SLider section

บูดูทรงเครื่องผักสด

ภาค ใต้

  • recipe image cover
  • recipe image cover

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา

บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี

 

คุณค่าทางโภชนาการ

บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย

 

ส่วนผสม

น้ำบูดู                          380 กรัม

น้ำสะอาด                     2     ถ้วย

กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม

ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม

หอมแดงซอย                1     ถ้วย

ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม

ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย

ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย

พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย

น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย

น้ำตาลแว่น                   50   กรัม

ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน

 

วิธีทำ

  1. ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้
  2. นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ

 

 

ภาค ใต้

แกงปูใบชะพลู

ความเป็นมา แกงปูใบชะพลู หรือน้ำยาปู คล้ายกับน้ำยาของภาคกลางที่กินกับขนมจีน ทางใต้มีอาหารทะเลมากจึงใช้เนื้อปูมาทำ ถ้าเป็นจังหวัดภูเก็ตจะใช้ปูสับเป็นชิ้น แต่ในบางจังหวัดใส่เฉพาะเนื้อปู ส่วนพริกแกงมีรสเข้มข้นตามความนิยมของคนใต้และใส่ขมิ้น น้ำแกงจึงมีสีเหลืองสวย รสชาติเข้มข้น โดยทั่วไปจะกินกับขนมจีน แต่ที่ภูเก็ตจะกินกับเส้นหมี่ หรือเรียกว่า “หมี่หุ้น” ซึ่งน่าจะเป็นอิทธิพลของชาวจีนที่อาศัยอยู่มากในภูเก็ต   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปูเป็นอาหารทะเลที่มีโพแทสเซียมและสังกะสีอยู่สูง โพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิต และทำให้หัวใจเต้นปกติ ส่วนสังกะสีมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ในเนื้อปูต้ม 100 กรัมมีโปรตีน 19.5 กรัม ส่วนใบชะพลูมีวิตามิน แคลเซียม และเบต้าแคโรทีนค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ได้ดีเพราะมีไขมันจากกะทิมาช่วยดูดซึม   ส่วนผสม ปูทะเลนึ่งหรือเนื้อปูนึ่งสุก       1     ถ้วย น้ำพริกแกง                   2     ช้อนโต๊ะ กะทิ                      1 1/2      ถ้วย น้ำตาลปี๊บ                    1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                        2     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                     2     ใบ ใบชะพลูซอย                80   กรัม ขนมจีนหรือเส้นหมี่        100 กรัม ส่วนผสมน้ำพริกแกง  พริกชี้ฟ้าแห้ง 7 เม็ด พริกขี้หนูแห้ง 5 เม็ด (ตามชอบ) พริกขี้หนูสด 5-10 เม็ด พริกไทยขาว 1 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่นแว่น 1 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้หั่นแว่น 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูด 1 ช้อนชา ขมิ้นหั่นแว่น 1 ช้อนโต๊ะ หอมแดง 2 ช้อนโต๊ะ กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือทะเล 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างให้เข้ากันและละเอียด


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ห่อหมกปลาช่อน

    ความเป็นมา การนึ่งในอาหารไทยนั้นคาดว่าได้รับวิธีนี้มาจากชาวจีน มาผสมผสานกับรสชาติและวัตถุดิบอย่างไทย โดยการใช้น้ำพริกแกงผสมในกะทิและเนื้อปลา คนในอ่างดินเนื้อหยาบเพื่อให้เนื้อปลาค่อยๆ ขูดไปกับอ่างดินและละลายปนไปกับกะทิจนส่วนผสมข้นเพื่อให้เนื้อห่อหมกละเอียด นับเป็นวิธีการทำที่น่ายกย่อง อีกทั้งการใส่กระทงใบตองและผักอย่างใบโหระพาช่วยให้มีกลิ่นหอมชวนกินเมื่อนึ่งเสร็จ   คุณค่าอาหาร ห่อหมกได้โปรตีนจากเนื้อปลาและไขมันจากกะทิไปพร้อมๆ กัน ซึ่งปริมาณไขมันไม่มากเกินไป เนื้อปลายังย่อยง่าย ในน้ำพริกแกงมีพริกและสมุนไพรช่วยแก้ท้องอืดและช่วยย่อย  แม้ว่ากินอิ่มแต่จะไม่รู้สึกแน่นท้อง ส่วนผักให้วิตามินและกากใยได้ดี   ส่วนผสม ปลาช่อนล้างสะอาดหั่นเป็นชิ้น          1        กก. กะทิ                                                    3        ถ้วย หัวกะทิ (สำรับหยอดหน้า )               ½       ถ้วย น้ำพริกห่อหมก                                  ½       ถ้วย ไข่                                                       1        ฟอง น้ำปลา                                               3        ช้อนโต๊ะ ผักรองก้นกระทง เช่น ใบยอ ใบโหระพา ผักกาดขาวลวก กะหล่ำปลีลวก พริกแดงหั่นฝอย ผักชี สำหรับโรยหน้า   วิธีทำ นำหัวกะทิไปตั้งไฟจนเดือด ใส่แป้งข้าวเจ้าละลายน้ำเล็กน้อย คนให้เข้ากันจนข้น พักไว้สำหรับหยอดหน้าเทกะทิใส่อ่างดิน ใส่เนื้อปลา คนให้เข้ากันดี ใส่น้ำพริกคนจนข้นเล็กน้อย ตอกไข่ใส่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา คนจนเข้ากันดีและส่วนผสมข้นหนืดนำผักรองไว้ก้นกระทง ตักส่วนผสมห่อหมกใส่ นำไปนึ่งไฟแรงจนสุกราดกะทิ โรยใบมะกรูด โรยหน้าด้วยพริกชี้ฟ้า ผักชี นึ่งต่อเล็กน้อย เสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ลาบปลาช่อนทอด

  ความเป็นมา ปลาในภาคอีสานมีให้เลือกทานหลายชนิด ปลาช่อนเป็นหนึ่งในปลาที่นิยมทานกันมาก เพราะเนื้อแน่นและมีรสชาติอร่อยสามารถนำมาทำเป็นเมนูได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ย่าง ทอด แกง และลาบ   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาช่อนมีโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก นอกจากนี้ปลายังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งยังมีโอเมก้า3ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันที่สำคัญในสมองและจอประสาทตา   ส่วนผสม ปลาช่อนบั้งลำตัว ขนาด 400 กรัม           1        ตัว หอมแดงซอย                                  40      กรัม น้ำปลา                                            2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                         4        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                        1        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                            1        ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว                                             2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                                     10      กรัม ผักชีฝรั่ง หั่นหยาบ                            20      กรัม ใบสะระแหน่                                     10      กรัม   วิธีทำ นำปลาช่อนไปทอดให้เหลืองกรอบ จัดวางลงจานเตรียมน้ำยำโดยการผสม น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บและพริกป่นเข้าด้วยกันคลุกเคล้า หอมแดงซอย ต้นหอมซอย  ผักชีฝรั่ง น้ำยำ และข้าวคั่วพอเข้ากันแล้วราดลงบนตัวปลาโรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ เสิร์ฟพร้อมผักเคียง    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire