SLider section

ปลาร้าสับทรงเครื่อง

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ปลาร้าสับทรงเครื่อง

ความเป็นมา

ปลาร้าเป็นการถนอมอาหารที่นิยมของทางภาคเหนือและภาคอีสาน ชาวอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงหลักในส่วนผสมของอาหารเกือบทุกชนิด ปลาร้าสับทรงเครื่องเป็นอีกเมนูหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายซึ่งเป็นเมนูที่มีวิธีการทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

 

คุณค่าทางโภชนาการ

โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคลอเลสเตอรอล น้ำมะนาวมีวิตามินซีสูงข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี

 

ส่วนผสม

ปลาร้า(ใช้เฉพาะเนื้อ)                1        ถ้วย

พริกขี้หนู                                  8        กรัม

ตะไคร้หั่นฝอย                          6        ช้อนโต๊ะ

ข่าอ่อนสับ                                2        ช้อนโต๊ะ

ใบมะกรูดหั่นฝอย                      2        ช้อนโต๊ะ

กระชายสับ                               2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงสับ                              7        ช้อนโต๊ะ

กระเทียมสับ                             7        ช้อนโต๊ะ

น้ำมะขาม

น้ำตาล

 

วิธีทำ

ตำพริก ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด กระชาย หอมแดง กระเทียม ให้ละเอียด จากนั้นใส่เนื้อปลาร้าสับแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำตาล และน้ำมะขามเปียก คลุกให้เข้ากัน เสิร์ฟคู่ผักสด

 

 

ภาค กลาง

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

    ความเป็นมา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าเป็นอาหารจานเดียวประเภทเส้นของคนจีนกวางตุ้ง ได้ข้ามาเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในสมัยที่มีการอพยพเข้ามาของชาวจีนและคนจีนที่มีฝีมือทางด้านทำอาหารได้เปิดร้านเพื่อขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เนื่องจากเป็นอาหารจานเดียวที่ทำได้ง่ายและเป็นที่นิยม จึงกลายเป็นที่แพร่หลายมาจนปัจจุบัน   คุณค่าทางโภชนาการ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าจัดเป็นอาหารเส้นที่มีคุณค่าอาหารครบ 5 หมู่ เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งข้าวเจ้า ในปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 220 กิโลแคลอรีเพราะเส้นจะมีน้ำมันเคลือบ ในขณะที่ข้าวหุงสุก 100 กรัมให้พลังงาน 110 กิโลแคลอรี ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าหมู 1 จานให้พลังงาน  397 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่            120    กรัม เนื้อหมู                              50      กรัม ผักคะน้าหั่น                        50      กรัม เต้าเจี้ยว                              2        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊ว                                    1        ช้อนชา น้ำซุป                                   1        ถ้วย แป้งมันสำปะหลัง                 2        ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย) น้ำมันสำหรับผัด                  2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อยพอเคลือบกระทะ พอร้อนใส่เส้นลงไปผัดให้เส้นกระจายและไม่ให้ติดกัน ใส่ซีอิ๊วเล็กน้อย ผัดจนหอม ตักขึ้นใส่จานผัดหมูกับน้ำมัน พอสุกใส่ผักคะน้า เติมน้ำซุปเล็กน้อย ใส่เต้าเจี้ยว รอจนเดือด เติมแป้งมันสำปะหลังให้พอเหนียว ตักราดเส้นที่ผัดไว้ เสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ขนมแตงไทย

    ความเป็นมา ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตง จะมีวิธีทำคล้ายกับขนมกล้วย เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน   คุณค่าทางโภชนาการ แตงไทยมีวิตามินเอสูงมากอีกทั้งยังมีสรรพคุณมากมาย เช่นรับประทานแก้กระหาย ใช้ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง สามารถบรรเทาอาการไอจากโรคปอด ป้องกันโรควัณโรค แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ   ส่วนผสม แตงไทย                   500    กรัม น้ำตาลทราย             500    กรัม แป้งข้าวเจ้า              400    กรัม แป้งมัน                    100    กรัม มะพร้าว                   1        ถ้วย กะทิ                         3        ถ้วย เกลือป่น                   1        ช้อนชา วิธีทำ ผสมแตงไทย แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน กะทิ เข้าด้วยกัน นวดส่วนผสม และขยำแตงไทยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่น้ำตาลทราย นวดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย ฉีกใบตองกว้าง 6 นิ้ว ทำเป็นกรวย แล้วใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง ตักส่วนผสมใส่ลงในกรวยให้เต็มวางกรวยขนมในรูของชั้นลังถึง โรยมะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 20 นาที    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire