติม

หอมด่วน (Hom Duan)

รายละเอียดเพิ่มเติม

 LOUP BAR & ก๋วยเตี๋ยวแม่หน่อย

รายละเอียดเพิ่มเติม

คั่วหน่อไม้

รายละเอียดเพิ่มเติม

แกงโฮ๊ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

แกงหอยขม

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้าวหมกไก่

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาโอต้มหวาน

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาดุกย่าง

รายละเอียดเพิ่มเติม

แกงหน่อไม้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาทูสอดไส้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

รายละเอียดเพิ่มเติม

น้ำพริกอ่อง

รายละเอียดเพิ่มเติม

กะหรี่ปั๊บไส้ไก่

รายละเอียดเพิ่มเติม

เสือร้องไห้

รายละเอียดเพิ่มเติม

แจ่วบอง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้าวมันไก่

รายละเอียดเพิ่มเติม

ห่อนึ่งไก่

รายละเอียดเพิ่มเติม

แกงอ่อมเนื้อ

 

ข่าว

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับงบประมาณในการดำเนินงาน โครงการศูนย์การออกแบบและตรวจสอบอุตสาหกรรม (สาขาอาหาร) ต้นแบบ (Industrial Design and Inspection Center (Food Sector) จากรัฐบาลเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตรวจวิเคราะห์สินค้าอาหาร ทั้งที่เป็นสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือสินค้าที่นำเข้า/ส่งออก จากในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคสินค้าอาหารและควบคุมคุณภาพสินค้าอาหารให้มีความปลอดภัยต่อการบริโภค และ ดำเนินการให้มีหน่วยทดสอบหรือให้คำปรึกษาแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนด้านข้อมูล หรือเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้  ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม
8 ธันวาคม 2559
 

กิจกรรม

 

มุมความรู้

post-thumb

ข้าวยำ ... ยำประโยชน์ โภชนาการสูง

“ข้าวยำ” เมนูอร่อยเลื่องชื่อประจำภาคใต้ นิยมทานเป็นอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน สาเหตุที่เรียกว่า ข้าวยำ เกิดจากการ ที่นำเอา ส่วนผสม จำพวกสมุนไพร และเครื่องชูรสต่างๆ มาวางไว้ในจานพร้อมกับข้าวหอมมะลิร้อนๆ เวลาจะทานก็ต้องทำการ ”ยำ” ส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากันดี จากนั้นก็ราดน้ำยำแบบใต้แท้ๆ ที่เรียกว่าน้ำบูดูลงไปคลุกเคล้า ซึ่งทำให้ข้าวยำออกมามีรสชาติครบรส เค็มนิด มันหน่อย เปรี้ยวหวาน เผ็ดเบาๆ อร่อยลงตัว หากใครได้ลองทานข้าวยำแบบใต้แท้ๆ แล้ว จะต้องหาเวลามาทานอีก เพราะติดใจในรสชาติแน่นอน *ภาพประกอบเป็นเพียงตัวอย่างข้าวยำ ส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสูตรและวัตถุดิบในท้องที่ นอกจากความอร่อยแล้ว ข้าวยำยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพด้วยส่วนประกอบของพืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิด เราลองมาดูกันว่าหากทานข้าวยำ 1 จาน ให้ประโยชน์อะไรแก่ร่างกายของเราบ้าง – มะพร้าวคั่ว บำรุงกำลังและบำรุงเส้นเอ็นได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกได้อีกด้วย – ถั่วฝักยาว มีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงธาตุ – ถั่วงอกสด เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย มีกากใยอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ – มะม่วงเปรี้ยว ช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ – พริกขี้หนูป่น รสชาติเผ็ดร้อน ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยย่อย และมีฤทธิ์ขับลมในช่องท้อง – ข่าตำละเอียด รสชาติเผ็ดร้อน มีฤทธิ์ขับลมในช่องท้อง ลำไส้ และช่วยขับพิษโลหิตในมดลูก – ตะไคร้สับ แก้ปวดท้องและขับลมได้เป็นอย่างดี – ใบมะกรูด ดับกลิ่นคาวอาหารทำให้อาหารอร่อยมากยิ่งขึ้น มีสรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคลักปิดลักเปิด ขับลมในลำไส้ แก้จุดเสียดในช่องท้องได้ Thai Street Food อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี และทานของที่ดีอยู่เสมอ … และหนึ่งในเมนูที่เราอยากแนะนำก็คือ “ข้าวยำปักษ์ใต้” อาจจะหาทานยากสักหน่อยในท้องถิ่นอื่นๆ หรือตามเมืองใหญ่ แต่ข้าวยำในภาคใต้ถือเป็นสตรีทฟู้ดที่สามารถหาทานได้ทั่วไป อร่อย ถูก และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ

อ่านต่อ

post-thumb

ขนมจีน ... Street Food

“ขนมจีน” Street Food รสชาติถูกปากคนไทย ทานคู่กับผักสดหลากหลายชนิด แพร่หลาย จนเรียกได้ว่าหาทานกันได้ทุกที่ ตั้งแต่ร้านอาหารใหญ่ๆ ไปจนถึง จากแม่ค้าหาบเร่ ตามริมถนน … รู้หรือไม่? ถึงเราจะเรียกเมนูนี้ว่าขนมจีน ขนมจีนไม่ได้มีที่มาจากประเทศจีน แต่เป็นอาหารมอญต่างหาก เรียกเป็นภาษามอญว่า คะ-นอม- จีน นานๆ เข้าเสียงก็เพี้ยนกร่อนไป กลายเป็นคำว่าขนมจีนมาจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง สำหรับคอขนมจีนคงไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับคนทั่วไป (ชาวต่างชาติยิ่งแล้วใหญ่) เมนูขนมจีนแต่ละชนิดกลับเป็นที่สับสนงงงวย เรียกผิดเรียกถูก เพราะรูปร่างหน้าคล้ายกันมาก แถมบางอย่างยังหน้าตาไม่ตรงตามชื่ออีก Thai Street Food เลยเอาหน้าตาและชื่อเรียกของขนมจีนประเภทต่างๆ มาฝาก เวลาสั่งจะได้ไม่ต้องมึน และได้เมนูขนมจีนแบบที่ต้องการอีกด้วย ขนมจีนน้ำเงี้ยว – เป็นขนมจีนที่นิยมทานในหมู่ชาวล้านนา รสชาติเค็มเผ็ดหวานกลมกล่อม มีลักษณะเป็นแกงมีน้ำมันสีแดงๆ ส้มๆ ลอยหน้า โดยทั่วไปจะใส่ซี่โครงหมูและเลือดหมูลงไปเป็นโปรตีน จุดเด่นของขนมจีนน้ำเงี้ยวคือมีการใส่มะเขือเทศและดอกงิ้ว ถ้าเห็นสองอย่างนี้ฟังธงได้เลยว่าเป็นขนมจีนน้ำเงี้ยวแน่นอน ขนมจีนน้ำยาป่า – ได้ชื่อว่าน้ำยาป่า ก็ต้องเต็มไปด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศร้อนแรง น้ำยาป่ามีลักษณะเป็นแกงไม่ข้นมาก เห็นสีสันของพริกและเครื่องแกงได้ชัดเจน มีการใส่เนื้อปลาละเอียด กระชาย กระเทียม ข่า ขิง พริกแห้ง และปลาร้าลงไป เมื่อทิ้งไว้อาจตกตะกอนเนื้อปลานอนก้น ต้องคนให้ดีก่อนตักราด ใครที่ชอบความเผ็ดร้อนแรงต้องลองขนมจีนน้ำยาป่า   ขนมจีนน้ำยากะทิ – นิยมใส่เนื้อปลาละเอียดลงไปเช่นเดียวกับน้ำยาป่า แต่ส่วนผสมจะถูกโขลกหรือปั่นจนละเอียดเข้ากัน และใส่กะทิลงไปทำให้เนื้อเนียนข้นมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังนิยมใส่ลูกชิ้นปลาลงไป ขนมจีนน้ำยากะทิจะมีรสชาติอ่อนกว่าน้ำยาป่าเล็กน้อย แต่มีความมันของกะทิเพิ่มขึ้นมาด้วย   ขนมจีนน้ำพริก – หน้าตาคล้ายกับขนมจีนน้ำยาแต่มักมีสีออกน้ำตาลมากกว่าและมีถั่วลอยอยู่ภายใน เป็นประเภทของขนมจีนที่ใช้เวลาทำนานที่สุด และน่างงที่สุด เพราะชื่อว่าน้ำพริก แต่กลับมีรสชาติออกหวานมันเค็ม เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย (ฝรั่งก็ทานได้) ความหวานมันที่ได้เกิดจากถั่วและกะทิที่ใส่ลงไป ยิ่งผสมทานกับน้ำยาที่มีรสชาติเผ็ดๆ ยิ่งอร่อยกลมกล่อม กำลังดี นอกจากเมนูขนมจีนที่กล่าวมาแล้ว เรายังสามารถเอาแกงประเภทต่างๆ มาราดทานกับเส้นขนมจีนได้ เช่น แกงเขียวหวานไก่ และแกงไตปลา อร่อยไม่แพ้ขนมจีนสูตรดั้งเดิมเลย …

อ่านต่อ

post-thumb

ส้มตำ ... อาหารสุขภาพริมทาง

“ส้มตำ” อาหารริมทางที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก เชื่อว่าคนไทยทุกคนต้องเคยทานส้มตำ และหลายๆ คนก็หลงรักในความนัวของส้มตำจนต้องออกไปหาทาน หรือซื้อเข้าบ้านมาทานกันบ่อยๆ … ทราบหรือไม่ว่าภายใต้ความอร่อยแซ่บถึงใจนั้น ส้มตำมีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารมากมายอย่างที่คุณเองอาจคาดไม่ถึง ส้มตำถือเป็นอาหารสมุนไพรทั้งจาน อุดมไปด้วยพืชผักนานาชนิด ซึ่งแต่ละอย่างก็มีประโยชน์และจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งอาจจำแนกคร่าวๆ ได้ ดังนี้ – มะละกอดิบ มีสารช่วยบำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดผิดปกติ นอกจากนั้นยังมีเอนไซม์ปาเปน (Papain) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยย่อยเนื้อสัตว์ได้ดี – มะเขือเทศ ดีต่อผิวพรรณ ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง – พริกขี้หนู มีรสชาติเผ็ดร้อน ช่วยขับเสมหะ ช่วยย่อยและขับลมในกระเพาะอาหาร และยังช่วยให้เจริญอาหาร – กระเทียม มีฤทธิ์คล้ายกับพริกขี้หนูเนื่องจากมีรสชาติเผ็ดร้อน ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย – มะนาว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน และช่วยฟอกโลหิต – มะกอก แก้โรคบิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้ชุมคอ แก้กระหายน้ำ และช่วยปรับน้ำดีให้เป็นปกติ ประโยชน์ขนาดนี้ แต่พลังงานที่ร่างกายได้รับไม่ได้สูงตามไปด้วย เพราะส่วนผสมต่างๆ ของส้มตำต่างก็เป็นพืชผักสมุนไพร มีแคลอรี่ที่ค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับสาวๆ ที่ต้องการลดน้ำหนัก ส้มตำเปรียบได้เหมือนสลัดผักของชาติตะวันตก เพียงแต่อร่อยและได้ประโยชน์มากกว่านั่นเอง เคล็ดลับในการเลือกทานส้มตำให้ดีต่อสุขภาพ คือต้องเลือกที่ดูปรุงสะอาดปลอดภัย นอกจากนั้นควรเลี่ยงส้มตำที่รสจัดมากๆ เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคตับโรคไต

อ่านต่อ

post-thumb

ข้าวไข่เจียวหมูสับมีมากกว่าความอร่อย

“ข้าวไข่เจียวหมูสับ” เป็นหนึ่งใน Street Food ที่ได้รับความนิยมตลอดกาล เพราะเชื่อว่าทุกครัวเรือนต้องมีไข่ไก่ หรือไข่เป็ดอัดแน่นอยู่ในตู้เย็นไม่ต่ำกว่า 10 ฟองแน่นอน ที่สำคัญเป็นเมนูที่ทำรับประทานได้ง่าย ขั้นตอนและวิธีการไม่ยากค่ะ อีกทั้ง สามารถปรุงรสไข่เจียวหมูสับได้ตามต้องการอีกด้วย และวิธีการทำแบบเบสิกๆ เพียงแค่ตอกไข่ใส่ถ้วย พร้อมเจียวไข่ให้ฟู ปรุงรสด้วยซอส พริกไทย หรือจะใส่ผักที่ตัวเองชอบก็ได้ค่ะ แต่ต้องซอยให้เป็นชิ้นเล็กๆ นะคะ เพื่อความอร่อยและเคี้ยวง่ายขึ้นค่ะ (แต่เรื่องรสชาติการปรุงก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวด้วยนะคะ) หลังจากนั้น ก็นำหมูสับเข้ามาเทใส่ไข่ที่เจียวไว้ และเจียวให้เนื้อหมูกับไข่ผสมกัน ต่อมาก็ตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอให้น้ำมันร้อน ก็ใส่ไข่เข้าไปเจียวได้เลย แต่ถ้าใครอยากได้ไข่เจียวแบบฟูๆ กรอบๆ ขอแนะนำค่ะว่า ต้องรอให้น้ำมันร้อนก่อนค่อยนำไข่ลงไปทอดนะคะ หรือใครไม่อยากลงมือทำข้าวไข่เจียวหมูสับเอง อยากลองไปชิมฝีมือคนอื่น ตามร้านอาหารทั่วไปก็มีเมนูนี้แทบจะทุกร้านเลยทีเดียว แถมยังเป็นเมนูที่หาทานง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน ที่สำคัญอิ่มอยู่ท้องทั้งวันค่ะ พูดถึงความอร่อยแล้ว มาพูดถึงคุณค่าทางอาหารกับอาหารจานนี้กันด้วยดีกว่าค่ะ **ไข่เจียวหมูสับ 1 จาน** – พลังงานทั้งหมด 684 Kcal – ไขมันทั้งหมด 62.8 g – โซเดียม 1112 mg – โพแทสเซียม 356 mg – โปรตีน 27.6 g – คลอเรสเตอรอล 426 mg นอกจากนี้ หากเราต้องการได้สารอาหารที่มีคุณค่ามากกว่านี้ ต้องรู้จักรับประทานอาหารอย่างอื่นเสริมเข้าไปด้วยนะคะ เช่น ทานผักเพื่อให้มี เกลือแร่ วิตามิน เข้าสู่ร่ายกายบ้าง เพราะการทานผักช่วยให้ระบบการทำงานของกระเพาะดีขึ้น ที่สำคัญช่วยให้ร่ายการแข็งแรงมากด้วยค่ะ อีกอย่างหนึ่งที่ห้ามขาดเลย คือ ต้องดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ เพื่อให้ร่ายกายมีน้ำหล่อเลี้ยง ช่วยในการเผาผลาญ และมีแรงต่อสู้กับการทำงานได้เยอะๆ ค่ะ ที่มาของข้อมูล (Nutrition Fact)  : http://bit.ly/2uY6Q0L

อ่านต่อ

post-thumb

ข้าวผัด ครบเครื่องความอร่อยและคุณค่าโภชนาการ

“ข้าวผัด” เมนูอาหาร Street Food  แบบพื้นฐานที่ แต่ความนิยมนั้นทะลุขอบฟ้า  ร้านอาหารไทยไปเปิดที่ประเทศไหน ข้าวผัดก็ไปโผล่ที่ประเทศนั้น … นั่นก็เพราะว่า หอม อร่อยเป็นที่สุด ฉุดทุกจมูกของนักชิมให้หยุดเสพกันทุกทีไป  วิธีทำก็ง่ายทำได้หลากหลาย จะใส่ไข่หรือไม่ใส่ จะใส่ หมู ไก่ กุ้ง ปลาหมึก หรือผักอะไรก็ได้ที่ชอบแล้วแต่จะ Create ให้อร่อยและสวยงามน่ารับทาน … พูดเลยว่าคุณย่าทำข้าวผัดทีไรกลิ่นหอมโชยไป 8 บ้าน 10 บ้าน จนทุกบ้านอยากจะวิ่งเข้าครัวคุณย่ามาขอรับประทานกันเลยทีเดียว … การันตีว่าข้าวผัดดีต่อใจขั้นกว่า เหนือกว่าเบสิก และเมื่อเพิ่มคุณค่าขั้นกว่าให้ข้าวผัดด้วยไข่ดาวใบสวยๆ โปะลงไป พร้อมน้ำปลาพริกมะนาว อื้อหือ ! พูดเลยว่าความอร่อยยกระดับ  Street Food ขึ้นมาทันที แล้วแกล้มด้วยแตงกวานะ โอ้โห !  ชีวิตดี๊ดี เพราะมีข้าวผัดกิน นอกจากความอร่อยขั้นเทพของข้าวผัดแล้ว มาดูกันว่า ข้าวผัด 1 จาน กับไข่ดาว 1 ฟอง  มีประโยชน์มากมาย ถ้าได้รู้จะยิ่งทำให้รักข้าวผัดเป็นเป็นทวีคูณกันเลยทีเดียวเชียว พูดเลย ! ข้าวผัดหมู 1 จานไขมัน 37.2  g คลอเลสเตอรอล 312 mg โซเดียม 1082 mg โพแทสเซียม 1164 mg คาร์โบไฮเดรต 15 g ใยอาหาร 1.3 g โปรตีน 54.7 g นอกจากนี้สารอาหารที่ได้จากไข่ดาว 1 ฟอง น้ำหนักเฉลี่ย 50 กรัม พลังงาน 72 Kcal โปรตีน 6.3 g คาร์โบไฮเดรต 0.4 g ไขมันรวม 4.8 g ทานข้าวผัดอิ่มกันแล้ว ก็ทานผลไม้ตามอีกสักชาม และดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน เพื่อสุขภาพที่ดีตลอด­ไปนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจาก #สถาบันอาหาร ข้อมูล Nutrition Fact จาก : http://bit.ly/2tSVeaC และ http://bit.ly/2uroqXU  

อ่านต่อ

post-thumb

ข้าวหมูแดง ทานอร่อยแข็งแรงทุกคน

  มาเติมพลังให้ชีวิตด้วยความอร่อยของ “ข้าวหมูแดง” หนึ่งใน Street Food อาหารไทยที่ได้รับความนิยมตลอดกาลจากทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกันค่ะ ข้าวหมูแดงหาทานง่าย สั่งปุ๊บได้ปั๊บ ราดด้วยซอสหวานเค็มลงตัว บางร้านมีซีอิ๊วดำบวกพริกดองเป็นท็อปปิ้ง ยิ่งอร่อยกันไปจนต้องขอเพิ่มจานที่สองตามๆ กันไป อร่อยกันแล้ว … มีคุณค่าสารอาหารอะไรบ้าง มาดูกัน ข้าวหมูแดง 1 จาน – พลังงานทั้งหมด 409 Kcal – โปรตีน 20 g – คาร์โบไฮเดรต 62 g – ไขมัน 9 g และถ้าใครอยากทำข้าวหมูแดงทานเอง (เพื่อจะได้อร่อยโดนใจ) แอบไปเอาสูตรมาจาก “MThai FOOD” (https://food.mthai.com/food-recipe/95307.html) มาฝากให้ได้ลองทำกันตามสูตรนี้เลยค่ะ ส่วนผสมหมูแดง : – หมูสันใน 1 เส้น ( 500 กรัม) – ผักชี 2 ต้น – กระเทียมใหญ่ 7 กลีบ – ผงพะโล้ 1 ช้อนโต๊ะ – น้ำตาลทราย 1 ถ้วย – น้ำปลา 1/2 ถ้วย – พริกไทยป่น 1 ช้อนชา – สีผสมอาหารสีแดง 1 ช้อนชา วิธีทำหมูแดง : – ทุบรากผักชี และทุบกระเทียมทั้งเปลือก – จิ้มเนื้อหมูสันใน เพื่อให้ส่วนผสมซึมเข้าเนื้อหมูได้ง่าย (ใช้เนื้อหมูสันใน เพราะเวลาย่างจะนุ่ม) – นำน้ำตาลทราย น้ำปลา พริกไทยป่น ผงพะโล้ ใส่ลงไปในชามผสม ตามด้วยสีผสมอาหารสีแดง – คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ใส่ผักชีและกระเทียม ใส่หมูสันใน คลุกเคล้าให้เข้ากันจากนั้นก็นำฟิล์มถนอมอาหารห่อไว้และนำไปเข้าตู้เย็น ค้างไว้ 1 คืน หากไม่มีเวลาให้แช่ไว้แค่ 2 ชั่วโมงก็ใช้ได้ค่ะ – ใช้ความร้อน 200 องศา เข้าเตาอบ 40 นาที หรือ ใช้เตาถ่านย่างก็ได้ ส่วนผสมน้ำราดหมูแดง: – น้ำต้มกระดูกหมู – ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ – น้ำตาลทรายแดง 4 ช้อนโต๊ะ – น้ำที่เหลือจากหมักหมูแดง – งาขาวคั่ว 1/2 ถ้วย – แป้งมันละลายน้ำ 1/4 ถ้วย ทำง่ายๆ ตามนี้ : – นำงาขาวและถั่วลิสงปั่นในโถปั่นให้ละเอียด – ต้มน้ำซุปให้เดือด เติมน้ำหมักหมูแดงลงไปต้มให้เดือด 10 นาที ตักเครื่องหมักหมูแดงทิ้งไป เติมซีอิ๊วดำ และถั่วกับงาที่ปั่นไว้ลงไป – นำแป้งที่ละลายกับน้ำแล้วใส่ลงไปในหม้อ ค่อยๆ ใส่ที่ละนิดพร้อมกับคนไปด้วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้แป้งเป็นก้อน เสร็จแล้วค่ะ จัดใส่จาน เสิร์ฟ หลังจากทานข้าวหมูแดงชาร์จพลังชีวิตกันแล้ว ชาร์จเพิ่มกันอีกด้วยการทานนม ผัก ผลไม้ และอย่างอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้สมดุล และดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้วต่อวัน พร้อมออกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีตลอดไป ด้วยความปราถนาดีจากสถาบันอาหาร ที่มาของ Nutrition Fact : http://bit.ly/2eGY4NY

อ่านต่อ

close[x]
Questionnaire