SLider section

ฟักทองผัดไข่พริกไทยดำ

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ฟักทองผัดไข่พริกไทยดำ

 

 

ความเป็นมา

คนใต้เรียกฟักทองว่า “น้ำเต้า” เป็นผักพันธุ์ไม้เลื้อยที่ขึ้นง่าย ชาวบ้านมักจะปลูกไว้หลังบ้าน ทำอาหารกินได้ทั้งคาวและหวาน หรือผัดกับน้ำมันง่ายๆ ให้ได้รสหวานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่งมาก แต่คนใต้ชอบรสเผ็ดร้อน จึงใส่พริกไทยดำมากกว่าทางภาคกลาง

 

คุณค่าทางอาหาร

สีเหลืองของฟักทองมีเบต้าแคโรทีนอยู่เต็มเปี่ยมซึ่งสามารถช่วยป้องกันมะเร็งได้  และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ช่วยให้ดวงตาแข็งแรง ในตำราโบราณบอกไว้ว่าถ้ากินพร้อมเปลือกจะมีฤทธิ์ทางยา สามารถกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันเบาหวาน และโรคความดันโลหิตได้

 

ส่วนผสม

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก                 300    กรัม

หอมแดงซอย                         10      กรัม

กระเทียม                                  5        กรัม

พริกไทยดำ                              1        ช้อนชา

ไข่                                            1        ฟอง

น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาล                                        2        ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด

 

วิธีทำ

โขลกหอม กระเทียม พริกไทย รวมกัน ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อนใส่ส่วนผสมที่ตำไว้ลงผัดพอหอม ใส่ฟักทอง ผัดสักครู่ ค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อยจนฟักทองสุก ใส่ไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ผัดให้เข้ากันตักเสิร์ฟ

 

 

ภาค กลาง

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

    ความเป็นมา ขนมน้ำกะทิเป็นของหวานพื้นบ้านของไทยที่นำกะทิมาผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดซึ่งมีกลิ่นหอม และรสไม่หวานแหลม น้ำกะทิกินกับลอดช่อง ข้าวเหนียวดำ ใส่น้ำแข็ง และใส่ผลไม้รสหวานหอมอย่างทุเรียนกินกับข้าวเหนียวมูนที่ให้รสหวานมันอร่อย   คุณค่าทางโภชนาการ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงพอสมควร เนื้อทุเรียน 200 กรัมให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน มีสารซัลเฟอร์หรือกำมะถันตามธรรมชาติ ทุเรียน 100 กรัมให้พลังงานมากกว่าผลไม้ทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อกินกับข้าวเหนียวมูนที่มีกะทิเป็นส่วนผสมยิ่งให้พลังงานเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป   ส่วนผสม ข้าวเหนียวมูน                               200    กรัม เนื้อทุเรียนสุก                                150    กรัม กะทิ                                                 3        ถ้วย น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว       1 ½    ถ้วย เกลือเล็กน้อย   วิธีทำ ละลายน้ำตาลในน้ำกะทิจนหมด นำไปตั้งไฟให้ร้อนจัดแต่ไม่ให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็น ใส่เนื้อทุเรียนลงไป พักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นำมาตักราดหน้าข้าวเหนียวมูน    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ไส้อั่ว

  ความเป็นมา ไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหารให้สามารถรับประทานได้นานขึ้นคำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการยัดไว้ตรงกลางซึ่งก็คือเนื้อสัตว์ต่างๆนั่นเอง   คุณค่าทางโภชนาการ ไส้อั่วมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งเครื่องปรุงยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อหมูบดติดมัน                   1        กิโลกรัม ใบมะกรูดหั่นฝอย                  3        ช้อนโต๊ะ ต้นหอม ผักชี หั่นฝอย            2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                    2        ช้อนโต๊ะ ไส้อ่อนหมู                              1/2     กิโลกรัม ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกแห้ง                            8        เม็ด เกลือป่น                            1        ช้อนชา ข่าซอย                              2        ช้อนชา ตะไคร้ซอย                         2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                      60      กรัม กระเทียมซอย                     3        ช้อนโต๊ะ กะปิ                                   1        ช้อนชา รากผักชี                            2        ช้อนชา ขมิ้นผง                             1/2     ช้อนชา วิธีทำ ปั่นหรือบดเครื่องพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูบด ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ปรุงรสด้วยน้ำมา นวดและคลุกเคล้าจนเข้ากันดี นำไปยัดลงในไส้อ่อนหมูมัดหัวท้ายให้แน่น ก่อนนำไปนึ่งในลังถึงประมาณ 20 นาทีจึงเอามาย่างบนไฟอ่อน หรือทอดในน้ำมันจนสุก    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire