SLider section

ใบเหลียงผัดไข่

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา

ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น

ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม

 

ส่วนผสม

ใบเหลียง                      100 กรัม

ไข่ไก่                             2     ฟอง

กระเทียมสับ                  5     กรัม

น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา

 

วิธีทำ

ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ

 

 

ภาค กลาง

ข้าวผัดกะเพรา

ความเป็นมา ข้าวผัดใบกะเพราเป็นอาหารจานด่วนอย่างง่ายของไทย ซึ่งน่าจะเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุคที่ทุกคนต้องรีบออกไปทำงานนอกบ้าน มีเวลาน้อยลง จึงต้องกินอาหารที่ไม่ต้องใช้เวลาปรุงนาน อีกทั้งใบกะเพรา พริกสดก็ให้กลิ่นหอม และรสร้อนแรงที่เสริมรสชาติความอร่อย ข้าวผัดกะเพราจึงเป็นอาหารที่ทุกร้านต้องมี และเป็นจานโปรดของคนทุกวัย คุณค่าทางโภชนาการ ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยและกลิ่นหอมฉุน มีสรรพคุณที่โดดเด่นคือ ช่วยขับลม แน่นจุกเสียด แก้ท้องอืด มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ใบกะเพรา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 7,857 ไมโครกรัม ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันการเสื่อมของสายตาในวัยอันควร  และจัดว่าเป็นสมุนไพรที่มีวิตามินซีสูง ใบกระเพรา 100 กรัม มีวิตามินซีถึง 22 มิลลิกรัม ส่วนผสม ข้าวหุงสุก                                  3     ถ้วย หมู/เนื้อ/ไก่สับหยาบ                    300 กรัม กระเทียมสับหยาบ                      2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูสับหยาบ                      1-2  ช้อนโต๊ะ ใบกะเพรา                                 60   กรัม น้ำมัน                                       3     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                     1     ช้อนชา พริกไทยป่น                               1     ช้อนชา วิธีทำ ผัดกระเทียม และพริกกับน้ำมันให้มีกลิ่นหอม จากนั้นใส่เนื้อสัตว์ลงไปผัดจนเริ่มสุก หากต้องการทำเป็นกับข้าวให้ปรุงรสและใส่ใบกะเพราแล้วตักราดข้าว แต่หากต้องการทำเป็นข้าวผัดกะเพราให้ใส่ข้าวหุงสุกลงไปผัดก่อนแล้วจึงปรุงรส จากนั้นเร่งไฟแรงใส่ใบกะเพรา ผัดเร็วๆ จนเข้ากันตักเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ความเป็นมา คนท้องถิ่นมักจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านเพื่อนำมาทำอาหารได้ง่าย พืชที่ปลูกมักจะกินบ่อยๆ เช่น พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ข่ามักจะใช้เหง้าแก่มาดับกลิ่นคาวโดยเฉพาะปลา ต้นข่าอ่อนจะมีลำต้นยาวและเหง้าอ่อน ที่นิยมนำมาทำอาหารทั้งแกงส้มและแกงเผ็ด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่าอ่อนมีรสเผ็ดไม่มาก และมีสรรพคุณเป็นยาที่ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ และยังมีกากใยที่ช่วยขับถ่ายได้ดี เหง้าอ่อน 100 กรัมให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี มีฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม เมื่อนำมาแกงกะทิกับหมูและใส่น้ำพริกแกงจึงให้ทั้งโปรตีนและไขมัน   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่น                             300    กรัม ต้นข่าอ่อนหั่นเป็นชิ้น             100    กรัม น้ำพริกแกง                             ¼       ถ้วย หัวกะทิ                                    1        ถ้วย หางกะทิ                                   2        ถ้วย น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                         2        ช้อนชา   ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกขี้หนู 20-30 เม็ด พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กระเทียมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดงหั่น 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย  3 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น 2 ช้อนชา ขมิ้นหั่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ  2 ช้อนโต๊ะเกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมพริกแกงรวมกันจนละเอียด   วิธีทำ ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่ต้นข่าอ่อน หางกะทิ ต้มไฟอ่อนจนเนื้อข่าอ่อนสุก ปรุงรส ยกลง กินกับผักสดต่างๆ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

  ความเป็นมา บะหมี่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนที่ทำจากแป้งสาลีผสมไข่ เส้นจึงมีสีเหลือง นุ่ม ส่วนผสม เช่น เกี๊ยว หมูแดง ก็ล้วนเป็นอาหารของจีน บะหมี่มาพร้อมกับคนจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยและเปิดร้านขาย มีทั้งขายในร้านคูหาเดียวหรือในภัตตาคาร ความอร่อยของเส้นหมี่ต้องนุ่มเหนียวไม่กระด้างหรือแข็งแม้เก็บไว้นาน เกี๊ยวกุ้งเนื้อกุ้งต้องเด้งกรอบ แผ่นเกี๊ยวแป้งต้องบางนุ่ม หมูแดงต้องหอมควันไฟและเนื้อนุ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ บะหมี่หมูแดงส่วนผสมแต่ละชนิดมีคุณค่าอาหารในตัวเอง เช่น เส้นบะหมี่มีคาร์โบไฮเดรทและวิตามินต่างๆ จากแป้งสาลีและไข่  เกี๊ยวกุ้งมีวิตามินบี 12  ไอโอดีน และซิลีเนียมสูง มีแคลเซียมพอสมควร หมูแดงมีโปรตีนและวิตามินชนิดต่างๆ ส่วนผักใบเขียวมีเบต้าแคโรทีน จานนี้แม้ส่วนผสมจะมีอย่างละเล็กละน้อย แต่บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง 1 ชามให้พลังงาน 305 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม บะหมี่                                  50      กรัม เกี๊ยวกุ้ง                                 4        ชิ้น หมูแดงหั่นบาง                     30      กรัม ผักกวางตุ้งลวก                    50      กรัม กระเทียมเจียว                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำซุป วิธีทำ ลวกผักกวางตุ้งและเส้นบะหมี่ใส่ชามคลุกกับกระเทียมเจียวเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน ลวกเกี๊ยวกุ้งใส่ วางหมูแดง ตักน้ำซุปราด กินร้อนๆ กับเครื่องปรุงตามชอบ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire