SLider section

ยำแหนมสด

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ยำแหนมสด

 

ความเป็นมา

แหนมคือการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแหนมจะมีรสเปรี้ยวเนื่องจากเกิดการหมัก ชาวอีสานนำแหนมมาประยุกต์เป็นยำเพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยมากยิ่งขึ้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

แหนมเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนที่มีคุณภาพดี อุดมไปด้วยแร่เหล็ก และวิตามินบี ซึ่งช่วยแก้อาการท้องผูก และช่วยลดอาการไมเกรนได้อีกด้วย

 

ส่วนผสม

แหนมสดหั่นเป็นชิ้นๆพอคำ          120    กรัม

ขิงซอยตามยาว                       30      กรัม

พริกขี้หนูซอย                          2        ช้อนโต๊ะ

พริกแห้งทอด                           3        กรัม

ต้นหอมหั่นฝอย                        2        ช้อนโต๊ะ

ผักชีหั่นฝอย                              2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงซอยบางๆ                    2        ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว                                    2        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                        3        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย                               1        ช้อนโต๊ะ

ถั่วลิสงคั่ว                                    2        ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

ผสมแหนม ขิงซอย ต้นหอม ผักชี หอมแดง  ในอ่างผสมเคล้าให้เข้ากันปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย พริกขี้หนูชิมรสพอรสดีแล้วตักใส่จานโรยด้วยถั่วลิสงคั่วและพริกแห้งทอด

 

 

ภาค อีสาน

ตำโคราช

  ความเป็นมา ตำโคราช คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งแห้งและปลาร้า อาจใส่เส้นขนมจีน ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน   คุณค่าทางโภชนาการ ตำโคราช มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ  มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้าและกุ้งแห้ง   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น               120    กรัม มะเขือเทศสีดา                      30      กรัม พริกขี้หนูสด                            8        เม็ด กระเทียม                                 5        กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน            25      กรัม กุ้งแห้ง                                     1        ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่ว                                2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                   ½       ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                     1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ใส่กระเทียมและพริกขี้หนู ลงในครก โขลกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกใส่มะเขือเทศ น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา  น้ำปลาร้าแล้วคลุกให้เข้ากันใส่มะละกอ ตามด้วยถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้งแล้วโขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันชิมแล้วปรุงตามชอบ ตักใส่จาน รับประทานพร้อมผักสด    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ผักเหลียงต้มกะทิกุ้งสด

ความเป็นมา แกงกะทิที่มีทั้งแบบเผ็ดและไม่เผ็ดเป็นอาหารยอดนิยมของคนใต้ ซึ่งมีพื้นที่ติดทะเลและปลูกมะพร้าวมาก อาหารจานนี้นำกะทิมาต้มกับผักพื้นบ้านอย่างผักเหลียง ใส่กุ้ง และใส่หอมแดงให้มีกลิ่นหอม ทีรสหวาน เพิ่มรสเค็มด้วยกะปิ เป็นแกงรสอร่อยที่กินได้คล่องคอ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงผักพื้นบ้านใบเขียวเนื้อกรอบ รสหวานมัน มีเบต้าแคโรทีนจากสีเขียวอย่าง ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยจากโรคที่คนนิยมเป็นกัน เช่น โรคจากหลอดเลือด โรคหัวใจ ยิ่งเมื่อแกงกับกะทิที่มีไขมันจะช่วยดูดซึมวิตามินได้อย่างดี และยังได้โปรตีนจากเนื้อกุ้งอีกด้วย   ส่วนผสม ผักเหลียง                    500 กรัม กุ้งสด                           200 กรัม กะทิ                             4     ถ้วย หอมแดงบุบ                  40   กรัม กะปิ                              1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                          2     ช้อนโต๊ะ เกลือ                            1     ช้อนชา วิธีทำ ละลายกะปิกับกะทิเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เป็นก้อน จากนั้นเติมกะทิที่เหลือลงไปในหม้อยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หอมแดงบุบ รอจนเริ่มเดือด จากนั้นใส่กุ้งสด ปรุงรสด้วยน้ำตาล และเกลือ พอเดือดอีกครั้งใส่ผักเหลียง ต้มต่อให้ผักเหลียงสุกนุ่ม ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

แกงมัสมั่นไก่

ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานความว่า “มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง” จึงทราบได้ว่า แกงมัสมั่นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะมีส่วนผสมเครื่องเทศที่ขาดไม่ได้อย่าง ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจัน ดอกจันทน์ เม็ดกระวาน กานพลู ซึ่งให้กลิ่นรสที่ร้อนแรง ในตำรับอินเดียจะใช้เฉพาะเครื่องเทศแห้งและไม่ใส่กะทิ แต่ตำรับของไทยมีการใช้สมุนไพรสดในพริกแกง และมีการปรุงรสให้ออกเค็ม หวาน มัน และถูกจัดให้เป็นอาหารอร่อยอันดับ 1 ของโลก โดยเว็บไซต์ ซีเอ็น เอ็น โก เมื่อไม่นานมานี้ คุณค่าทางโภชนาการ แกงมัสมั่นแม้จะเป็นแกงกะทิและมีเนื้อสัตว์มาก แต่เมื่อรับประทานแล้วก็ไม่ได้ทำให้แน่นหรืออิ่มท้องเกินไป เพราะมีเครื่องเทศที่นอกจากช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และทำให้มีกลิ่นหอมชวนกินแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องอืดและช่วยย่อย เช่น อบเชย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ ยี่หร่าช่วยขับลม ขับเสมหะ กานพลูแก้อาการปวดท้อง จุกเสียด  พริกไทยช่วยย่อยอาหาร สบายท้อง ลูกจันทน์ช่วยแก้ไข้ บำรุงตับ ปอด ลดไขมันในเลือด ลูกกระวานแก้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และด้วยรสชาติที่กลมกล่อมยังทำให้ทานง่าย สบายท้องอีกด้วย ส่วนผสม กะทิ                                         5     ถ้วย ไก่สับชิ้นใหญ่                            500 กรัม มันฝรั่งหัวเล็ก                             400 กรัม หอมหัวใหญ่หัวเล็ก                     500 กรัม ลูกกระวาน                                10   เม็ด อบเชยยาว 2 นิ้ว                         1     แท่ง ถั่วลิสงคั่ว                                  ¾    ถ้วย น้ำปลา                                     4     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 3     ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                           4     ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมเครื่องน้ำพริก พริกแห้งกรีดเม็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม 11 เม็ด หอมแดง ½ ถ้วย กระเทียม ½ ถ้วย รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอยบาง ¼ ถ้วย กะปิ 1 ช้อนชา พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ ลูกจันทน์ ดอกจัน กานพลู เม็ดกระวานอย่างละ ½ ช้อนชา ลูกผักชี 2 ช้อนโต๊ะ ยี่หร่า 1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ นำเครื่องแกงมัสมั่นไปผัดกับกะทิให้หอม ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้พอสุก จากนั้นเติมกะทิ ใส่อบเชย ลูกกระวาน ต้มเคี่ยวจนเดือดและกะทิเริ่มแตกมัน ใส่มันฝรั่ง หอมใหญ่ ถั่วลิสง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียก ตั้งเคี่ยวต่อให้งวดลงเล็กน้อย และมันฝรั่งสุกดี ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire