SLider section

อาหาร 4 ภาค

อาหารภาคกลาง

หมูสะเต๊ะ

ความเป็นมา หมูสะเต๊ะ เป็นอาหารปิ้งย่างที่คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเนื้อสะเต๊ะ แต่ในประเทศไทยที่มีคนจีนมากและไม่นิยมกินเนื้อวัวจึงเปลี่ยนเป็นเนื้อหมู ส่วนผสมที่ใช้หมักเนื้อก็ยังมีลูกผักชี ยี่หร่า ขมิ้นหรือผงกะหรี่  และร้านขายหมูสะเต๊ะอร่อยๆ มักเป็นคนจีน หมูสะเต๊ะเป็นของว่างที่กินได้ตลอดวัน และนิยมสั่งกินก่อนอาหารมื้อหนัก   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีวิตามินบี 12 และอุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุต่างๆ มีโปรตีนที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มที่ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสะเต๊ะจะอร่อยเมื่อมีมันหมูติดไปด้วยเล็กน้อย เพราะจะทำให้เนื้อนุ่มและไม่กระด้าง แต่ควรระวังไม่กินมันหมูมากเกินไปเพราะร่างกายอาจจะรับไขมันเกินความจำเป็น   ส่วนผสม เนื้อหมูสันนอกหั่นเป็นชิ้นยาวกว้าง      1        กก. กะทิ                                          1        ถ้วย   เครื่องสำหรับหมักหมู ลูกผักชีป่น 1 ช้อนโต๊ะ ยี่หร่าป่น 1 ช้อนชา น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา  น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ หมักหมูและเสียบไม้พักไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นำหมูสะเต๊ะย่างไฟ ขณะย่างพรมกะทิไปด้วยเพื่อไม่ให้แห้ง พอสุกใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มและอาจาด   ส่วนผสมน้ำจิ้มและวิธีทำ กะทิ 3 ถ้วย น้ำพริกแกง ½ ถ้วย ถั่วลิงสงโขลกละเอียด 1/3 ถ้วย น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปึก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มมะขาม 2 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวกะทิให้พอแตกมัน ใส่น้ำพริกลงไปผัดจนหอม ใส่ถั่วลิสง น้ำปลา น้ำตาล น้ำส้มมะขาม เคี่ยวต่อจนข้น ชิมรส ส่วนผสมอาจาดและวิธีทำ น้ำส้มสายชู 1/3 ถ้วย น้ำตาลทราย ½ ถ้วย เกลือป่น 2 ช้อนชา แตงกวาผ่าสี่หั่น 2 ลูก หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ พริกชี้ฟ้าหั่นขวาง ½ เม็ด ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟ พอทุกอย่างละลายยกลง พักไว้ให้เย็น จัดแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้าใส่ชาม ราดน้ำอาจาด


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

ลาบคั่ว

ความเป็นมา ลาบ เป็นอาหารที่นิยมทำเลี้ยงแขกในงานบุญ งานมงคล ที่เป็นโอกาสพิเศษของชาวล้านนา เนื่องจากคำว่า “ลาบ” ที่พ้องเสียงกับคำว่า “ลาภ” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายที่ดี เมนูลาบของทางภาคเหนือจะแตกต่างจากลาบของทางภาคอีสานคือใช้การผัดเนื้อสัตว์กับพริกแกง และไม่ใส่ข้าวคั่ว   คุณค่าทางโภชนาการ ลาบคั่วเป็นอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูง  นอกจากนั้นเครื่องปรุงต่างๆ เช่น กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง ยังให้วิตามิน เกลือแร่ เช่นธาตุเหล็ก และแคลเซียม ช่วยขับลม และย่อยอาหารได้ดี   ส่วนผสม เนื้อหมูสับ                                   300    กรัม ไส้ตัน                                           100    กรัม ตับหมู                                          100    กรัม หนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก             100    กรัม ต้นหอมหั่นหยาบ                         3        ช้อนโต๊ะ ผักชีหั่นหยาบ                              3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                         3        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ                                2        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช                                     4        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย                              2        ช้อนโต๊ะ ผักไผ่หั่นหยาบ                          4        ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดซอย                            2        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้งเผา                       5        เม็ด กระเทียมเผา                      10      กรัม หอมแดงเผา                       30      กรัม ข่าหั่นละเอียดคั่ว                  1        ช้อนชา ตะไคร้หั่นละเอียด                1        ช้อนโต๊ะ เกลือป่น                               1        ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว                            1        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นพริกแกงให้ละเอียดนำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูสับ ไส้ตันหั่นชิ้น ตับหมูหั่นชิ้น และหนังหมูลวก จากนั้นนำกระเทียมสับลงไปเจียวกับน้ำมันให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อสัตว์ลงไปผัดให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ และใบมะกรูด คลุกเคล้าให้ทั่ว ตักขึ้นโรยหน้าด้วยผักชีต้นหอม


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

ยำสะนัด

ความเป็นมา ยำสะนัด หรือยำสะนับ เป็นการนำผักหลายๆ ชนิด มายำรวมกัน เช่น ชะอม กระถินถั่วฝักยาว ผักบุ้ง หัวปลี และมะเขือเปราะ   คุณค่าทางโภชนาการ ยำสะนัดมีวิตามินและเกลือแร่จากผักต่างๆ หัวปลีช่วยในการขับน้ำนมของคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร มะเขือพวงมีสาร เพกติน ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน   ส่วนผสม หมูสับต้มสุก                       120    กรัม ถั่วฝักยาวต้มสุก                   50      กรัม ผักบุ้งต้มสุก                        50      กรัม หัวปลีต้มสุกซอย                80      กรัม มะเขือพวงต้มสุก               80      กรัม งาขาวคั่ว                            2        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ                       2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                       1        ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย                            1        ช้อนโต๊ะ หอมแดงเจียว                     1        ถ้วย น้ำปลาร้าต้มสุก                   1        ถ้วย ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้งเผา                       7        เม็ด ข่าหั่นละเอียด                     2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงเผา                       40      กรัม กระเทียมเผา                      40      กรัม กะปิ                                     1        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมัน และกระเทียมให้หอม จากนั้นใส่หมูสับลงไปผัดให้สุก ใส่ผักต่างๆ ลงไปผัดให้เข้ากัน ใส่น้ำปลาร้าต้มสุก และงาขาวคั่ว ผัดให้ทั่ว ตักขึ้นโรยต้นหอม ผักชี และหอมแดงเจียว


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

ยำยอดมะขาม

ความเป็นมา ยำยอดมะขามของชาวล้านนา มีหลากหลายสูตรตามแต่ละท้องถิ่นในภาคเหนือ ยอดมะขามมีรสเปรี้ยว จึงมักจะถูกนำมาใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ยอดมะขามหรือใบมะใบสดมะขาม ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ ช่วยรักษาหวัด อาการไอ หอมใหญ่ มีวิตามินซีสูง และต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายและช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี   ส่วนผสม ยอดมะขามอ่อน                   2        ถ้วย หอมใหญ่ซอย                      1        ถ้วย หอมแดงเจียว                     1/2     ถ้วย น้ำปลา                                 1        ช้อนโต๊ะ มะเขือเทศลูกใหญ่ ผ่าซีก  80      กรัม แคบหมูหั่นละเอียด             1        ถ้วย พริกแห้งทอด                      3        เม็ด วิธีทำ นำยอดมะขามอ่อน หอมใหญ่ และมะเขือเทศใส่ลงในอ่างผสม เติมน้ำปลาคลุกเคล้าให้เข้ากัน พยายามกดให้มะเขือเทศช้ำและคายน้ำออกมาเล็กน้อย จากนั้นใส่แคปหมูหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  และพริกแห้งทอดหักท่อน คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

ยำจิ้นไก่

ความเป็นมา ยำจิ้นไก่ มีที่มาจากพิธีเลี้ยงผีไก่ต้มของชาวล้านนา เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็นำไก่ต้มมาทำยำจิ้นไก่รับประทานกัน แม้ชื่อจะคล้ายกับอาหารประเภทยำ แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นอาหารประเภทต้ม   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อไก่มีโปรตีน อีกทั้งส่วนผสมยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เห็ดฟาง มีวิตามินซี จำนวนมากลดการติดเชื้อ ช่วยสมานแผล ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด โรคเหงือก ลดอาการผื่นคัน  หัวปลีช่วยในการขับน้ำนมของคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร   ส่วนผสม ไก่ต้ม ฉีกเป็นชิ้น                  150       กรัม เห็ดฟาง ผ่าครึ่ง ต้มสุก           80      กรัม หัวปลีต้ม ฉีกเป็นชิ้น              100      กรัม ผักชีซอย                                 2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                            2        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย                           2        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                                 5        เม็ด ข่าเผาซอย                             1        ช้อนชา ตะไคร้เผาซอย                       15      กรัม หอมแดงซอย                         30     กรัม กระเทียม                                40     กรัม วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำเครื่องแกงลงไปผัดให้หอม จากนั้นเติมน้ำสะอาดหรือน้ำซุปลงไป ใส่ไก่ต้ม เห็ดฟาง และหัวปลี ต้มจนเดือด ใส่ผักชีฝรั่งซอย ตักขึ้น โรยหน้าด้วยต้นหอม และผักชี


เพิ่มเติม

อาหารภาคกลาง

น้ำพริกมะขามสด

ความเป็นมา น้ำพริกเนื้อข้นที่ใช้ฝักมะขามอ่อนซึ่งยังไม่มีเม็ดมาตำ รสจะเปรี้ยวจี๊ด แต่เมื่อตำรวมกับกุ้งแห้ง กะปิที่มีรสเค็ม กระเทียม ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานจากพริกและน้ำตาลปึก น้ำพริกถ้วยนี้จึงมีรสกลมกล่อม เปรี้ยวนำ และทำกินกันทั่วไปในแถบที่มีต้นมะขามขึ้น น้ำพริกมะขามจึงจัดเป็นน้ำพริกพื้นบ้านที่หาง่าย ทำไม่ยาก และกินกันเกือบทุกบ้าน   คุณค่าทางโภชนาการ มะขามเป็นพืชที่นำมากินและใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ฝักมะขามมีวิตามินซีพอสมควร มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และลดความร้อนในร่างกาย มีแคลเซียมตามธรรมชาติที่ไปช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง  มะขามสด 100 กรัม มีแคลเซียม 429 มิลลิกรัม และวิตามินซี 44 มิลลิกรัม   ส่วนผสม มะขามอ่อน                        80      กรัม กุ้งแห้งตำละเอียด             20      กรัม กะปิเผาไฟ                         1        ช้อนโต๊ะ กระเทียม                           3        กรัม พริกขี้หนูเขียว แดง           5        กรัม น้ำปลา                               2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปึก                          2        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำกะปิกับกระเทียมให้ละเอียด ใส่มะขามอ่อนตำจนแหลก ใส่พริกขี้หนูตำพอแหลก ใส่กุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ คลุกเคล้าให้เข้ากัน เสิร์ฟคู่กับผักสด


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

คั่วหน่อไม้

ความเป็นมา ในภาษาเหนือ คั่ว หมายถึงการผัด คั่วหน่อไม้ ก็คือผัดหน่อไม้  เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมทำทานภายในครัวเรือน   คุณค่าทางโภชนาการ หน่อไม้เป็นอาหารที่ให้เส้นใยสูงจึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย อีกทั้งยังมีโปรตีนจากเนื้อหมูและคุณค่าทางโภชนาการจากเครื่องปรุงต่างๆ   ส่วนผสม หน่อไม้                             300    กรัม เนื้อหมูสามชั้น                  50      กรัม พริกชี้ฟ้า                           15      กรัม กระเทียมสับ                      1        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช สำหรับผัด เครื่องแกง พริกขี้หนู                           7        เม็ด กระเทียม                         15        กรัม หอมแดง                          20      กรัม กะปิ                                  1        ช้อนชา ปลาร้า                              1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                               1/2     ช้อนชา วิธีทำ นำหน่อไม้ไปต้มจนสุก จากนั้นนำมาฉีกหรือหั่นเป็นเส้นๆ พักไว้ จากนั้นโขลกหรือตำเครื่องแกงให้ละเอียด ตั้งกระทะใส่น้ำมันเจียวกระเทียมให้พอเหลือง ใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม ใส่เนื้อหมูสามชั้นผัดให้สุก ใส่พริกชี้ฟ้า และหน่อไม้ผัดให้เข้ากันจนสุกทั่ว ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

คั่วตับหมู

ความเป็นมา ในอดีตชาวล้านนานิยมทานเนื้อสัตว์เฉพาะในงานบุญงานเทศกาลเท่านั้น อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์จึงถูกยกให้เป็นเมนูที่หาทานได้ยาก แต่ปัจจุบัน ไม่ต้องรองานบุญงานเทศกาลก็สามารถหาทานได้อย่างแพร่หลาย   คุณค่าทางโภชนาการ ตับหมูเป็นแหล่งของโปรตีนและธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งยังได้วิตามินและเกลือแร่จากส่วนผสมต่างๆ   ส่วนผสม หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ                   200       กรัม ตับหมู เครื่องในหมู หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ    200       กรัม น้ำมันพืช ใบมะกรูด                                                   5        กรัม ต้นหอมซอย                                              1        ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย                                                    1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                                        1        ช้อนชา ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                                     7        เม็ด หอมแดง                                     20      กรัม กระเทียม                                    15      กรัม ข่าซอย                                       1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                                 1        ช้อนโต๊ะ รากผักชีซอย                              1        ช้อนชา กะปิ                                             1        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียดพักไว้ ตั้งกระทะบนไฟอ่อน นำพริกแกงลงไปผัดให้หอม ใส่หมูสามชั้นและเครื่องในลงไปผัดให้พอสุก ปรุงรส ผัดให้เข้ากันจนสุกทั่ว ใส่ใบมะกรูด ผัดให้เข้ากัน ตักขึ้น โรยต้นหอม และผักชี


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

แกงหอยขม

ความเป็นมา หอยขมเป็นหอยน้ำจืดขนาดเล็ก มีเปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ นิยมนำมาแกง เพื่อให้ได้รสชาติจากน้ำแกงข้นๆที่เข้าไปถึงตัวเนื้อหอย   คุณค่าทางโภชนาการ หอยขมมีโปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีคุณค่าทางโภชนาการจากส่วนผสมต่างๆ เช่น ตะไคร้ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร  กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม หอยขม                    500          กรัม น้ำปลา                          2        ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่วโขลก                 4        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูบุบ                  5        กรัม ผักชีฝรั่งหั่นเป็นท่อน    30      กรัม ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                  5        เม็ด เกลือป่น                  1        ช้อนชา ตะไคร้ซอย             1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย         2       ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย          3       ช้อนโต๊ะ กะปิ                          1       ช้อนชา ปลาร้าสับ                 1       ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ล้างหอยขมให้สะอาดพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นปั่นหรือตำพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันเล็กน้อยให้หอม ใส่หอยขมลงไปผัดให้พริกแกงเคลือบหอย เติมน้ำสะอาดพอท่วม ต้มต่อจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่พริกขี้หนู และข้าวคั่วโขลก และผักชีฝรั่ง คนให้ทั่วพอเดือดอีกครั้งตักขึ้น จะได้แกงที่มีลักษณะน้ำขลุกขลิก เสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

อาหารภาคเหนือ

แกงผักหวาน

ความเป็นมา ผักหวานสามารถหารับประทานได้ง่ายในภาคเหนือ ชาวล้านนาที่นิยมทานผักอยู่แล้วจึงนำมาดัดแปลงให้เป็นเมนูที่มีรสชาติอร่อย   คุณค่าทางโภชนาการ ผักหวานเป็นผักที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโปรตีน และวิตามินซี อีกทั้งยังมีปริมาณของเส้นใยอาหารอยู่พอสมควร จึงช่วยในการขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งปลาแห้งมีโปรตีนที่สามารถย่อยได้ง่ายอีกด้วย   ส่วนผสม ปลากรอบ                          1        ถ้วย ผักหวาน                            200    กรัม มะเขือเทศลูกเล็ก             30      กรัม วุ้นเส้น                               50      กรัม น้ำซุป                               3        ถ้วย ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                            3       เม็ด หอมแดง                           30     กรัม กระเทียม                          10      กรัม กะปิ                                    1       ช้อนชา ปลาร้าสับ                           1       ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำไปละลายกับน้ำซุปแล้วนำขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลากรอบ และมะเขือเทศลงต้มจนเดือด จากนั้นใส่ผักหวานต้มจนผักสุกนุ่ม ใส่วุ้นเส้น เมื่อเดือดอีกครั้งยกลง ตักเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

อ่อมปลาดุก

    ความเป็นมา อ่อมในภาคอีสานคือแกงที่โดดเด่นในเรื่องของกลิ่นและรสชาติ มีเอกลักษณ์จากผักชีลาวชาวอีสานนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังสามารถใส่เนื้อสัตว์ต่างๆได้หลากหลายตามชอบ   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลาดุกย่างมีสรรพคุณคือ มีโปรตีนสูง และไขมันต่ำ ผักชีลาวช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆในร่างกาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล  ลดกรดไหลย้อน ลดอาการนอนไม่หลับ แถมมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน   ส่วนผสม ปลาดุก หั่นชิ้น                     300    กรัม ผักชีลาวหั่น                         50      กรัม ต้นหอมหั่น                          20      กรัม มะเขือเปราะหั่นเป็นซีก         40      กรัม มะเขือพวง                          2        ช้อนโต๊ะ ใบแมงลัก                          15      กรัม พริกขี้หนูสด                       10      กรัม ตะไคร้หั่น                          10      กรัม หอมแดง                            20      กรัม ข้าวเบือ                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                               2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้า                            1/2     ถ้วย น้ำสะอาด                            2        ถ้วย วิธีทำ โขลกหอมแดง และพริกขี้หนูสดให้ละเอียด      ใส่ลงในหม้อเติมน้ำสะอาดนำขึ้นตั้งไฟจนเดือด จากนั้นใส่มะเขือพวง มะเขือเปราะผ่าซีก และข้าวเบือ ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำปลาร้า เมื่อน้ำเดือดอีกครั้งใส่ปลาดุกต้มจนสุก สุดท้ายใส่ผักชีลาว ต้นหอม ตะไคร้ และใบแมงลัก ตักเสิร์ฟ        


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

แหนมซี่โครงหมูทอด

    ความเป็นมา แหนมเป็นการถนอมอาหารอีกประเภทหนึ่ง มีรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากการหมักของจุลินทรีย์ แหนมซี่โครงหมูทอดมีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม และบางครั้งจะหั่นเป็นชิ้นติดกระดูกอ่อนที่สามารถรับประทานได้ ให้ความกรุบกรอบเวลาเคี้ยว นิยมทานเป็นกับแกล้มคู่กับผักต่างๆเช่นขิง กะหล่ำปลี   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง   ส่วนผสม ซี่โครงหมูอ่อน           400    กรัม ข้าวสุก                      3        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ             15      กรัม เกลือ                          2        ช้อนชา วิธีทำ นำข้าวสุกมาแช่น้ำแล้วบีบน้ำออก พักไว้ล้างซี่โครงหมู ซับให้แห้งจากนั้นนำมาผสมกับ กระเทียมสับ เกลือ และข้าวสุกนำใส่ถุงพลาสติก ไล่อากาศออก ห่อแล้วมัดให้แน่น เก็บไว้ประมาณ 2 วัน จากนั้นนำมาทอดให้สุก กินกับถั่วลิสง ขิงอ่อน และกะหล่ำปลี        


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

หมูยอทอด

    ความเป็นมา หมูยอเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อในภาคอีสานหลายจังหวัด เช่นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีหมูยอซึ่งถูกปากและถูกใจจนต้องซื้อเป็นของฝาก หมูยอสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายแต่หมูยออร่อยๆแค่นึ่งหรือทอดก็เพียงพอแล้ว   คุณค่าทางโภชนาการ หมูยอมีโปรตีนมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกทั้งยังมีเครื่องเทศที่มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น พริกไทยมีสาร ชื่อว่า ‘พิเพอรีน” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้   ส่วนผสม หมูยอ น้ำมันพืช   วิธีทำ หั่นหมูยอเป็นชิ้นบางๆ พักไว้ จากนั้นเทน้ำมันลงในกระทะแล้วตั้งไฟให้ร้อน นำหมูยอลงไปทอดจนมีสีเหลืองน่ารับประทาน จัดใส่จานซับน้ำมัน พร้อมเสิร์ฟ      


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

หมูแดดเดียว

    ความเป็นมา เนื้อหมูเมื่อหมักแล้วนำไปตากแดดไว้ไม่นาน เนื้อหมูจะแห้งไม่มากและจะมีรสชาติที่อร่อย เมื่อนำมาทอดจะเพิ่มรสชาติให้กับเนื้อหมูและไม่ทำให้เหนียวมากเวลารับประทาน   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่นชิ้น            1        กิโลกรัม กระเทียม                 20      กรัม รากผักชี                  40      กรัม พริกไทย                  2        ช้อนชา น้ำตาล                     4        ช้อนชา น้ำปลา                     2        ช้อนโต๊ะ ซอสหอยนางรม         4        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกกระเทียม รากผักชี พริกไทยให้ละเอียด นำไปหมักเนื้อหมูเติมน้ำตาลน้ำปลาซอสหอยนางรม นวดด้วยมือจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเนื้อหมูไปตากแดดประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง กลับเนื้อหมูเป็นระยะจนเริ่มแห้ง จากนั้นตั้งน้ำมันลงในกระทะบนไฟกลาง นำหมูลงไปทอดจนสุก จัดหมูทอดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ      


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

หม่ำ

  ความเป็นมา หม่ำ คือการถนอมอาหาร เหมือนกับไส้กรอกอีสานแต่หม่ำจะใส่เครื่องในสัตว์ เช่นตับและม้าม ทำให้มีสีเข้มกว่า หม่ำอร่อยๆหารับประทานได้ทั่วไปแต่ที่นิยมกันมากอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เพราะมีวางขายให้เลือกมากมาย   คุณค่าทางโภชนาการ ในหม่ำมีกระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายมีเนื้อสัตว์ช่วยให้ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง   ส่วนผสม เนื้อหมู                                    2        กิโลกรัม เครื่องในหมู (ตับและม้าม)      2        กิโลกรัม ไส้หมูสด                                   1        กิโลกรัม เกลือป่น                                    200    กรัม กระเทียม                                   300    กรัม ข้าวคั่ว                                         300    กรัม   วิธีทำ นำเนื้อหมูและเครื่องในที่เตรียมไว้มาบดให้ละเอียดผสมด้วยข้าวคั่ว เกลือ กระเทียม จากนั้นนำไปใส่ในไส้หมู นำเชือกมามัดให้เป็นข้อๆผึ่งลงไว้ 4-5 วันปรุงให้สุกก่อนรับประทาน      


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

หมกหน่อไม้

  ความเป็นมา หมกหน่อไม้เป็นอีกเมนูหนึ่งซึ่งใช้ส่วนผสมคล้ายกับต้มเปรอะ แต่เปลี่ยนเป็นการห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่ง หน้าตาจะใกล้เคียงกับห่อหมกของภาคกลาง หมกหน่อไม้มีรสชาติที่เข้มข้น และจัดจ้านกว่าต้มเปรอะ   คุณค่าทางโภชนาการ หมกหน่อไม้มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น น้ำใบย่านางช่วยเสริมสร้างภูมิต้านโรคในร่างกายให้แข็งแรง หน่อไม้มีเส้นใยอาหารจำนวนมากจึงทำให้ช่วยระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นตะไคร้ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี   ส่วนผสม หน่อไม้รวก ขูดเส้น               300    กรัม พริกขี้หนู                           10      กรัม น้ำใบย่านาง                       1        ถ้วย ตะไคร้หั่น                           30      กรัม ข้าวเบือ                               2        ช้อนโต๊ะ หอมแดง                             30      กรัม หมูสามชั้น หั่นชิ้น                200    กรัม น้ำปลาร้า                               3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                   ½       ช้อนโต๊ะ ใบแมงลัก                          10      กรัม ใบตองสำหรับห่อ   วิธีทำ โขลก พริกขี้หนู ตะไคร้ หอมแดงให้ละเอียด จากนั้นใส่ในชามผสมใส่ส่วนผสมที่เหลือลงไป ปรุงรส ด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า คลุกเคล้าให้เข้ากันนำส่วนผสมที่ได้บีบน้ำออกเล็กน้อยวางลงบนใบตอง แล้วห่อให้สนิท จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก พร้อมเสิร์ฟ        


เพิ่มเติม

อาหารภาคอีสาน

หมกปลาดุก

    ความเป็นมา หมกปลาดุก เป็นอาหารที่ทำได้ไม่ยาก สามารถหาส่วนผสมได้ทั่วไป หมกคือการห่อด้วยใบตองและทำให้สุกด้วยการนึ่ง ดังนั้นคุณค่าทางสารอาหารจึงอยู่ครบถ้วน มากกว่าการทำอาหารประเภทอื่นๆ   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลาดุกย่างมีสรรพคุณคือ มีโปรตีนสูง และไขมันต่ำ ผักชีลาวช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆในร่างกาย ช่วยลดคอเลสเตอรอลลดกรดไหลย้อน ลดอาการนอนไม่หลับ แถมมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน   ส่วนผสม ปลาดุกหั่นชิ้น                      600    กรัม พริกขี้หนูแดง                      5        เม็ด ตะไคร้หั่น                          2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                2        ช้อนโต๊ะ ใบแมงลัก                           1/2     ถ้วยตวง ต้นหอมหั่น                         1/2     ถ้วยตวง ผักชีลาวหั่น                        ½       ถ้วยตวง น้ำปลาร้า                            2        ช้อนโต๊ะ ข้าวเบือ                                 2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกพริกขี้หนู และตะไคร้ให้ละเอียด นำไปคลุกเคล้ากับปลาดุกในอ่างผสม ใส่ใบแมงลัก ต้นหอม ผักชีลาว น้ำปลา น้ำปลาร้า และข้าวเบือ คลุกเคล้าให้เข้ากันตักส่วนผสมใส่ใบตองพอประมาณ แล้วห่อให้สนิท จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก พร้อมเสิร์ฟ      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire