SLider section

บูดูทรงเครื่องผักสด

ภาค ใต้

  • recipe image cover
  • recipe image cover

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา

บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี

 

คุณค่าทางโภชนาการ

บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย

 

ส่วนผสม

น้ำบูดู                          380 กรัม

น้ำสะอาด                     2     ถ้วย

กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม

ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม

หอมแดงซอย                1     ถ้วย

ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม

ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย

ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย

พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย

น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย

น้ำตาลแว่น                   50   กรัม

ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน

 

วิธีทำ

  1. ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้
  2. นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ

 

 

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงไตปลา

ความเป็นมา แกงไตปลาอาหารจานเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารใต้ ไตปลาทำมาจากการนำพุงปลา และกระเพาะปลาที่มีอยู่มาก เช่น พุงปลาทู พุงปลาลัง มาใส่เกลือหมักดองไว้ ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อหมักจนได้ที่ประมาณ 1 เดือน ก็นำมาทำแกง ใส่เนื้อปลา ผัก ที่มีรสชาติเผ็ด เค็ม ร้อนแรง   คุณค่าทางโภชนาการ ไตปลาเป็นของหมักดองที่มีโปรตีนสูง นำมาทำแกงโดยใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งล้วนมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีไขมันจากปลาซึ่งเป็นไขมันดี และมีวิตามินต่างๆ จากผัก เช่น ฟักทองที่มีวิตามินเอ มะเขือพวงช่วยย่อยอาหาร และข้อเด่นของผักทั้งหมดที่ใส่นี้มีกากใยที่ช่วยระบายท้องได้อย่างดี   ส่วนผสมไตปลาปรุงรส ไตปลา(พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว)             1     ถ้วย ตะไคร้บุบ                            3     ต้น ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ ข่าหั่นแว่น                           60   กรัม พริกไทยเม็ดบุบ                    2     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ต้มไตปลาผสมน้ำแล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ทั้งหมด พอเดือด กรองน้ำไว้ พักไว้ ส่วนผสมพริกแกง กระเทียม 15 กรัม หอมแดง 50 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด พริกชี้หนูสด 15 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ  ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด พักไว้ ส่วนผสมแกงไตปลา ไตปลาปรุงรส                       1     ถ้วย ปลาย่างแกะเนื้อ                   1     ถ้วย หน่อไม้หั่น                          1     ถ้วย มะเขือเปราะ                        80   กรัม มะเขือพวง                           ½    ถ้วย ถั่วฝักยาวหั่นสั้น                   ½    ถ้วย ฟักทองหั่น                          80   กรัม น้ำสะอาด                            3     ถ้วย ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ วิธีทำ นำไตปลาปรุงรสละลายกับน้ำตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาย่างแกะเนื้อ หน่อไม้ และฟักทอง เมื่อเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และใบมะกรูดฉีก ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงพริกหอยแครงใบยี่หร่า

ความเป็นมา           คำว่า “แครง” หรือ “คราง” มาจากภาษาชวา – มลายู ที่ใช้เรียกหอยประเภทหอยแครงว่า “เคอรัง” หรือ “ครัง” จนในที่สุดเพี้ยนมาเป็น แครง หอยแครงมีมากตามชายฝั่งตื้นๆ ที่เป็นโคลน     หรือโคลนเหลวพบมากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัตตานี ซึ่งชาวบ้านหาได้ไม่ยาก นำมาทำอาหารได้หลายชนิดทั้งลวกและแกง   คุณค่าทางโภชนาการ หอยแครงเป็นหอยที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง มีคุณสมบัติช่วยบำรุงเลือด บำรุงไขข้อ นำมาแกงกับน้ำพริกแกงใต้ที่มีรสเผ็ดร้อนช่วยให้ร่างกายสูบฉีดเลือดได้ดี และยังใส่ใบยี่หร่าที่มีรสร้อนแรง ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม อีกด้วย   ส่วนผสม เนื้อหอยแครง            150    กรัม น้ำพริกแกงใต้            ¼       ถ้วย กะปิ                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                        2        ช้อนโต๊ะ ใบยี่หร่า                      50      กรัม น้ำ                                2        ถ้วย วิธีทำ ผสมน้ำพริกแกงกับกะปิให้เข้ากัน ตั้งน้ำพอเดือดใส่พริกแกง พอเดือดใส่หอยแครง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำต้องขลุกขลิก ก่อนยกขึ้นใส่ใบยี่หร่า    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire