SLider section

ผักเหลียงต้มกะทิกุ้งสด

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ผักเหลียงต้มกะทิกุ้งสด

ความเป็นมา

แกงกะทิที่มีทั้งแบบเผ็ดและไม่เผ็ดเป็นอาหารยอดนิยมของคนใต้ ซึ่งมีพื้นที่ติดทะเลและปลูกมะพร้าวมาก อาหารจานนี้นำกะทิมาต้มกับผักพื้นบ้านอย่างผักเหลียง ใส่กุ้ง และใส่หอมแดงให้มีกลิ่นหอม ทีรสหวาน เพิ่มรสเค็มด้วยกะปิ เป็นแกงรสอร่อยที่กินได้คล่องคอ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ใบเหลียงผักพื้นบ้านใบเขียวเนื้อกรอบ รสหวานมัน มีเบต้าแคโรทีนจากสีเขียวอย่าง

ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยจากโรคที่คนนิยมเป็นกัน เช่น โรคจากหลอดเลือด โรคหัวใจ ยิ่งเมื่อแกงกับกะทิที่มีไขมันจะช่วยดูดซึมวิตามินได้อย่างดี และยังได้โปรตีนจากเนื้อกุ้งอีกด้วย

 

ส่วนผสม

ผักเหลียง                    500 กรัม

กุ้งสด                           200 กรัม

กะทิ                             4     ถ้วย

หอมแดงบุบ                  40   กรัม

กะปิ                              1     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาล                          2     ช้อนโต๊ะ

เกลือ                            1     ช้อนชา

วิธีทำ

ละลายกะปิกับกะทิเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เป็นก้อน จากนั้นเติมกะทิที่เหลือลงไปในหม้อยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หอมแดงบุบ รอจนเริ่มเดือด จากนั้นใส่กุ้งสด ปรุงรสด้วยน้ำตาล และเกลือ พอเดือดอีกครั้งใส่ผักเหลียง ต้มต่อให้ผักเหลียงสุกนุ่ม ตักเสิร์ฟ

ภาค กลาง

ขนมจีนน้ำยา

ความเป็นมา ขนมจีนน้ำยาเป็นอาหารที่สันนิษฐานว่าไทยรับมาจากมอญ ซึ่งในอดีตจัดเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ชาติหนึ่งในสุวรรณภูมิ พม่าซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านก็มีอาหารจานนี้แต่จะใส่หยวกกล้วยลงไปด้วยเพื่อทำให้น้ำยาข้นขึ้น แต่คนไทยนิยมกินเนื้อปลามากกว่า จึงใส่เฉพาะเนื้อปลาที่ตำละเอียดใส่ลงไป และใส่ปลาเค็มเพื่อให้มีกลิ่นหอมและรสเค็มกลมกล่อม   คุณค่าทางโภชนาการ ขนมจีนน้ำยาเป็นอาหารจานเดียวที่ครบหมู่ เพราะมีคาร์โบไฮเดรตจากขนมจีน โปรตีนจากเนื้อปลา และมีวิตามินจากผักสดต่างๆ ที่กินเป็นเครื่องเคียง และมีกากใยอาหารอย่างดีที่ช่วยระบบขับถ่าย นอกจากสมุนไพรต่างๆ ที่ช่วยขับลมแล้ว ยังใส่กระชายเพื่อดับกลิ่นคาวของปลา  ซึ่งมีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่ มีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค   ส่วนผสม ขนมจีน                                     1     กิโลกรัม น้ำพริกแกงเผ็ดไม่ใส่เครื่องเทศ     ½    ถ้วย กระชายขูดหั่นชิ้นเล็กๆ                ½    ถ้วย ปลาช่อนหรือปลาเนื้อขาวต้มสุกแกะเฉพาะเนื้อ     2     ถ้วย ปลาเค็มปิ้งแกะเฉพาะเนื้อ             ½    ถ้วย กะทิ                                         4     ถ้วย น้ำต้มปลาเคี่ยว                          1     ถ้วย น้ำปลา ผักเครื่องเคียง ใบแมงลัก ถั่วงอก มะระหั่นชิ้นบาง วิธีทำ ผัดน้ำพริกแกงกับกะทิเล็กน้อยพอให้หอม ใส่เนื้อปลา และปลาเค็มปิ้งลงไปผัดให้เข้ากัน ใส่กระชายผัดให้มีกลิ่นหอม ใส่กะทิลงไปคนให้เนื้อปลาละลายไปกับน้ำกะทิ เติมน้ำต้มปลา ปรุงรส ตั้งไฟให้เดือด นำไปราดลงบนขนมจีน เสิร์ฟคู่ผักเคียง


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

น้ำพริกกะปิ

ความเป็นมา น้ำพริกคู่ครัวไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตและกินกันทุกครัวเรือน กะปิเรียกได้ว่าเป็นอาหารร่วมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กินกันทุกประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน คำว่า”กะปิ” นี้ว่ากันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “งาปิ” ซึ่งเป็นภาษามอญ น้ำพริกกะปิของไทยต้องมีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และไม่ควรข้นเกินไปเพราะต้องกินกับข้าวและเครื่องเคียงอย่าง ปลาทู ผักสด และผักทอดต่างๆ   คุณค่าทางโภชนาการ กะปิทำจากเคยหมักจึงให้แคลเซียมสูงมาก กะปิ 100 กรัม ให้แคลเซียมสูงถึง 1,554 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ในน้ำพริกยังมีกระเทียมที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด พริกกระตุ้นความอยากอาหาร และมะอึกที่มีรสเปรี้ยวทำให้น้ำพริกมีรสกลมกล่อม อร่อย ทำให้กินผักเครื่องเคียงต่างๆ ที่มีวิตามิน และกากใยได้อีกมากมาย   ส่วนผสม กะปิอย่างดี เผาไฟ                      2     ช้อนโต๊ะ กระเทียม                                   10   กรัม กุ้งแห้งตำละเอียด                       2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูเขียว แดง รวมกัน          10   กรัม มะอึก ขูดขนออกหั่นบาง              60   กรัม น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนชา น้ำมะนาว                                  2     ช้อนโต๊ะ มะเขือพวงบุบ                            10   กรัม เครื่องเคียง ปลาทูทอด ผักลวก เช่น หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักทอด เช่น มะเขือยาวชุบไข่ทอด ไข่ชะอมทอด วิธีทำ ตำกระเทียม และกะปิให้เข้ากันดี ทำให้กลิ่นของกะปิและกระเทียมไม่แรงจนเกินไป จากนั้นใส่กุ้งแห้ง พริกขี้หนู ตำให้พริกพอแหลก ใส่มะอึก ตำเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา คนให้เข้ากัน จากนั้นตักออกจากครกจึงใส่น้ำมะนาว ชิมรสอีกครั้ง จึงใส่มะเขือพวงบุบ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

โอเอ๋ว

    ความเป็นมา โอเอ๋วเป็นชื่อของเมล็ดโอเอ๋ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเม็ดแมงลัก จัดเป็นเมล็ดสมุนไพร เมื่อนำมาแช่น้ำจะเป็นเมือก ใส่เจี่ยกอเพื่อให้จับตัวเป็นก้อนเหมือนวุ้นไม่มีสี นำมาหั่นใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำแดง ใส่รวมกับเฉาก๊วย ถั่วแดง เป็นของหวานน้ำแข็งไส ซึ่งเป็นขนมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตที่มาพร้อมกับชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในภูเก็ต   คุณค่าทางโภชนาการ เมล็ดโอเอ๋วจัดเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง มีฤทธิ์เย็นที่ช่วยแก้ร้อนใน ยิ่งเมื่อกินในฤดูร้อนที่ใส่น้ำแข็งจะช่วยดับร้อน ทำให้รู้สึกสดชื่น และยังช่วยให้ร่างกายเย็นซึ่งไปช่วยแก้อาการร้อนในได้อย่างดี   ส่วนผสม โอเอ๋ว                                   80      กรัม ถั่วแดง                                  3        ช้อนโต๊ะ เฉาก๊วยหั่นเป็นชิ้น                30      กรัม น้ำแดงหรือน้ำเชื่อม              3        ช้อนโต๊ะ น้ำแข็งไส   วิธีทำ นำส่วนผสมใส่ชาม ใส่น้ำแข็งไส ราดน้ำเชื่อม    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire