SLider section

ไส้อั่ว

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ไส้อั่ว

 

ความเป็นมา

ไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหารให้สามารถรับประทานได้นานขึ้นคำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการยัดไว้ตรงกลางซึ่งก็คือเนื้อสัตว์ต่างๆนั่นเอง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ไส้อั่วมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งเครื่องปรุงยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

 

ส่วนผสม

เนื้อหมูบดติดมัน                   1        กิโลกรัม

ใบมะกรูดหั่นฝอย                  3        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอม ผักชี หั่นฝอย            2        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                    2        ช้อนโต๊ะ

ไส้อ่อนหมู                              1/2     กิโลกรัม

ส่วนผสมน้ำพริกแกง

พริกแห้ง                            8        เม็ด

เกลือป่น                            1        ช้อนชา

ข่าซอย                              2        ช้อนชา

ตะไคร้ซอย                         2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงซอย                      60      กรัม

กระเทียมซอย                     3        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                   1        ช้อนชา

รากผักชี                            2        ช้อนชา

ขมิ้นผง                             1/2     ช้อนชา

วิธีทำ

ปั่นหรือบดเครื่องพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูบด ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ปรุงรสด้วยน้ำมา นวดและคลุกเคล้าจนเข้ากันดี นำไปยัดลงในไส้อ่อนหมูมัดหัวท้ายให้แน่น ก่อนนำไปนึ่งในลังถึงประมาณ 20 นาทีจึงเอามาย่างบนไฟอ่อน หรือทอดในน้ำมันจนสุก

 

 

ภาค อีสาน

ลาบปลาดุก

ความเป็นมา ลาบปลาดุกถูกดัดแปลงเพื่อให้เกิดรสชาติและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะรสชาติและรสสัมผัสของปลาดุกย่างจะแตกต่างจากเนื้อสัตว์โดยทั่วไป เนื้อปลาจะนุ่มและซึมซับรสของเครื่องปรุงได้ดีกว่า จึงได้รสชาติที่จัดจ้านกว่าเนื้อปลาชนิดอื่น   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลาดุกย่างมีสรรพคุณคือ มีโปรตีนสูง และไขมันต่ำ นอกจากนั้น ข่ายังช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนหอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจผักชีฝรั่งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ใบสะระแหน่ช่วยบำรุงสายตา คลายเครียด ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม ปลาดุกหนัก 300 กรัม                   1        ตัว ใบมะกรูดหั่นฝอย                          2        ช้อนชา ข่าโขลกละเอียด                            1        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                10      กรัม ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                                 10      กรัม ข้าวคั่วป่น                                    2        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                       2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                   2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ล้างปลาดุกให้สะอาด ขูดเมือกบนผิวออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อนำมาสับหยาบๆ จากนั้นเคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย และใบมะกรูดหั่นฝอยปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว คลุกเคล้ากันให้ทั่ว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักเคียง    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

หมูฮ้อง

ความเป็นมา หมูฮ้องทำจากหมูสามชั้นคล้ายกับหมูต้มเค็มที่มีรสหวาน บางคนบอกว่าการกินหมูสามชั้นเป็นอิทธิพลของจีนคล้ายกับพะโล้ แต่หมูฮ้องจะมีน้ำน้อยกว่าและไม่มีไข่ และเต้าหู้ ปรุงรสให้หอมด้วยรากผักชี กระเทียม พริกไทย และใส่อบเชย โป๊ยกั๊ก ซีอิ๊วดำ เครื่องเทศที่เหมือนใส่ในพะโล้   คุณค่าทางโภชนาการ ไขมันในหมูเป็นไขมันอิ่มตัวที่อาจจะมีปัญหากับคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่ไขมันในเนื้อหมูช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และเลือดหมุนเวียนได้ดี เนื้อหมูมีโปรตีนและวิตามินบีชนิดต่างๆ ในปริมาณที่สูงมาก มีธาตุสังกะสีในปริมาณมากพอสมควร เนื้อหมู 100 กรัมให้พลังงาน 376 แคลอรี โปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 35.0 กรัม   ส่วนผสม หมูสามชั้น             2     กิโลกรัม กระเทียมบุบ           1/3  ถ้วย รากผักชีหั่นฝอย     ¼    ถ้วย พริกไทยเม็ด         2     ช้อนโต๊ะ น้ำมันหมู              3     ช้อนโต๊ะ อบเชย                  1     แท่ง โป๊ยกั๊ก                  2     ดอก ซีอิ๊วดำ                  6     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว      2     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด               1     ลิตร ซีอิ๊วขาว                 5     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย          1     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำพริกไทยเม็ด โป๊ยกั๊ก ให้ละเอียด ตักลงในอ่างผสม ใส่น้ำตาล ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ น้ำมันหมู คนให้น้ำตาลละลาย จากนั้นใส่หมูสามชั้นหั่นชิ้นใหญ่คลุกเคล้าให้เข้ากัน พักไว้ 30 นาที จากนั้นนำลงไปผัดในหม้อหรือกระทะให้หมูเริ่มสุก เติมน้ำสะอาด ใส่อบเชย รากผักชี และกระเทียม ตั้งเคี่ยวจนน้ำงวดลง หมูสุกและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

น้ำพริกข่า

    ความเป็นมา น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งอีกชนิดหนึ่ง ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน ทานคู่กับเนื้อสัตว์ตากแห้ง ข้าวเหนียว และผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่ามีสรรพคุณช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืด ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน   ส่วนผสม พริกขี้หนูแห้ง          20      เม็ด กระเทียม                 20      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                      ¼       ช้อนชา วิธีทำ โขลกเกลือ กระเทียม และข่า รวมกันให้ละเอียดใส่พริกขี้หนูแห้งย่างไฟ ลงโขลกรวมกันจนละเอียดตักขึ้น ทานคู่กับเนื้อแห้ง ข้าวเหนียว ผักสด      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire