SLider section

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ภาค เหนือ

  • recipe image cover
  • recipe image cover

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ความเป็นมา

ขนมจีน หรือ เข้าหนมเส้น ทานกับน้ำแกงที่เรียกว่าน้ำเงี้ยว จึงเป็นขนมจีนน้ำงี้ยว ซึ่งเป็นอาหารของชาวล้านนาที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย สูตรของขนมจีนน้ำเงี้ยวจะแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น บางพื้นที่ใช้ถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกงเพื่อเพิ่มรสชาติ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ขนมจีนน้ำเงี้ยวมีคุณค่าทางโภชนาการจาก เส้นขนมจีนที่ให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีนจากหมูสับและซี่โครงหมู ได้วิตามินซีจากมะเขือเทศ อีกทั้งมะเขือเทศยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้านและมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

 

ส่วนผสม

ซี่โครงหมูต้ม ตัดเป็นชิ้น         1/2     กิโลกรัม

เลือดหมู หั่นสี่เหลี่ยม             1/2     กิโลกรัม

หมูสับ                                      400    กรัม

มะเขือเทศลูกเล็ก ผ่าครึ่ง        1/2     กิโลกรัม

เกลือ                                        2        ช้อนโต๊ะ

น้ำมันพืช                                  2        ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด                                 6        ถ้วย

ส่วนผสมพริกแกง

พริกแห้ง                              7        เม็ด

รากผักชีหั่นฝอย                   1        ช้อนชา

ข่าหั่นละเอียด                     1        ช้อนชา

ตะไคร้ซอย                         2        ช้อนชา

กะปิ                                     2        ช้อนชา

หอมแดง                            40      กรัม

กระเทียม                          60      กรัม

วิธีทำ

ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำไปผัดกับน้ำมันให้หอม ใส่หมูสับ ผัดให้สุก ใส่ซี่โครงหมู มะเขือเทศ ใส่น้ำสะอาดตั้งไฟต่อจนเดือด ปรุงรสด้วยเกลือชิมรส ตักราดลงบนขนมจีน ทาคู่ผักดองและผักสด

 

 

ภาค ใต้

ไก่ย่างฆอและ

  ความเป็นมา ไก่ย่างฆอและเป็นอาหารที่คนมุสลิมทางใต้นิยมกินกันโดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก และยังกินกันทั่วไปที่ประเทศมาเลเซีย ภาษามลายูจะเรียกว่า “อาแยฆอและ” แปลว่าไก่กลิ้ง ซึ่งน่าจะหมายถึงการย่างที่ต้องพลิกไปพลิกมา บางร้านจะขายคู่กับข้าวหลาม   คุณค่าทางโภชนาการ ไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำ แม้ว่าเมนูนี้จะมีไขมันจากกะทิที่หมักและราดขณะย่างเพื่อให้เนื้อนุ่มแต่ก็ไม่มากเกินไป การหมักไก่ด้วยสมุนไพรต่างๆ ที่ช่วยดับกลิ่นคาว ทำให้มีกลิ่นหอมน่ากินแล้ว สมุนไพรและเครื่องเทศเหล่านี้ยังมีคุณสมบัติที่ช่วยขับลม แก้ท้องอืดด้วย   ส่วนผสม เนื้อสะโพกไก่                      1        กิโลกรัม กะทิ                                     1        ถ้วย พริกชี้ฟ้าแห้ง                      5        เม็ด (กรีดเม็ดออกแช่น้ำไว้สักครู่) หอมแดง                             30      กรัม กระเทียม                            20      กรัม ขมิ้นหั่น                                2        ช้อนชา ลูกผักชีป่น                           1        ช้อนชา ยี่หร่าป่น                              ½       ช้อนชา กะปิ                                       1        ช้อนชา ขิงหั่นแว่น                             10      กรัม น้ำมะขามเปียก                      2        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ โขลกส่วนผสมทั้งหมดให้ละเอียด นำไปผสมกับกะทิ น้ำมะขาม แล้วหมักไก่ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง นำไปย่างจนสุก ขณะย่างทาน้ำหมักไปด้วยเพื่อไม่ให้เนื้อไก่แห้ง    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ยำลูกมุดใบชะพลู

ความเป็นมา มะมุด ลูกมุด ม่วงมุด ส้มมุด มะม่วงป่า เป็นผลไม้ชนิดเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น มะมุดเป็นผลไม้พันธุ์เดียวกับมะม่วง รสเปรี้ยวกว่า เนื้อแน่นเหนียวกว่า กลิ่นหอมฉุน และลูกโตกว่า คนใต้จึงนิยมนำมาทำอาหารที่ให้รสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ยำ จานนี้นำมะมุดมาซอยแล้วยำใส่มะพร้าวคั่ว บางท้องที่จึงเรียกว่ายำลูกมุดมะพร้าวคั่ว และกินกับใบชะพลู   คุณค่าทางโภชนาการ มะมุดเป็นผลไม้รสเปรี้ยวจึงให้วิตามินซีสูง สามารถช่วยป้องกันไข้หวัดได้อย่างดี และเมื่อนำมายำรวมกับหอมแดง พริก จะให้รสเผ็ดซึ่งช่วยทำให้สมองปลอดโปร่ง ใส่มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสง ซึ่งมีโปรตีน เคี้ยวมันๆ อร่อยๆ และกินคู่กับใบชะพลูผักสีเขียวที่มีทั้งเบต้าแคโรทีน และมีแคลเซียมมากถึง 298 มิลลิกรัมใน 100 กรัม   ส่วนผสม ลูกมุดซอย                    1     ถ้วย มะพร้าวคั่ว                   ¾    ถ้วย ถั่วลิสงคั่วบุบหยาบ         1/3  ถ้วย กุ้งแห้งตำ                        1/3  ถ้วย หอมแดงซอย                  ½    ถ้วย พริกขี้หนูซอย                  5     กรัม เกลือ                                 1     ช้อนชา น้ำตาลทราย                    1 1/2      ช้อนโต๊ะ ใบชะพลู   วิธีทำ นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในภาชนะสำหรับคลุก หรือจะใส่ลงไปครกเพื่อตำเบาๆให้พอช้ำ ปรุงรสด้วยเกลือ และน้ำตาลทราย กินกับใบชะพลูสด    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire