SLider section

แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลาอินทรี

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลาอินทรี

ความเป็นมา

แกงเหลืองก็คือแกงส้มของภาคกลาง แต่ใส่ขมิ้นจึงมีสีเหลืองและเรียกว่าแกงเหลือง เป็นแกงพื้นบ้านที่ทำง่ายๆ กินกันทั่วไป รสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน แกงเหลืองไม่นิยมรสหวาน และมีรสเผ็ดร้อนเข้มข้นกว่าแกงส้ม แกงนี้สามารถเปลี่ยนส่วนผสมไปตามพืชพรรณของแต่ละท้องที่และเรียกชื่อไปตามพืชผักและเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุง เมนูนี้ใช้หน่อไม้ดองที่มีรสเปรี้ยวตามธรรมชาติ รสหวานจากสับปะรด และไม่ทำให้เผ็ดเกินไป ใส่ปลาอินทรีที่ทางใต้มีอย่างอุดมสมบูรณ์

 

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงน้ำใสรสสุขภาพที่มีรสหวาน เปรี้ยว จากพืชผักธรรมชาติโดยแท้จริง รสชาติจึงสดชื่นทั้งส้มมะขามและสับปะรดล้วนมีวิตาซีที่ช้วยป้องกันหวัดมีกากใยที่ช่วยป้องกันท้องผูก จานนี้ยังรสเผ็ดของพริกที่ช่วยแก้หวัดคัดจมูกได้อย่างดี และพริกยังมีสารไบโอเฟลโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ซึ่งอาจจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้

 

ส่วนผสม

พริกแกง                               ½    ถ้วย

หน่อไม้ดอง                           1     ถ้วย

ปลาอินทรีหั่นชิ้นใหญ่           300 กรัม

สับปะรดหั่นชิ้นบาง                100 กรัม

น้ำปลา                                   2     ช้อนโต๊ะ

น้ำมะขามเปียก                       2     ช้อนโต๊ะ

 

ส่วนผสมพริกแกง พริกสด 20 เม็ด ขมิ้นยาว  1 นิ้ว กระเทียม 7 กลีบ  กะปิ  1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างรวมกันให้ละเอียด

 

 

ภาค เหนือ

น้ำพริกหนุ่ม

ความเป็นมา พริกหนุ่ม คือพริกที่ยังไม่แก่จัด มีสีเขียวและมีรสเผ็ด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารของชาวล้านนาที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลาย นิยมซื้อเป็นของฝากเมื่อมาเที่ยวทางภาคเหนือ รับประทานกับแคบหมูและผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ พริกหนุ่มมีสารแคปไซซินเป็นตัวช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง จึงช่วยในการบำบัดโรคเบาหวานได้ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์   ส่วนผสม พริกหนุ่ม                   80      กรัม กระเทียมซอย            2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย             2        ช้อนโต๊ะ เกลือป่น                     1        ช้อนชา ผักชีซอย                    1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ เผา หรือคั่วพริกหนุ่มจนนุ่ม ลอกเปลือกที่ไหม้ออก หั่นเป็นท่อนพักไว้ จากนั้นนำหอมแดงกับกระเทียมตำให้ละเอียด ใส่พริกหนุ่มตำให้แหลกและเข้ากัน ปรุงรสด้วยเกลือ ตักขึ้นเสิร์ฟ โรยหน้าด้วยผักชีซอย    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

วุ้นกะทิ

    ความเป็นมา วุ้นเป็นขนมหวานของไทยที่หากินได้ทั่วไป เนื้อวุ้นจะคล้ายกับเยลลี่ของฝรั่ง แตกต่างกันที่เนื้อสัมผัสของวุ้นจะแข็งและกรอบกว่า คนไทยนำกะทิมาผสมกับผงวุ้นเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อให้มีรสเค็มมัน ทำเป็นหน้าของวุ้นตัดกับรสหวานของเนื้อวุ้นที่ใส่เฉพาะน้ำตาล ทำให้กินได้อร่อยไม่เลี่ยน และใส่สลับชั้นให้ดูสวยงาม   คุณค่าทางโภชนาการ วุ้นเป็นสารสกัดมาจากสาหร่ายที่เรียกว่า “อาการ์” มีคุณสมบัติทำให้เนื้อขนมแข็ง สาหร่ายมีธาตุไอโอดีน แต่เมื่อเทียบกับน้ำตาลและกะทิที่เป็นส่วนผสมของวุ้นกะทิซึ่งมีมากกว่าวุ้น จึงควรบริโภคแต่พอเหมาะ แม้ว่าวุ้นกะทิปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 133 กิโลแคลอรี แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินไป   ส่วนผสมตัววุ้น วุ้นผง                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำลอยดอกมะลิ                  2 1/4  ถ้วย น้ำตาลทราย                       1/2     ถ้วย น้ำใบเตย (ตำและคั้นน้ำ )หรือสีผสมอาหารสีตามชอบ   ส่วนผสมหน้ากะทิ ผงวุ้น                                 1        ช้อนโต๊ะ หัวกะทิ                              2 ¼    ถ้วย น้ำตาลทราย                       ¼       ถ้วย เกลือป่น                             2        ช้อนชา   วิธีทำ ผสมผงวุ้น น้ำลอยดอกมะลิ เกลือ ตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลายหมด ก่อนยกขึ้นใส่น้ำใบเตยให้มีสีสวยตามชอบ ตักใส่พิมพ์ นำส่วนผสมหัวกะทิตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลาย ตักหยอดหน้าตัววุ้น


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

มะม่วงเบาแช่อิ่ม

  ความเป็นมา มะม่วงเบาเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองของทางใต้ ผลมีขนาดเล็กเท่ากับไข่ไก่ใบเล็ก เมื่อดิบรสจะเปรี้ยวจี๊ด เนื้อกรอบ ไม่มีกลิ่นฉุน คนใต้นิยมนำไปทำอาหารให้รสเปรี้ยวหลากหลาย เช่น นำไปตำน้ำพริกเป็นน้ำพริกมะม่วงเบา แต่ที่นิยมมากที่สุดคือนำไปแช่อิ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ มะม่วงเบามีรสเปรี้ยวเป็นแหล่งของวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้อย่างดี ช่วยสร้างสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เส้นผม ฟัน เหงือก และกระดูกสมบูรณ์แข็งแรง เมนูนี้นำมาแช่อิ่ม โดยใส่ในน้ำเชื่อมเพื่อให้ซึมเข้าเนื้อ มะม่วงจึงมีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ กินแล้วช่วยให้สดชื่นมาก แต่ถ้ากินมากไปจะได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นที่จะทำให้ให้อ้วนได้   ส่วนผสม มะม่วงเบา                         50      ผล น้ำปูนใส                            1        ถ้วย เกลือ                                ½       ถ้วย น้ำตาลทราย                       1        กก. น้ำสะอาด                          3        ถ้วย วิธีทำ ปอกเปลือกมะม่วง ผ่าลูกละ 2-4 ชิ้น แช่ในน้ำสะอาดให้มะม่วงจม ใส่น้ำปูนใส ใส่เกลือ แช่ทิ้งไว้ 2 คืน คนให้ทั่ววันละ 2-3 ครั้งตักมะม่วงขึ้นพักไว้ ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลกับน้ำใส่เกลือ ตั้งไฟจนข้น พักไว้ให้เย็น เทใส่ในมะม่วงปิดฝาพักไว้ 2 คืน นำมาคนวันละ 2 ครั้ง ชิมดูจะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน นำเข้าตู้เย็น มะม่วงจะ กรอบอร่อยขึ้น    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire