SLider section

วุ้นกะทิ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

วุ้นกะทิ

 

 

ความเป็นมา

วุ้นเป็นขนมหวานของไทยที่หากินได้ทั่วไป เนื้อวุ้นจะคล้ายกับเยลลี่ของฝรั่ง แตกต่างกันที่เนื้อสัมผัสของวุ้นจะแข็งและกรอบกว่า คนไทยนำกะทิมาผสมกับผงวุ้นเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อให้มีรสเค็มมัน ทำเป็นหน้าของวุ้นตัดกับรสหวานของเนื้อวุ้นที่ใส่เฉพาะน้ำตาล ทำให้กินได้อร่อยไม่เลี่ยน และใส่สลับชั้นให้ดูสวยงาม

 

คุณค่าทางโภชนาการ

วุ้นเป็นสารสกัดมาจากสาหร่ายที่เรียกว่า “อาการ์” มีคุณสมบัติทำให้เนื้อขนมแข็ง สาหร่ายมีธาตุไอโอดีน แต่เมื่อเทียบกับน้ำตาลและกะทิที่เป็นส่วนผสมของวุ้นกะทิซึ่งมีมากกว่าวุ้น จึงควรบริโภคแต่พอเหมาะ แม้ว่าวุ้นกะทิปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 133 กิโลแคลอรี แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินไป

 

ส่วนผสมตัววุ้น

วุ้นผง                                1        ช้อนโต๊ะ

น้ำลอยดอกมะลิ                  2 1/4  ถ้วย

น้ำตาลทราย                       1/2     ถ้วย

น้ำใบเตย (ตำและคั้นน้ำ )หรือสีผสมอาหารสีตามชอบ

 

ส่วนผสมหน้ากะทิ

ผงวุ้น                                 1        ช้อนโต๊ะ

หัวกะทิ                              2 ¼    ถ้วย

น้ำตาลทราย                       ¼       ถ้วย

เกลือป่น                             2        ช้อนชา

 

วิธีทำ

ผสมผงวุ้น น้ำลอยดอกมะลิ เกลือ ตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลายหมด ก่อนยกขึ้นใส่น้ำใบเตยให้มีสีสวยตามชอบ ตักใส่พิมพ์ นำส่วนผสมหัวกะทิตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลาย ตักหยอดหน้าตัววุ้น

ภาค ใต้

ผัดหมี่ไชยา

            ความเป็นมา ผัดหมี่ไชยา แต่เดิมเรียกว่า ผัดหมี่ เป็นอาหารพื้นเมืองของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีมากว่า 100 ปี  เมื่อผัดเสร็จจะดูคล้ายผัดไทยแต่ผัดหมี่ไชยาจะต้องนำพริกแห้งมาตำกับกะปิและหอมแดงก่อน และจะต้องใส่กะทิให้มีรสมันตามที่คนใต้ชอบ ปรุงรสหวาน เค็ม เปรี้ยว   คุณค่าทางโภชนาการ ผัดหมี่ไชยาเป็นอาหารจานเดียวที่ได้คาร์โบไฮเดรทจากก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ตามหลักโภชนาการแนะนำว่าต้องกินคาร์โบไฮเดรทประมาณ 40 % เพราะจะให้พลังงานและทำให้แข็งแรง จานนี้มีโปรตีนจากกุ้งสด และไขมันจากกะทิ วิตามินและเกลือแร่จากผักสดที่กินไปด้วยกัน   ส่วนผสม เส้นเล็กหรือเส้นจันท์แช่น้ำจนนุ่ม        200    กรัม กุ้งสด                                                      120    กรัม พริกแห้งเม็ดใหญ่                                   4-5     เม็ด (กรีดเม็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม) หอมแดง                                                  30      กรัม กะปิ                                                          ½       ช้อนชา กะทิ                                                          1/3     ถ้วย น้ำปลา                                                      1        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                                         1        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                                         1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ รวนกุ้งสดตักขึ้นพักไว้ จากนั้นตำพริก หอมแดง กะปิ รวมกัน นำไปผัดกับกะทิ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ใส่เส้นลงผัดให้ทั่วเข้ากัน ใส่กุ้ง ผัดจนแห้งหรือแฉะตามชอบ กินกับหัวปลี ต้นกุยช่าย ถั่วงอก    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ตูโบ้

    ความเป็นมา ตูโบ้ คือ แกงบวดรวมมิตรที่นำมันเทศ เผือก ถั่วแดง และแผ่นแป้งมันสำปะหลังมาต้มกับกะทิใส่น้ำตาลทราย ขนมหวานท้องถิ่นของคนภูเก็ต คำว่า ตู หมายถึง หมู  คำว่าโบ้ หมายถึงแม่ เมื่อรวมกันแล้ว “ตูโบ้” หมายถึง แม่หมู ซึ่งน่าจะเป็นเพราะของหวานนี้นำส่วนผสมหลายอย่างมาต้มรวมกันเหมือนต้มให้แม่หมูกิน   คุณค่าทางโภชนาการ มันเทศ เผือก เป็นพืชหัวที่มีคาร์โบไฮเดรทสูง ถั่วแดงมีโปรตีน เมื่อนำมาต้มกะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูง และใส่น้ำตาลให้มีรสหวาน ของหวานถ้วยนี้จึงมีพลังงานค่อนข้างสูง จึงควรกินแต่พอเหมาะเพราะถ้ากินมากเกินไปจะให้พลังงานเกินความจำเป็นและทำให้อ้วนได้   ส่วนผสม มันเทศหั่นชิ้นเล็ก                          1/2     ถ้วย เผือกหั่นชิ้นเล็ก                             1/2     ถ้วย ถั่วแดงเม็ดเล็กต้มสุก                     ½       ถ้วย จูฮุ่น (แผ่นแป้งมันสำปะหลัง)         ½       ถ้วย กะทิ                                                 3        ถ้วย น้ำตาลทราย                                    1        ถ้วย เกลือ                                                1        ช้อนชา   วิธีทำ นึ่งมันเทศ เผือก ให้สุก ตั้งกะทิพอเดือด ใส่มันเทศ เผือก ถั่วแดง แผ่นแป้งมันสำปะหลัง ต้มพอเดือด ใส่น้ำตาล เกลือ ต้มให้น้ำตาลละลาย ชิมรส ตักใส่ถ้วยพร้อมรับประทาน  


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ความเป็นมา คนท้องถิ่นมักจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านเพื่อนำมาทำอาหารได้ง่าย พืชที่ปลูกมักจะกินบ่อยๆ เช่น พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ข่ามักจะใช้เหง้าแก่มาดับกลิ่นคาวโดยเฉพาะปลา ต้นข่าอ่อนจะมีลำต้นยาวและเหง้าอ่อน ที่นิยมนำมาทำอาหารทั้งแกงส้มและแกงเผ็ด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่าอ่อนมีรสเผ็ดไม่มาก และมีสรรพคุณเป็นยาที่ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ และยังมีกากใยที่ช่วยขับถ่ายได้ดี เหง้าอ่อน 100 กรัมให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี มีฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม เมื่อนำมาแกงกะทิกับหมูและใส่น้ำพริกแกงจึงให้ทั้งโปรตีนและไขมัน   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่น                             300    กรัม ต้นข่าอ่อนหั่นเป็นชิ้น             100    กรัม น้ำพริกแกง                             ¼       ถ้วย หัวกะทิ                                    1        ถ้วย หางกะทิ                                   2        ถ้วย น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                         2        ช้อนชา   ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกขี้หนู 20-30 เม็ด พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กระเทียมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดงหั่น 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย  3 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น 2 ช้อนชา ขมิ้นหั่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ  2 ช้อนโต๊ะเกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมพริกแกงรวมกันจนละเอียด   วิธีทำ ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่ต้นข่าอ่อน หางกะทิ ต้มไฟอ่อนจนเนื้อข่าอ่อนสุก ปรุงรส ยกลง กินกับผักสดต่างๆ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire