SLider section

แกงเลียง

ภาค กลาง

  • recipe image cover

แกงเลียง

ความเป็นมา

แกงเลียงเป็นแกงน้ำใสที่มีรสเผ็ดร้อนจากพริกไทย จึงน่าจะเป็นแกงโบราณของไทยก่อนที่ไทยจะได้รับอิทธิพลของพริกมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้าในสมัยอยุธยา ผักที่ใช้เป็นผักพื้นบ้านที่ปลูกริมรั้วทั้งหมด เช่น ฟักทอง บวบ ตำลึง ใบแมงลัก และใส่กุ้งแห้งเพื่อให้มีรสหวานอร่อย

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงเลียงจัดเป็นอาหารสุขภาพที่มีรสเผ็ดร้อนจากพริกไทย ที่ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ฟักทองมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา ตำลึงมีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ บวบมีใยอาหารสูงและช่วยบำรุงน้ำนม ใบแมงลักมีธาตุเหล็กสูง ช่วยบรรเทาอาการหวัด และแก้วิงเวียนศีรษะ โปรตีนได้จากกุ้งแห้งและเนื้อกุ้งสด

ส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียง

กุ้งแห้งตำละเอียด                       ½    ถ้วย

หอมแดงซอย                             ¼    ถ้วย

พริกไทยเม็ด                              1     ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                          1     ช้อนชา

ส่วนผสม

กุ้งสดแกะเปลือก                         200 กรัม

ฟักทองหั่นชิ้นใหญ่                     300 กรัม

บวบหั่นชิ้นใหญ่                         300 กรัม

ใบตำลึง                                    1     ถ้วย

ข้าวโพดอ่อนหั่น                         100 กรัม

ใบแมงลัก                                  1     ถ้วย

น้ำปลา

วิธีทำ

ปั่นหรือตำส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียงให้เข้ากัน นำไปละลายในน้ำทีละน้อยให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นเติมน้ำซุป หรือน้ำสะอาด ขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน และบวบต้มให้สุกนุ่ม ใส่กุ้งสด

ภาค เหนือ

คั่วตับหมู

ความเป็นมา ในอดีตชาวล้านนานิยมทานเนื้อสัตว์เฉพาะในงานบุญงานเทศกาลเท่านั้น อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์จึงถูกยกให้เป็นเมนูที่หาทานได้ยาก แต่ปัจจุบัน ไม่ต้องรองานบุญงานเทศกาลก็สามารถหาทานได้อย่างแพร่หลาย   คุณค่าทางโภชนาการ ตับหมูเป็นแหล่งของโปรตีนและธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งยังได้วิตามินและเกลือแร่จากส่วนผสมต่างๆ   ส่วนผสม หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ                   200       กรัม ตับหมู เครื่องในหมู หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ    200       กรัม น้ำมันพืช ใบมะกรูด                                                   5        กรัม ต้นหอมซอย                                              1        ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย                                                    1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                                        1        ช้อนชา ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                                     7        เม็ด หอมแดง                                     20      กรัม กระเทียม                                    15      กรัม ข่าซอย                                       1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                                 1        ช้อนโต๊ะ รากผักชีซอย                              1        ช้อนชา กะปิ                                             1        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียดพักไว้ ตั้งกระทะบนไฟอ่อน นำพริกแกงลงไปผัดให้หอม ใส่หมูสามชั้นและเครื่องในลงไปผัดให้พอสุก ปรุงรส ผัดให้เข้ากันจนสุกทั่ว ใส่ใบมะกรูด ผัดให้เข้ากัน ตักขึ้น โรยต้นหอม และผักชี


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

    ความเป็นมา ขนมน้ำกะทิเป็นของหวานพื้นบ้านของไทยที่นำกะทิมาผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดซึ่งมีกลิ่นหอม และรสไม่หวานแหลม น้ำกะทิกินกับลอดช่อง ข้าวเหนียวดำ ใส่น้ำแข็ง และใส่ผลไม้รสหวานหอมอย่างทุเรียนกินกับข้าวเหนียวมูนที่ให้รสหวานมันอร่อย   คุณค่าทางโภชนาการ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงพอสมควร เนื้อทุเรียน 200 กรัมให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน มีสารซัลเฟอร์หรือกำมะถันตามธรรมชาติ ทุเรียน 100 กรัมให้พลังงานมากกว่าผลไม้ทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อกินกับข้าวเหนียวมูนที่มีกะทิเป็นส่วนผสมยิ่งให้พลังงานเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป   ส่วนผสม ข้าวเหนียวมูน                               200    กรัม เนื้อทุเรียนสุก                                150    กรัม กะทิ                                                 3        ถ้วย น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว       1 ½    ถ้วย เกลือเล็กน้อย   วิธีทำ ละลายน้ำตาลในน้ำกะทิจนหมด นำไปตั้งไฟให้ร้อนจัดแต่ไม่ให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็น ใส่เนื้อทุเรียนลงไป พักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นำมาตักราดหน้าข้าวเหนียวมูน    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

น้ำพริกมะม่วง

ความเป็นมา ในฤดูร้อนมะนาวที่คนไทยใช้ตำน้ำพริกจะออกลูกยากและมีราคาแพง จึงใช้ผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ เช่น มะม่วง มาทำเป็นน้ำพริกแทน น้ำพริกมะม่วงเป็นอาหารพื้นบ้านที่กินกันทั่วไปเพราะมะม่วงในเมืองไทยหาได้ง่าย วิธีการตำและส่วนผสมก็คล้ายกับน้ำพริกทั่วไปของไทยคือ ใส่กะปิ กุ้งแห้ง กระเทียม พริก   คุณค่าทางโภชนาการ  มะม่วงดิบมีวิตามินซี ใยอาหาร และเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นสารต้านออกซิเดชันที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และยังป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งบางชนิดได้ น้ำพริกมะม่วงมีโปรตีนจากกะปิและกุ้งแห้ง ไม่มีไขมัน และรสเปรี้ยวในมะม่วงยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นเหมาะกับฤดูร้อนที่อากาศร้อนอบอ้าว   ส่วนผสม มะม่วงเปรี้ยวสับฝอย                     80   กรัม กุ้งแห้งป่น                                    1     ช้อนโต๊ะ กระเทียมกลีบเล็ก                        10   กรัม พริกขี้หนู                                      5     กรัม พริกชี้ฟ้าหั่นเป็นข้อสั้น                15   กรัม กะปิย่างไฟให้หอม                       1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                    1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                         1     ช้อนชา น้ำส้มคั้น                                      1     ช้อนโต๊ะ เครื่องเคียง เช่น ปลาสลิดทอดฟู ผักสด เช่น ถั่วพู มะเขือเปราะ ขมิ้นขาว แตงกวา เป็นต้น วิธีทำ ตำกะปิกับกระเทียมให้ละเอียด จากนั้นใส่กุ้งแห้ง และพริกชี้ฟ้าลงไปตำ ใส่พริกขี้หนูตำพอแหลก ใส่มะม่วงใช้สากบุบให้พอช้ำ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำส้มคั้น และน้ำปลา ตักขึ้นเสิร์ฟคู่เครื่องเคียงต่างๆ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire