SLider section

ไส้อั่ว

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ไส้อั่ว

 

ความเป็นมา

ไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหารให้สามารถรับประทานได้นานขึ้นคำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการยัดไว้ตรงกลางซึ่งก็คือเนื้อสัตว์ต่างๆนั่นเอง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ไส้อั่วมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งเครื่องปรุงยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

 

ส่วนผสม

เนื้อหมูบดติดมัน                   1        กิโลกรัม

ใบมะกรูดหั่นฝอย                  3        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอม ผักชี หั่นฝอย            2        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                    2        ช้อนโต๊ะ

ไส้อ่อนหมู                              1/2     กิโลกรัม

ส่วนผสมน้ำพริกแกง

พริกแห้ง                            8        เม็ด

เกลือป่น                            1        ช้อนชา

ข่าซอย                              2        ช้อนชา

ตะไคร้ซอย                         2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงซอย                      60      กรัม

กระเทียมซอย                     3        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                   1        ช้อนชา

รากผักชี                            2        ช้อนชา

ขมิ้นผง                             1/2     ช้อนชา

วิธีทำ

ปั่นหรือบดเครื่องพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูบด ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ปรุงรสด้วยน้ำมา นวดและคลุกเคล้าจนเข้ากันดี นำไปยัดลงในไส้อ่อนหมูมัดหัวท้ายให้แน่น ก่อนนำไปนึ่งในลังถึงประมาณ 20 นาทีจึงเอามาย่างบนไฟอ่อน หรือทอดในน้ำมันจนสุก

 

 

ภาค อีสาน

ปลาร้าสับทรงเครื่อง

ความเป็นมา ปลาร้าเป็นการถนอมอาหารที่นิยมของทางภาคเหนือและภาคอีสาน ชาวอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงหลักในส่วนผสมของอาหารเกือบทุกชนิด ปลาร้าสับทรงเครื่องเป็นอีกเมนูหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายซึ่งเป็นเมนูที่มีวิธีการทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก   คุณค่าทางโภชนาการ โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคลอเลสเตอรอล น้ำมะนาวมีวิตามินซีสูงข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี   ส่วนผสม ปลาร้า(ใช้เฉพาะเนื้อ)                1        ถ้วย พริกขี้หนู                                  8        กรัม ตะไคร้หั่นฝอย                          6        ช้อนโต๊ะ ข่าอ่อนสับ                                2        ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดหั่นฝอย                      2        ช้อนโต๊ะ กระชายสับ                               2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงสับ                              7        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ                             7        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขาม น้ำตาล   วิธีทำ ตำพริก ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด กระชาย หอมแดง กระเทียม ให้ละเอียด จากนั้นใส่เนื้อปลาร้าสับแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำตาล และน้ำมะขามเปียก คลุกให้เข้ากัน เสิร์ฟคู่ผักสด    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ความเป็นมา คนท้องถิ่นมักจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านเพื่อนำมาทำอาหารได้ง่าย พืชที่ปลูกมักจะกินบ่อยๆ เช่น พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ข่ามักจะใช้เหง้าแก่มาดับกลิ่นคาวโดยเฉพาะปลา ต้นข่าอ่อนจะมีลำต้นยาวและเหง้าอ่อน ที่นิยมนำมาทำอาหารทั้งแกงส้มและแกงเผ็ด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่าอ่อนมีรสเผ็ดไม่มาก และมีสรรพคุณเป็นยาที่ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ และยังมีกากใยที่ช่วยขับถ่ายได้ดี เหง้าอ่อน 100 กรัมให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี มีฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม เมื่อนำมาแกงกะทิกับหมูและใส่น้ำพริกแกงจึงให้ทั้งโปรตีนและไขมัน   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่น                             300    กรัม ต้นข่าอ่อนหั่นเป็นชิ้น             100    กรัม น้ำพริกแกง                             ¼       ถ้วย หัวกะทิ                                    1        ถ้วย หางกะทิ                                   2        ถ้วย น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                         2        ช้อนชา   ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกขี้หนู 20-30 เม็ด พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กระเทียมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดงหั่น 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย  3 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น 2 ช้อนชา ขมิ้นหั่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ  2 ช้อนโต๊ะเกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมพริกแกงรวมกันจนละเอียด   วิธีทำ ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่ต้นข่าอ่อน หางกะทิ ต้มไฟอ่อนจนเนื้อข่าอ่อนสุก ปรุงรส ยกลง กินกับผักสดต่างๆ


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ส้มตำลาว

ความเป็นมา ส้มตำลาว คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาว ซึ่งแตกต่างออกไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาร้าและมะละกอดิบเป็นหลัก ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เพราะแต่เดิมเรียกตำลาวว่า “ตำหมากหุ่ง”   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำลาว มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอล   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น              120    กรัม มะเขือเทศสีดา                    30      กรัม มะกอกสุก                             10      กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน          25      กรัม พริกขี้หนูสด                         8        เม็ด กระเทียม                              5        กรัม น้ำมะนาว                              1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                  1/2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                   1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันชิมรสตามชอบ ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมผักสด


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire