SLider section

แกงไตปลา

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงไตปลา

ความเป็นมา

แกงไตปลาอาหารจานเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารใต้ ไตปลาทำมาจากการนำพุงปลา และกระเพาะปลาที่มีอยู่มาก เช่น พุงปลาทู พุงปลาลัง มาใส่เกลือหมักดองไว้ ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อหมักจนได้ที่ประมาณ 1 เดือน ก็นำมาทำแกง ใส่เนื้อปลา ผัก ที่มีรสชาติเผ็ด เค็ม ร้อนแรง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ไตปลาเป็นของหมักดองที่มีโปรตีนสูง นำมาทำแกงโดยใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งล้วนมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีไขมันจากปลาซึ่งเป็นไขมันดี และมีวิตามินต่างๆ จากผัก เช่น ฟักทองที่มีวิตามินเอ มะเขือพวงช่วยย่อยอาหาร และข้อเด่นของผักทั้งหมดที่ใส่นี้มีกากใยที่ช่วยระบายท้องได้อย่างดี

 

ส่วนผสมไตปลาปรุงรส

ไตปลา(พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว)             1     ถ้วย

ตะไคร้บุบ                            3     ต้น

ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ

ข่าหั่นแว่น                           60   กรัม

พริกไทยเม็ดบุบ                    2     ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ ต้มไตปลาผสมน้ำแล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ทั้งหมด พอเดือด กรองน้ำไว้ พักไว้

ส่วนผสมพริกแกง กระเทียม 15 กรัม หอมแดง 50 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด พริกชี้หนูสด 15 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ  ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด พักไว้

ส่วนผสมแกงไตปลา

ไตปลาปรุงรส                       1     ถ้วย

ปลาย่างแกะเนื้อ                   1     ถ้วย

หน่อไม้หั่น                          1     ถ้วย

มะเขือเปราะ                        80   กรัม

มะเขือพวง                           ½    ถ้วย

ถั่วฝักยาวหั่นสั้น                   ½    ถ้วย

ฟักทองหั่น                          80   กรัม

น้ำสะอาด                            3     ถ้วย

ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ

วิธีทำ

นำไตปลาปรุงรสละลายกับน้ำตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาย่างแกะเนื้อ หน่อไม้ และฟักทอง เมื่อเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และใบมะกรูดฉีก ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ

ภาค เหนือ

ตำกระท้อน

    ความเป็นมา ตำกระท้อน หรือตำบ่าตืน คือการนำกระท้อนมาหั่นเป็นเส้นแล้วผสมรวมกับเครื่องปรุงต่างๆ ปกติแล้วกระท้อนเป็นผลไม้ที่ทานสดได้เลย แต่ชาวล้านนานำมาดัดแปลงให้อร่อยถูกปากมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ กระท้อนอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังมีวิตามินเอ มีเพกติน ช่วยให้ระบบขับถ่ายมีประสิทธิภาพ และเป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส ช่วยเผาผลาญไม่ให้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ที่ไม่ได้ใช้งานตกค้างและสะสมในร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อกระท้อน           300    กรัม พริกขี้หนู                  5        กรัม กระเทียม                 5        กรัม น้ำตาลปี๊บ                1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปู                          ½       ช้อนชา กุ้งแห้ง                       1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ทุบกระท้อนให้นุ่ม ปอกเปลือก สับเป็นชิ้นโขลกพริกขี้หนู กระเทียม พอแตก ใส่น้ำตาลปี๊บ ปลาร้า น้ำปู และกุ้งแห้ง โขลกให้เข้ากันใส่กระท้อนลงโขลกและคลุกเคล้าให้เข้ากัน      


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ไข่คว่ำ

    ความเป็นมา ไข่คว่ำเป็นเมนูพื้นบ้านของชาวล้านนา นิยมใช้ไข่เป็ดเพราะเปลือกไข่เป็ดใบใหญ่ ไม่แตกง่าย เวลาทำจะได้ไข่คว่ำที่สวยงาม   คุณค่าทางโภชนาการ ไข่ อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆมากมาย ช่วยลดความดันโลหิต  เนื้อหมูเป็นแหล่งโปรตีน กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย   ส่วนผสม ไข่เป็ด             3        ฟอง ไข่ไก่                2        ฟอง เนื้อหมูบด        200    กรัม น้ำตาลทราย      1        ช้อนชา กระเทียมสับ       1        ช้อนโต๊ะ พริกไทย              1        ช้อนชา ผักชีซอย            ½       ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย      ½       ช้อนโต๊ะ เกลือ                   ½       ช้อนชา น้ำมันพืช   วิธีทำ ต้มไข่เป็ดจนสุก ผ่าครึ่งทั้งเปลือก จากนั้นใช้ช้อนควักไข่ออกโดยไม่ให้เปลือกไข่แตก ผสมไข่เป็ดต้ม หมูสับ กระเทียมสับ เกลือ พริกไทย น้ำตาล ผักชี ต้นหอม คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักส่วนผสมใส่ในเปลือกไข่เป็ด ตอกไข่ไก่ใส่ชาม จากนั้นตั้งกระทะ เทน้ำมัน นำไข่ที่พักไว้ชุบไข่ไก่ แล้วคว่ำหน้าลงทอดพอหมูสุกและเหลือง ตักขึ้น พร้อมเสิร์ฟ      


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

แจ่วบอง

    ความเป็นมา แจ่วบองคือน้ำพริกซึ่งเป็นที่นิยมในภาคอีสาน เพราะสามารถทำได้ง่าย และเก็บรักษาไว้ได้นาน สามารถนำไปกินระหว่างการเดินทาง หรือเวลาพักจากการทำนาทำไร่   คุณค่าทางโภชนาการ แจ่วบองมีปลาร้าเป็นส่วนผสมหลัก มีโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งสมุนไพรต่างๆยังมีสรรพคุณหลากหลาย เช่น พริกขี้หนูมีวิตามินซี หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจข่ายังช่วยในระบบย่อยอาหารกระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย   ส่วนผสม ปลาร้าสับละเอียด      1        ถ้วย พริกแห้งเม็ดใหญ่        20      เม็ด พริกขี้หนูแห้ง            30      เม็ด กระเทียมจีน             40      กรัม หอมแดง                  80      กรัม ตะไคร้ซอย               60      กรัม ข่าอ่อนหั่นแว่น          10      กรัม น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว วิธีทำ นำพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่าอ่อน คั่วจนสุกหอม นำลงโขลกพร้อมตะไคร้ซอยจนละเอียดนำปลาร้าสับละเอียดมาตำคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกและน้ำมะนาว จัดใส่จานทานคู่กับผักสด      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire