SLider section

แกงกระด้าง

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

แกงกระด้าง

ความเป็นมา

แกงกระด้าง หรือ แกงหมูกระด้าง นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย  แกงกระด้างมี 2 สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ขาหมูมีโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนั้นส่วนผสมเครื่องปรุงต่างๆยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ

 

ส่วนผสม

ขาหมู (ไม่เอากระดูก)                     1        กิโลกรัม

หอมแดง                                         30      กรัม

กระเทียม                                        20      กรัม

พริกไทยป่น                                    1        ช้อนชา

รากผักชี หั่นละเอียด                      2        ช้อนชา

เกลือ                                               1        ช้อนชา

น้ำปลา                                            2        ช้อนโต๊ะ

ผักชีหั่นฝอย                                   2        ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ล้างเนื้อขาหมูให้สะอาด จากนั้นนำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนสุกนุ่ม โขลกกระเทียม พริกไทย รากผักชีให้ละเอียดใส่ลงในหม้อต้มขาหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา ชิมรส จากนั้นเทใส่ถาดนำไปแช่ตู้เย็นจนเซ็ทตัว ตัดเสิร์ฟโรยหน้าด้วยผักชีหั่นฝอย

ภาค เหนือ

น้ำพริกข่า

    ความเป็นมา น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งอีกชนิดหนึ่ง ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน ทานคู่กับเนื้อสัตว์ตากแห้ง ข้าวเหนียว และผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่ามีสรรพคุณช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืด ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน   ส่วนผสม พริกขี้หนูแห้ง          20      เม็ด กระเทียม                 20      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                      ¼       ช้อนชา วิธีทำ โขลกเกลือ กระเทียม และข่า รวมกันให้ละเอียดใส่พริกขี้หนูแห้งย่างไฟ ลงโขลกรวมกันจนละเอียดตักขึ้น ทานคู่กับเนื้อแห้ง ข้าวเหนียว ผักสด      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

หมูผัดสับปะรด

    ความเป็นมา คนโบราณนิยมนำผลไม้มาทำอาหารคาว โดยใช้รสเปรี้ยวหวานตามธรรมชาติมาช่วยชูรสอาหารให้อร่อยโดยไม่ต้องใส่ผงชูรส สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีน้ำมากมีทั้งรสเปรี้ยวและหวาน คนใต้นิยมนำมาทำแกงเหลือง หรือนำมาผัดกับหมูเป็นอาหารอร่อยๆ จากผลไม้อีกจาน   คุณค่าทางโภชนาการ สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและใยอาหารมากพอสมควร ในอดีตสับปะรดใช้เป็นยากลางบ้านที่ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ หลอดลมอักเสบ และอาหารไม่ย่อย ในปัจจุบันค้นพบว่ามีเอนไซด์ โบรมีเลนซึ่งจะช่วยละลายลิ่มเลือดเป็นประโยชน์กับโรคหัวใจอุดตัน โรคข้อเสื่อม  และสรรพคุณที่เด่นที่สุดคือช่วยย่อยโปรตีน หมูผัดสับปะรดจานนี้จึงเป็นจานสมดุลที่ทำให้อิ่มสบายท้อง   ส่วนผสม สับปะรดหั่นเป็นชิ้นเล็ก          200    กรัม หมูสามชั้นหั่นชิ้นเล็ก             80      กรัม กระเทียมบุบ                            5        กรัม เกลือ น้ำปลา น้ำตาล อย่างละเล็กน้อย   วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อน ใส่กระเทียมลงเจียวให้หอม ใส่หมูลงไปผัดสักครู่ ตามด้วยสับปะรด ผัดจนสับปะรดสลด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้ได้รสเปรี้ยวหวาน    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แอบปลา

    ความเป็นมา แอบปลา คืออาหารที่นำปลาสดมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง นำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลา มีโปรตีนที่ย่อยง่าย ผิวมะกรูดช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้องได้ ขมิ้นช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อปลาหั่นชิ้น                    ½       กิโลกรัม ผิวมะกรูด หั่นละเอียด           1        ช้อนชา หอมแดง                          80      กรัม กระเทียม                          40      กรัม ตะไคร้                              80      กรัม กะปิ                                   1        ช้อนชา ขมิ้น หั่นละเอียด               1        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนู                           15      กรัม น้ำปลา                              1        ช้อนชา เกลือ                                 1        ช้อนชา ใบตอง ไม้กลัด   วิธีทำ โขลกรากผักชี ผิวมะกรูด ขมิ้นให้ละเอียด ใส่ตะไคร้ พริกขี้หนู หอมแดง กระเทียม กะปิ และเกลือ โขลกต่อพอแหลก นำไปคลุกกับเนื้อปลาที่หั่นไว้ซอยต้นหอมและผักชี ใส่น้ำปลาคลุกเคล้าให้เข้ากันห่อใบตองให้แน่น ใช้ไม้กลัดเสียบไว้ นำไปปิ้งบนไฟอ่อนจนสุก      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire