SLider section

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

 

 

ความเป็นมา

ขนมน้ำกะทิเป็นของหวานพื้นบ้านของไทยที่นำกะทิมาผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดซึ่งมีกลิ่นหอม และรสไม่หวานแหลม น้ำกะทิกินกับลอดช่อง ข้าวเหนียวดำ ใส่น้ำแข็ง และใส่ผลไม้รสหวานหอมอย่างทุเรียนกินกับข้าวเหนียวมูนที่ให้รสหวานมันอร่อย

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงพอสมควร เนื้อทุเรียน 200 กรัมให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน มีสารซัลเฟอร์หรือกำมะถันตามธรรมชาติ ทุเรียน 100 กรัมให้พลังงานมากกว่าผลไม้ทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อกินกับข้าวเหนียวมูนที่มีกะทิเป็นส่วนผสมยิ่งให้พลังงานเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป

 

ส่วนผสม

ข้าวเหนียวมูน                               200    กรัม

เนื้อทุเรียนสุก                                150    กรัม

กะทิ                                                 3        ถ้วย

น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว       1 ½    ถ้วย

เกลือเล็กน้อย

 

วิธีทำ

ละลายน้ำตาลในน้ำกะทิจนหมด นำไปตั้งไฟให้ร้อนจัดแต่ไม่ให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็น ใส่เนื้อทุเรียนลงไป พักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นำมาตักราดหน้าข้าวเหนียวมูน

 

 

ภาค ใต้

กุ้งแม่น้ำต้มมะม่วง

ความเป็นมา กุ้งแม่น้ำเป็นกุ้งที่มีมันกุ้งมากเมื่อนำมาต้มจึงมีความหอมมัน และสีแดงชวนกิน เมื่อใส่มะม่วงเปรี้ยวที่หาได้ง่ายมีรสเปรี้ยวหอมตามธรรมชาติลงไปต้มด้วยกัน แกงนี้จึงเป็นแกงน้ำใสที่ใช้รสเปรี้ยวของมะม่วงใช้แทนน้ำมะนาว รสชาติเหมือนต้มยำของภาคกลาง   คุณค่าทางโภชนาการ กุ้งแม่น้ำเป็นกุ้งน้ำจืดที่มีโปรตีนเหมือนกุ้งทั่วไป แต่มีมันมากซึ่งจะให้ไขมันมากกว่า มะม่วงเป็นแหล่งของวิตามินซี เมื่อนำมาต้มรวมกันใส่สมุนไพรสด เช่น หอม กระเทียม พริก จึงมีกลิ่นหอมอโรมาที่ช่วยให้สดชื่น สมองปลอดโปร่งโดยเฉพาะถ้ากินในฤดูร้อนจะช่วยขับเหงื่อได้อย่างดี   ส่วนผสม กุ้งแม่น้ำ                                 1        กิโลกรัม มะม่วงเปรี้ยวสับเป็นเส้น        100    กรัม หอมแดงซอย                        30      กรัม กระเทียมบุบ                          10      กรัม พริกขี้หนูซอย                         5        กรัม เกลือ น้ำตาล น้ำปลาอย่างละเล็กน้อย น้ำสะอาด                                2        ถ้วย วิธีทำ นำหม้อใส่น้ำตั้งไฟ ใส่กระเทียมบุบ พอเดือดใส่กุ้งแม่น้ำ รอให้เดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล และน้ำปลา ปิดไฟยกลงจากเตา ใส่มะม่วงสับ หอมแดง พริกขี้หนู ปรุงและชิมรสอีกครั้งให้ได้ 3 รส แต่มีรสเปรี้ยวนำ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำมะเขือยาว

    ความเป็นมา มะเขือยาวเป็นผักพื้นบ้านที่หาทานได้ทั่วไป มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการมากมาย สามารถนำมาประกอบอาหารได้ปลายประเภท ชาวล้านนานิยมนำมาตำเป็นน้ำพริกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ มะเขือยาวมีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และแคลเซียมจากมะเขือยาวยังช่วยบำรุงกระดูกและฟัน   ส่วนผสม มะเขือยาว               300    กรัม พริกหนุ่ม                 60      กรัม กระเทียม                 30      กรัม หอมแดง                  30      กรัม กะปิเผา                   1        ช้อนชา เกลือ                       1        ช้อนชา ผักชี หั่น                  2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอม หั่น              2        ช้อนโต๊ะ กระเทียม สับ            1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                     2        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช   วิธีทำ นำมะเขือยาว หอมแดง กระเทียม พริกหนุ่ม เผาไฟ แล้วปอกเปลือกออกให้หมด นำพริกหนุ่มโขลกกับเกลือให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกให้เข้ากัน ใส่มะเขือยาว โขลกให้เข้ากัน พักไว้ ตั้งกระทะใส่น้ำมัน เจียวกระเทียมสับจนหอม ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ลงผัด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ต้นหอม ผักชี ตักขึ้น        


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

  ความเป็นมา บะหมี่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนที่ทำจากแป้งสาลีผสมไข่ เส้นจึงมีสีเหลือง นุ่ม ส่วนผสม เช่น เกี๊ยว หมูแดง ก็ล้วนเป็นอาหารของจีน บะหมี่มาพร้อมกับคนจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยและเปิดร้านขาย มีทั้งขายในร้านคูหาเดียวหรือในภัตตาคาร ความอร่อยของเส้นหมี่ต้องนุ่มเหนียวไม่กระด้างหรือแข็งแม้เก็บไว้นาน เกี๊ยวกุ้งเนื้อกุ้งต้องเด้งกรอบ แผ่นเกี๊ยวแป้งต้องบางนุ่ม หมูแดงต้องหอมควันไฟและเนื้อนุ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ บะหมี่หมูแดงส่วนผสมแต่ละชนิดมีคุณค่าอาหารในตัวเอง เช่น เส้นบะหมี่มีคาร์โบไฮเดรทและวิตามินต่างๆ จากแป้งสาลีและไข่  เกี๊ยวกุ้งมีวิตามินบี 12  ไอโอดีน และซิลีเนียมสูง มีแคลเซียมพอสมควร หมูแดงมีโปรตีนและวิตามินชนิดต่างๆ ส่วนผักใบเขียวมีเบต้าแคโรทีน จานนี้แม้ส่วนผสมจะมีอย่างละเล็กละน้อย แต่บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง 1 ชามให้พลังงาน 305 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม บะหมี่                                  50      กรัม เกี๊ยวกุ้ง                                 4        ชิ้น หมูแดงหั่นบาง                     30      กรัม ผักกวางตุ้งลวก                    50      กรัม กระเทียมเจียว                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำซุป วิธีทำ ลวกผักกวางตุ้งและเส้นบะหมี่ใส่ชามคลุกกับกระเทียมเจียวเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน ลวกเกี๊ยวกุ้งใส่ วางหมูแดง ตักน้ำซุปราด กินร้อนๆ กับเครื่องปรุงตามชอบ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire