SLider section

พะแนงเนื้อ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา

พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย

 

ส่วนผสม

กะทิ                                         2     ถ้วย

เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม

น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย

ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ

ใบมะกรูด                                  5     กรัม

วิธีทำ

ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม

ภาค กลาง

หมูสะเต๊ะ

ความเป็นมา หมูสะเต๊ะ เป็นอาหารปิ้งย่างที่คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเนื้อสะเต๊ะ แต่ในประเทศไทยที่มีคนจีนมากและไม่นิยมกินเนื้อวัวจึงเปลี่ยนเป็นเนื้อหมู ส่วนผสมที่ใช้หมักเนื้อก็ยังมีลูกผักชี ยี่หร่า ขมิ้นหรือผงกะหรี่  และร้านขายหมูสะเต๊ะอร่อยๆ มักเป็นคนจีน หมูสะเต๊ะเป็นของว่างที่กินได้ตลอดวัน และนิยมสั่งกินก่อนอาหารมื้อหนัก   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีวิตามินบี 12 และอุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุต่างๆ มีโปรตีนที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มที่ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสะเต๊ะจะอร่อยเมื่อมีมันหมูติดไปด้วยเล็กน้อย เพราะจะทำให้เนื้อนุ่มและไม่กระด้าง แต่ควรระวังไม่กินมันหมูมากเกินไปเพราะร่างกายอาจจะรับไขมันเกินความจำเป็น   ส่วนผสม เนื้อหมูสันนอกหั่นเป็นชิ้นยาวกว้าง      1        กก. กะทิ                                          1        ถ้วย   เครื่องสำหรับหมักหมู ลูกผักชีป่น 1 ช้อนโต๊ะ ยี่หร่าป่น 1 ช้อนชา น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา  น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ หมักหมูและเสียบไม้พักไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นำหมูสะเต๊ะย่างไฟ ขณะย่างพรมกะทิไปด้วยเพื่อไม่ให้แห้ง พอสุกใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มและอาจาด   ส่วนผสมน้ำจิ้มและวิธีทำ กะทิ 3 ถ้วย น้ำพริกแกง ½ ถ้วย ถั่วลิงสงโขลกละเอียด 1/3 ถ้วย น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปึก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มมะขาม 2 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวกะทิให้พอแตกมัน ใส่น้ำพริกลงไปผัดจนหอม ใส่ถั่วลิสง น้ำปลา น้ำตาล น้ำส้มมะขาม เคี่ยวต่อจนข้น ชิมรส ส่วนผสมอาจาดและวิธีทำ น้ำส้มสายชู 1/3 ถ้วย น้ำตาลทราย ½ ถ้วย เกลือป่น 2 ช้อนชา แตงกวาผ่าสี่หั่น 2 ลูก หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ พริกชี้ฟ้าหั่นขวาง ½ เม็ด ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟ พอทุกอย่างละลายยกลง พักไว้ให้เย็น จัดแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้าใส่ชาม ราดน้ำอาจาด


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

กุ้งเต้น

ความเป็นมา กุ้งฝอยที่นำมาทำกุ้งเต้นสามารถหาทานได้ทั่วไปในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่นิยมรับประทานกันในภาคอีสานและภาคเหนือ แต่สูตรจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แม้บางครั้งจะไม่เป็นที่ยอมรับกันมากเท่าใดนัก เนื่องจากวิธีการปรุงนั้นพิสดารกว่าปกติทั่วไป   คุณค่าทางโภชนาการ กุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นแหล่งรวมของโปรตีนและแคลเซียม  นอกจากนั้นยังมีหอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและบำรุงหัวใจผักชีฝรั่ง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม กุ้งฝอยเป็นๆ                  200    กรัม น้ำมะนาว                        2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1½     ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว                             2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                 30      กรัม พริกป่น                            1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย                  30      กรัม ต้นหอมซอย                   20      กรัม   วิธีทำ ล้างกุ้งฝอย พักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำใส่กุ้งฝอยลงในอ่างผสม ใส่น้ำมะนาว น้ำปลา ข้าวคั่ว หอมแดง และพริกป่น เคล้าให้เข้ากัน ใส่ผักชีฝรั่งและต้นหอม เคล้าให้เข้ากันทั่ว ตักใส่จานเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ตูโบ้

    ความเป็นมา ตูโบ้ คือ แกงบวดรวมมิตรที่นำมันเทศ เผือก ถั่วแดง และแผ่นแป้งมันสำปะหลังมาต้มกับกะทิใส่น้ำตาลทราย ขนมหวานท้องถิ่นของคนภูเก็ต คำว่า ตู หมายถึง หมู  คำว่าโบ้ หมายถึงแม่ เมื่อรวมกันแล้ว “ตูโบ้” หมายถึง แม่หมู ซึ่งน่าจะเป็นเพราะของหวานนี้นำส่วนผสมหลายอย่างมาต้มรวมกันเหมือนต้มให้แม่หมูกิน   คุณค่าทางโภชนาการ มันเทศ เผือก เป็นพืชหัวที่มีคาร์โบไฮเดรทสูง ถั่วแดงมีโปรตีน เมื่อนำมาต้มกะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูง และใส่น้ำตาลให้มีรสหวาน ของหวานถ้วยนี้จึงมีพลังงานค่อนข้างสูง จึงควรกินแต่พอเหมาะเพราะถ้ากินมากเกินไปจะให้พลังงานเกินความจำเป็นและทำให้อ้วนได้   ส่วนผสม มันเทศหั่นชิ้นเล็ก                          1/2     ถ้วย เผือกหั่นชิ้นเล็ก                             1/2     ถ้วย ถั่วแดงเม็ดเล็กต้มสุก                     ½       ถ้วย จูฮุ่น (แผ่นแป้งมันสำปะหลัง)         ½       ถ้วย กะทิ                                                 3        ถ้วย น้ำตาลทราย                                    1        ถ้วย เกลือ                                                1        ช้อนชา   วิธีทำ นึ่งมันเทศ เผือก ให้สุก ตั้งกะทิพอเดือด ใส่มันเทศ เผือก ถั่วแดง แผ่นแป้งมันสำปะหลัง ต้มพอเดือด ใส่น้ำตาล เกลือ ต้มให้น้ำตาลละลาย ชิมรส ตักใส่ถ้วยพร้อมรับประทาน  


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire