SLider section

ซุปขนุน

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ซุปขนุน

ความเป็นมา

ขนุนเมื่อสุกแล้วจัดเป็นผลไม้รสหวาน ใช้ใส่ในขนมไทยหลากหลายประเภทแต่ขนุนอ่อนนั้นจัดเป็นผักเครื่องเคียงชนิดหนึ่ง นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก ชาวอีสานนำมาดัดแปลงให้กลายเป็นยำเพื่อเพิ่มรสชาติให้ถูกปากมากยิ่งขึ้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีเมื่อนำมาปรุงเป็นตำขนุน ทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากพลังงาน โปรตีน ไขมัน กากใยอาหาร แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย

 

ส่วนผสม

ขนุนอ่อน                      300    กรัม

ข้าวคั่ว                         3        ช้อนโต๊ะ

พริกป่น                        3        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลาร้า                     3        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                         3        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่น                    2        ช้อนโต๊ะ

ใบสะระแหน่                  10      กรัม

งาคั่ว                             ½       ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

นำขนุนอ่อนไปต้มจนสุกนุ่ม ตัดส่วนไส้กลางออกนำไปโขลกให้ละเอียด เติมข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลาร้า โขลกพอเข้ากันชิมรส ให้มีรสเค็มมันนำตักใส่ภาชนะ โรยหน้าด้วยต้นหอม ใบสะระแหน่ งาคั่ว จัดเสิร์ฟพร้อมผักสด

 

 

ภาค ใต้

น้ำพริกกุ้งเสียบ

ความเป็นมา กุ้งเสียบเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีพื้นที่ติดทะเลและมีกุ้งมาก โดยนำกุ้งนางไม่แกะเปลือกมาเสียบไม้ ปิ้งไฟอ่อนๆ รมควันจนน้ำในตัวกุ้งแห้ง ทำให้เก็บได้นานและมีกลิ่นหอมรมควัน นำมาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งรสชาติและส่วนผสมไม่ต่างจากน้ำพริกของภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แต่ทางใต้จะนิยมกินรสเผ็ดจัดมากกว่า   คุณค่าทางโภชนาการ การรมควันหรือปิ้งไม่ทำให้โปรตีนในอาหารลดน้อยลง กุ้งเสียบจึงมีโปรตีนและยิ่งมีเปลือกจึงให้แคลเซียมสูงไปด้วย ส่วนผสมในน้ำพริก เช่น กระเทียม ช่วยลดคอเลสเตอรอล หอมแดงช่วยให้สดชื่น สิ่งสำคัญคือผักสดที่กินร่วมกันหรือที่คนใต้เรียกว่าถาดผักเหนาะ เพราะมีผักพื้นบ้านที่ให้วิตามิน และเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์  ใบบัวบก ถั่วฝักยาว เป็นต้น   ส่วนผสม กุ้งเสียบคั่วกรอบ            1     ถ้วย หอมแดง                     30   กรัม กระเทียม                    20   กรัม กะปิย่างไฟ                   2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                    2     ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                     3     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาดี                       1     ช้อนชา พริกขี้หนู                     10   กรัม วิธีทำ   ตำกระเทียมและกะปิให้ละเอียด ใส่หอมแดง และพริกขี้หนู ตำให้ละเอียดดี ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ และน้ำปลา จากนั้นใส่กุ้งเสียบ อาจจะคนหรือใช้สากบุบให้พอเข้ากัน ตักขึ้น เติมน้ำมะนาวคนให้เข้ากันอีกครั้ง


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   คุณค่าทางโภชนาการ จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย   ส่วนผสม กะทิ                                         2     ถ้วย เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                                  5     กรัม วิธีทำ ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ตำถาด

    ความเป็นมา ตำถาด คือส้มตำที่มีเครื่องเคียงต่างๆวางไว้ด้วยกัน โดยจัดไว้อยู่ในถาด หรือในภาชนะเดียวกัน เพื่อสะดวกในการรับประทานและเพิ่มรสชาติ เป็นส้มตำที่ดัดแปลงมาเพื่อให้ถูกใจคนที่ชื่นชอบการทานส้มตำ   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำไทย เป็นอาหารสุขภาพ ที่เปี่ยมไปด้วยวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ เช่น มะละกอมีเอนไซน์ปาปีน ที่ช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์ต่างๆจากเครื่องเคียงที่ใส่ลงไป   ส่วนผสม มะละกอดิบสับเป็นเส้น      100    กรัม มะเขือเทศ                         20      กรัม มะกอก                                10      กรัม ปูดอง                                   1        ตัว น้ำปลา                                  1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้า                               2        ช้อนโต๊ะ มะนาว                                      1        ลูก กระเทียม                                  5        กรัม พริกขี้หนู                                   5        กรัม มะเขือเปราะ                             10      กรัม เครื่องเคียงตำถาด กุ้งต้มสุก                               100    กรัม ไข่ต้ม                                     1        ฟอง ไส้กรอกอีสานทอด                120    กรัม หมูยอ                                      1/2     ถ้วย แคบหมู                                    1/2     ถ้วย มะเขือเปราะ                             40      กรัม ผักสลัด ขนมจีน วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ใส่ถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบาๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันจัดใส่ถาดไว้ตรงกลางแล้วนำเครื่องเคียงวางโดยรอบ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire