SLider section

ตำขนุน

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ตำขนุน

 

 

ความเป็นมา

ตำขนุน หรือ ตำบ่าหนุน คือการนำขนุนอ่อนมาโขลกรวมกับพริกแกงเพื่อเพิ่มรสชาติขนุนอ่อนนิยมรับประทานเป็นผักเคียงอีกทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากพลังงาน โปรตีน ไขมัน กากใยอาหาร อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย

 

ส่วนผสม

ขนุนอ่อน                  400    กรัม

เนื้อหมูสับ                100    กรัม

ใบมะกรูด                  5        ใบ

กระเทียมเจียว           1        ช้อนโต๊ะ

ผักชีซอย                    1        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมซอย               1        ช้อนโต๊ะ

พริกขี้หนูแห้งทอด       5        เม็ด

น้ำมันพืช                      2        ช้อนโต๊ะ

กระเทียมสับ                  1        ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมพริกแกง

พริกขี้หนูแห้ง            15      เม็ด

กระเทียม                   10      กรัม

หอมแดง                     30      กรัม

ข่าหั่น                           1        ช้อนโต๊ะ

ตะไคร้ซอย                  1        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                              1        ช้อนชา

ปลาร้าต้มสุก                1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                             ½       ช้อนชา

วิธีทำ

โขลกขนุนอ่อนที่ต้มแล้วให้ละเอียดพักไว้ โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียดพักไว้ จากนั้นตั้งกระทะเจียวกระเทียมพอเหลือง ใส่เครื่องแกงลงผัดให้หอม ใส่หมูสับ ผัดให้หมูสุก ใส่ขนุนลงผัดให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูด ตักใส่ภาชนะโรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชีและพริกขี้หนูแห้งทอด

 

 

 

ภาค ใต้

ไก่ย่างฆอและ

  ความเป็นมา ไก่ย่างฆอและเป็นอาหารที่คนมุสลิมทางใต้นิยมกินกันโดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก และยังกินกันทั่วไปที่ประเทศมาเลเซีย ภาษามลายูจะเรียกว่า “อาแยฆอและ” แปลว่าไก่กลิ้ง ซึ่งน่าจะหมายถึงการย่างที่ต้องพลิกไปพลิกมา บางร้านจะขายคู่กับข้าวหลาม   คุณค่าทางโภชนาการ ไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำ แม้ว่าเมนูนี้จะมีไขมันจากกะทิที่หมักและราดขณะย่างเพื่อให้เนื้อนุ่มแต่ก็ไม่มากเกินไป การหมักไก่ด้วยสมุนไพรต่างๆ ที่ช่วยดับกลิ่นคาว ทำให้มีกลิ่นหอมน่ากินแล้ว สมุนไพรและเครื่องเทศเหล่านี้ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยขับลม แก้ท้องอืดด้วย   ส่วนผสม เนื้อสะโพกไก่                      1        กิโลกรัม กะทิ                                     1        ถ้วย พริกชี้ฟ้าแห้ง                      5        เม็ด (กรีดเม็ดออกแช่น้ำไว้สักครู่) หอมแดง                             30      กรัม กระเทียม                            20      กรัม ขมิ้นหั่น                                2        ช้อนชา ลูกผักชีป่น                           1        ช้อนชา ยี่หร่าป่น                              ½       ช้อนชา กะปิ                                       1        ช้อนชา ขิงหั่นแว่น                             10      กรัม น้ำมะขามเปียก                      2        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ โขลกส่วนผสมทั้งหมดให้ละเอียด นำไปผสมกับกะทิ น้ำมะขาม แล้วหมักไก่ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง นำไปย่างจนสุก ขณะย่างทาน้ำหมักไปด้วยเพื่อไม่ให้เนื้อไก่แห้ง    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ขนมจีนน้ำยา

ความเป็นมา ขนมจีนน้ำยาเป็นอาหารที่สันนิษฐานว่าไทยรับมาจากมอญ ซึ่งในอดีตจัดเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ชาติหนึ่งในสุวรรณภูมิ พม่าซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านก็มีอาหารจานนี้แต่จะใส่หยวกกล้วยลงไปด้วยเพื่อทำให้น้ำยาข้นขึ้น แต่คนไทยนิยมกินเนื้อปลามากกว่า จึงใส่เฉพาะเนื้อปลาที่ตำละเอียดใส่ลงไป และใส่ปลาเค็มเพื่อให้มีกลิ่นหอมและรสเค็มกลมกล่อม   คุณค่าทางโภชนาการ ขนมจีนน้ำยาเป็นอาหารจานเดียวที่ครบหมู่ เพราะมีคาร์โบไฮเดรตจากขนมจีน โปรตีนจากเนื้อปลา และมีวิตามินจากผักสดต่างๆ ที่กินเป็นเครื่องเคียง และมีกากใยอาหารอย่างดีที่ช่วยระบบขับถ่าย นอกจากสมุนไพรต่างๆ ที่ช่วยขับลมแล้ว ยังใส่กระชายเพื่อดับกลิ่นคาวของปลา  ซึ่งมีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่ มีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค   ส่วนผสม ขนมจีน                                     1     กิโลกรัม น้ำพริกแกงเผ็ดไม่ใส่เครื่องเทศ     ½    ถ้วย กระชายขูดหั่นชิ้นเล็กๆ                ½    ถ้วย ปลาช่อนหรือปลาเนื้อขาวต้มสุกแกะเฉพาะเนื้อ     2     ถ้วย ปลาเค็มปิ้งแกะเฉพาะเนื้อ             ½    ถ้วย กะทิ                                         4     ถ้วย น้ำต้มปลาเคี่ยว                          1     ถ้วย น้ำปลา ผักเครื่องเคียง ใบแมงลัก ถั่วงอก มะระหั่นชิ้นบาง วิธีทำ ผัดน้ำพริกแกงกับกะทิเล็กน้อยพอให้หอม ใส่เนื้อปลา และปลาเค็มปิ้งลงไปผัดให้เข้ากัน ใส่กระชายผัดให้มีกลิ่นหอม ใส่กะทิลงไปคนให้เนื้อปลาละลายไปกับน้ำกะทิ เติมน้ำต้มปลา ปรุงรส ตั้งไฟให้เดือด นำไปราดลงบนขนมจีน เสิร์ฟคู่ผักเคียง


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire