SLider section

แกงไตปลา

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงไตปลา

ความเป็นมา

แกงไตปลาอาหารจานเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารใต้ ไตปลาทำมาจากการนำพุงปลา และกระเพาะปลาที่มีอยู่มาก เช่น พุงปลาทู พุงปลาลัง มาใส่เกลือหมักดองไว้ ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อหมักจนได้ที่ประมาณ 1 เดือน ก็นำมาทำแกง ใส่เนื้อปลา ผัก ที่มีรสชาติเผ็ด เค็ม ร้อนแรง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ไตปลาเป็นของหมักดองที่มีโปรตีนสูง นำมาทำแกงโดยใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งล้วนมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีไขมันจากปลาซึ่งเป็นไขมันดี และมีวิตามินต่างๆ จากผัก เช่น ฟักทองที่มีวิตามินเอ มะเขือพวงช่วยย่อยอาหาร และข้อเด่นของผักทั้งหมดที่ใส่นี้มีกากใยที่ช่วยระบายท้องได้อย่างดี

 

ส่วนผสมไตปลาปรุงรส

ไตปลา(พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว)             1     ถ้วย

ตะไคร้บุบ                            3     ต้น

ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ

ข่าหั่นแว่น                           60   กรัม

พริกไทยเม็ดบุบ                    2     ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ ต้มไตปลาผสมน้ำแล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ทั้งหมด พอเดือด กรองน้ำไว้ พักไว้

ส่วนผสมพริกแกง กระเทียม 15 กรัม หอมแดง 50 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด พริกชี้หนูสด 15 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ  ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด พักไว้

ส่วนผสมแกงไตปลา

ไตปลาปรุงรส                       1     ถ้วย

ปลาย่างแกะเนื้อ                   1     ถ้วย

หน่อไม้หั่น                          1     ถ้วย

มะเขือเปราะ                        80   กรัม

มะเขือพวง                           ½    ถ้วย

ถั่วฝักยาวหั่นสั้น                   ½    ถ้วย

ฟักทองหั่น                          80   กรัม

น้ำสะอาด                            3     ถ้วย

ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ

วิธีทำ

นำไตปลาปรุงรสละลายกับน้ำตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาย่างแกะเนื้อ หน่อไม้ และฟักทอง เมื่อเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และใบมะกรูดฉีก ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

น้ำพริกตาแดง

    ความเป็นมา น้ำพริกตาแดงของภาคเหนือสมัยก่อนนิยมใส่ถั่วเน่าแข็งลงไปด้วย แต่ปัจจุบันหาถั่วเน่าได้ยากจึงไม่ได้ใส่ น้ำพริกตาแดงจะมีลักษณะข้นเหนียว เหมาะกับใช้ข้าวเหนียวจิ้มทานคู่กับผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ น้ำพริกตาแดงมีสรรพคุณจากกระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ พริกแห้งช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดเสมหะ ขับปัสสาวะ และยังช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย   ส่วนผสม พริกแห้งเม็ดใหญ่                       ½       ถ้วย กระเทียม                                    60      กรัม หอมแดง                                     60      กรัม กะปิ                                            1        ช้อนโต๊ะ ปลาแห้ง                                     2        ถ้วย น้ำตาลปี๊บ                                   4        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                        ¼       ถ้วย มะขามเปียกแกะเม็ดออกสับละเอียด   ¼       ถ้วย   วิธีทำ โขลกพริกแห้งให้ละเอียด ใส่กระเทียม หัวหอม กะปิ โขลกต่อไปพอแหลกแล้วจึงใส่ปลาแห้ง มะขามเปียกสับละเอียด โขลกให้เข้ากันดีพร้อมปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา ตั้งกระทะใส่น้ำมันเมื่อน้ำมันร้อนจัดตักน้ำพริกลงผัดให้หอมใช้ไฟอ่อน ผัดจนทั่วกันดี ตักขึ้นเสิร์ฟพร้อมผักสด      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลาอินทรี

ความเป็นมา แกงเหลืองก็คือแกงส้มของภาคกลาง แต่ใส่ขมิ้นจึงมีสีเหลืองและเรียกว่าแกงเหลือง เป็นแกงพื้นบ้านที่ทำง่ายๆ กินกันทั่วไป รสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน แกงเหลืองไม่นิยมรสหวาน และมีรสเผ็ดร้อนเข้มข้นกว่าแกงส้ม แกงนี้สามารถเปลี่ยนส่วนผสมไปตามพืชพรรณของแต่ละท้องที่และเรียกชื่อไปตามพืชผักและเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุง เมนูนี้ใช้หน่อไม้ดองที่มีรสเปรี้ยวตามธรรมชาติ รสหวานจากสับปะรด และไม่ทำให้เผ็ดเกินไป ใส่ปลาอินทรีที่ทางใต้มีอย่างอุดมสมบูรณ์   คุณค่าทางโภชนาการ แกงน้ำใสรสสุขภาพที่มีรสหวาน เปรี้ยว จากพืชผักธรรมชาติโดยแท้จริง รสชาติจึงสดชื่นทั้งส้มมะขามและสับปะรดล้วนมีวิตาซีที่ช้วยป้องกันหวัดมีกากใยที่ช่วยป้องกันท้องผูก จานนี้ยังรสเผ็ดของพริกที่ช่วยแก้หวัดคัดจมูกได้อย่างดี และพริกยังมีสารไบโอเฟลโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ซึ่งอาจจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้   ส่วนผสม พริกแกง                               ½    ถ้วย หน่อไม้ดอง                           1     ถ้วย ปลาอินทรีหั่นชิ้นใหญ่           300 กรัม สับปะรดหั่นชิ้นบาง                100 กรัม น้ำปลา                                   2     ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                       2     ช้อนโต๊ะ   ส่วนผสมพริกแกง พริกสด 20 เม็ด ขมิ้นยาว  1 นิ้ว กระเทียม 7 กลีบ  กะปิ  1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างรวมกันให้ละเอียด    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire