SLider section

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

ภาค กลาง

  • recipe image cover

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

 

ความเป็นมา

บะหมี่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนที่ทำจากแป้งสาลีผสมไข่ เส้นจึงมีสีเหลือง นุ่ม ส่วนผสม เช่น เกี๊ยว หมูแดง ก็ล้วนเป็นอาหารของจีน บะหมี่มาพร้อมกับคนจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยและเปิดร้านขาย มีทั้งขายในร้านคูหาเดียวหรือในภัตตาคาร ความอร่อยของเส้นหมี่ต้องนุ่มเหนียวไม่กระด้างหรือแข็งแม้เก็บไว้นาน เกี๊ยวกุ้งเนื้อกุ้งต้องเด้งกรอบ แผ่นเกี๊ยวแป้งต้องบางนุ่ม หมูแดงต้องหอมควันไฟและเนื้อนุ่ม

 

คุณค่าทางโภชนาการ

บะหมี่หมูแดงส่วนผสมแต่ละชนิดมีคุณค่าอาหารในตัวเอง เช่น เส้นบะหมี่มีคาร์โบไฮเดรทและวิตามินต่างๆ จากแป้งสาลีและไข่  เกี๊ยวกุ้งมีวิตามินบี 12  ไอโอดีน และซิลีเนียมสูง มีแคลเซียมพอสมควร หมูแดงมีโปรตีนและวิตามินชนิดต่างๆ ส่วนผักใบเขียวมีเบต้าแคโรทีน จานนี้แม้ส่วนผสมจะมีอย่างละเล็กละน้อย แต่บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง 1 ชามให้พลังงาน 305 กิโลแคลอรี

 

ส่วนผสม

บะหมี่                                  50      กรัม

เกี๊ยวกุ้ง                                 4        ชิ้น

หมูแดงหั่นบาง                     30      กรัม

ผักกวางตุ้งลวก                    50      กรัม

กระเทียมเจียว                       1        ช้อนโต๊ะ

น้ำซุป

วิธีทำ

ลวกผักกวางตุ้งและเส้นบะหมี่ใส่ชามคลุกกับกระเทียมเจียวเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน ลวกเกี๊ยวกุ้งใส่ วางหมูแดง ตักน้ำซุปราด กินร้อนๆ กับเครื่องปรุงตามชอบ

 

 

ภาค ใต้

ปลาโอต้มหวาน

    ความเป็นมา อาหารรสหวานในสำรับอาหารใต้ มักเป็นการช่วยแก้รสเผ็ดซึ่งเป็นรสชาติประจำของอาหารใต้ จึงนำปลาโอที่มีอยู่ชุกชุมมาต้มใส่น้ำตาลและซีอิ๊วให้มีรสหวานนำ เค็มตาม ใช้รับประทานคู่กับอาหารใต้รสจัดได้หลายเมนู   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาโอจัดเป็นปลาทูน่าสายพันธุ์หนึ่ง เนื้อสีชมพูแดงเข้ม นิยมนำมาทำปลาทูน่ากระป๋อง เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อนำมาต้มหวานยิ่งต้มเนื้อจะยิ่งแข็งขึ้น ปลาโอเป็นปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงในระดับต้นๆ ของปลาทะเล และมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง จึงช่วยเรื่องหลอดเลือดทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจไม่ให้อุดตัน   ส่วนผสม ปลาโอหั่นชิ้น                      300    กรัม กระเทียมบุบ                      10      กรัม หอมแดง                            20      กรัม ตะไคร้บุบ                           30      กรัม น้ำสะอาด                           2        ถ้วย น้ำตาลมะพร้าว                   3        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วดำ                               2        ช้อนชา เกลือ                                   1        ช้อนชา   วิธีทำ ตั้งหม้อใส่น้ำพอเดือดใส่หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ต้มจนเดือดใส่เนื้อปลา รอจนเดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว ซีอิ๊วดำ เกลือ ลดไฟอ่อน ต้มไปเรื่อยๆ จนเนื้อปลาแข็ง ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ซุปขนุน

ความเป็นมา ขนุนเมื่อสุกแล้วจัดเป็นผลไม้รสหวาน ใช้ใส่ในขนมไทยหลากหลายประเภทแต่ขนุนอ่อนนั้นจัดเป็นผักเครื่องเคียงชนิดหนึ่ง นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก ชาวอีสานนำมาดัดแปลงให้กลายเป็นยำเพื่อเพิ่มรสชาติให้ถูกปากมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีเมื่อนำมาปรุงเป็นตำขนุน ทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากพลังงาน โปรตีน ไขมัน กากใยอาหาร แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย   ส่วนผสม ขนุนอ่อน                      300    กรัม ข้าวคั่ว                         3        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                        3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้า                     3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                         3        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมหั่น                    2        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                  10      กรัม งาคั่ว                             ½       ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ นำขนุนอ่อนไปต้มจนสุกนุ่ม ตัดส่วนไส้กลางออกนำไปโขลกให้ละเอียด เติมข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลาร้า โขลกพอเข้ากันชิมรส ให้มีรสเค็มมันนำตักใส่ภาชนะ โรยหน้าด้วยต้นหอม ใบสะระแหน่ งาคั่ว จัดเสิร์ฟพร้อมผักสด    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงโฮ๊ะ

ความเป็นมา คำว่า “โฮ๊ะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน แต่ก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่าง โดยจะมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่สมัยนี้ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ในการปรุงเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากยิ่งขึ้น                               คุณค่าทางโภชนาการ แกงโฮ๊ะ มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายจากวัตถุดิบหลากหลายที่ผสมรวมกันเช่น ขมิ้นสดช่วยในการขับลม มะเขือพวงมีสารเพกติน ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่   ส่วนผสม เนื้ออกไก่หั่นชิ้นบาง                        150    กรัม หมูสามชั้นหั่นชิ้นบาง                      200    กรัม มะเขือเปราะผ่าสี่                          100    กรัม หน่อไม้ดอง                                  200    กรัม มะเขือพวง                                  50      กรัม วุ้นเส้นแช่น้ำจนนิ่มหั่นท่อน               150    กรัม ถั่วฝักยาวหั่นท่อน                          100    กรัม ยอดใบตำลึงเด็ด                            100    กรัม ผักชีหั่นท่อน                                  3        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมหั่นท่อน                             3        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นท่อน                            3        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแดงบุบ                            5        กรัม น้ำปลา                                           3        ช้อนโต๊ะ น้ำมันสำหรับผัด ส่วนผสมพริกแกง พริกชี้ฟ้าแห้ง                                8        เม็ด เกลือป่น                                       1        ช้อนชา ตะไคร้ซอย                                   2        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย                               2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                3        ช้อนโต๊ะ ขมิ้นสดซอย                                  1        ช้อนชา กะปิ                                               1        ช้อนชา


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire