SLider section

แกงฮังเล

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

แกงฮังเล

ความเป็นมา

แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยที่มีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า “ฮิน” ในภาษาพม่า หมายถึง แกง และ “เล” ในภาษาพม่า หมายถึง เนื้อสัตว์ แกงฮังเลหาทานได้ง่ายเพราะได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วภาคเหนือ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ขิงมีสรรพคุณหลากหลาย จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ

 

ส่วนผสม

หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้น            1        กิโลกรัม

ซีอิ๊วดำ                                  1        ช้อนโต๊ะ

กระเทียมปอก                     1/2     ถ้วยตวง

ขิงสดหั่นฝอย                      1/2     ถ้วยตวง

น้ำมะขามเปียก                   1/2     ถ้วยตวง

ผงกะหรี่                                1        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                1/2     ถ้วยตวง

น้ำมัน                                  1/2     ถ้วยตวง

น้ำตาลปี๊บ                           1/2     ถ้วยตวง

น้ำสะอาด                            3        ถ้วยตวง

ส่วนผสมพริกแกง

พริกแห้งหั่นแว่น                  6        เม็ด

กระเทียมซอย                     2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงซอย                      2        ช้อนโต๊ะ

ตะไคร้ซอย                          1        ช้อนโต๊ะ

ข่าซอย                                1        ช้อนชา

เกลือป่น                               1        ช้อนชา

กะปิ                                     2        ช้อนชา

วิธีทำ

ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันให้หอม ใส่หมูสามชั้นหั่นชิ้นลงไปผัดให้เริ่มสุก ใส่กระเทียม เติมน้ำสะอาด ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ซีอิ๊วดำ ผงกะหรี่ คนให้เข้ากันตั้งไฟอ่อนจนเดือด ใส่ขิงสดหั่นฝอยคนให้เข้ากัน ตั้งต่อจนเดือดอีกครั้ง ตักเสิร์ฟ

 

 

ภาค ใต้

ทอดมันปักษ์ใต้

    ความเป็นมา คนใต้ชอบนำมะพร้าวมาทำทั้งอาหารคาวและหวาน นอกจากคั้นกะทิทำแกงแล้ว ยังนำมะพร้าวขูดมาใส่ในอาหารให้มีรสนุ่มและเนื้อหวานเหมือนกับทอดมันเมนูนี้ ที่ผสมไปกับเนื้อหมูและสมุนไพรต่างๆ จนเป็นทอดมันปักษ์ใต้ที่มีลักษณะเฉพาะ   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อมะพร้าวมีใยอาหารสูงมาก เนื้อมะพร้าว 100 กรัมให้พลังงานประมาณ 312 กิโลแคลอรี โดยร้อยละ 90 ของพลังงานมาจากไขมันอิ่มตัวสูง แต่ก็ยังย่อยง่ายและมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการย่อยอาหาร ซึ่งร่างกายดูดซึมไขมันชนิดอื่นๆ ได้ยาก เมนูนี้เมื่อรวมกับเนื้อหมูและสมุนไพรต่างๆ จึงเป็นเมนูที่ย่อยไม่ยาก   ส่วนผสม มะพร้าวขูดขาว                             500    กรัม หมูบด                               300    กรัม พริกขี้หนูแห้ง                      30      เม็ด หอมแดงหั่น                        ½       ถ้วย กระเทียมหั่น                      3        ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น                               1        ช้อนโต๊ะ ขมิ้นหั่น                               3        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                         ½       ถ้วย ใบมะกรูดซอย                     5        ใบ พริกไทยเม็ด                        2        ช้อนชา กะปิ                                       2        ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวเจ้า                            1        ถ้วย น้ำตาลทราย                           1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                                        1        ช้อนชา วิธีทำ ตำพริกขี้หนู เกลือ พริกไทย ให้ละเอียด ใส่ตะไคร้ ขมิ้น หอมแดง กระเทียม ข่า กะปิ ตำรวมกันให้ละเอียด นำไปคลุกกับมะพร้าวและหมูสับ ใส่แป้งคลุกให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดซอย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ปั้นเป็นชิ้นกลม ทอดในน้ำมันร้อนท่วมจนสุก    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

กระดูกหมูอ่อนต้มใบชะมวง

ความเป็นมา ชะมวง หรือ ส้มมวง คำว่า ส้ม มักหมายความว่าต้องมีรสเปรี้ยว คนใต้นำผลและใบแก่ของชะมวงมาหมักทำให้เป็นกรดสำหรับฟอกหนังวัวหนังควายเพื่อแกะเป็นตัวหนังตะลุง รสเปรี้ยวนี้ยังนำมาทำอาหารได้อร่อยทั้งแกงส้ม ต้มส้ม และแกงน้ำใสอย่างกระดูกหมูอ่อนต้มใบชะมวง   คุณค่าทางโภชนาการ ใบชะมวงมีสีเขียวและรสเปรี้ยว สีเขียวเป็นบ่อเกิดของเบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 แร่ธาตุอีกมากมาย รวมทั้งแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส รสเปรี้ยวมีวิตามินซีซึ่งจะทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น จะส่งผลให้มีเม็ดเลือดแดงมากพอในการลำเลียงออกซิเจนไปให้เซลล์เล็กๆ ในร่างกาย ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงไม่แตกง่าย และยังช่วยให้เหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามไรฟันอีกด้วย   ส่วนผสม กระดูกหมูอ่อน 500 กรัม ใบชะมวงฉีกเอาก้านใบออก  80 กรัม (อัดแน่น) หอมแดงบุบ  40 กรัม กระเทียมบุบ  10 กรัม น้ำสะอาด  5 ถ้วย เกลือ  1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ต้มกระดูกหมูอ่อนในน้ำสะอาด ใส่เกลือ กระเทียม และหอมแดงจนสุก และกระดูกหมูอ่อนนุ่ม จากนั้นจึงใส่ใบชะมวง ต้มจนใบชะมวงสุก ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire