SLider section

แกงหมูใบชะมวง

ภาค กลาง

  • recipe image cover

แกงหมูใบชะมวง

ความเป็นมา

แกงน้ำขลุกขลิกที่ไม่ใส่กะทิแต่ต้องใช้เนื้อหมูติดมันอย่างหมู 3 ชั้นจึงจะอร่อย การกินเนื้อหมูเป็นวัฒนธรรมของจีนที่ไทยได้รับมาตั้งแต่อดีตเมื่อชาวจีนอพยพเข้ามา และมีการผสมผสานใช้ผักพื้นบ้านไทยโดยเฉพาะใบชะมวงมาปรุงเพื่อให้มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรี

คุณค่าทางโภชนาการ

ใบชะมวงมีสรรพคุณที่สำคัญคือ ให้รสเปรี้ยว มีสารอาหาร เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 และแร่ธาตุอีกมากมายรวมถึงแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส เมื่อกินพร้อมเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงร่วมกันร่างกายจะสามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ใบ ยอดอ่อน และผลของชะมวงยังจัดเป็นยาโบราณที่ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ ฟอกเสมหะ ไอ กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ อีกด้วย

ส่วนผสมเครื่องแกง

พริกไทยเม็ด                              1     ช้อนโต๊ะ

ข่าหั่นบาง                                 15   กรัม

หอมแดง                                   2     ช้อนโต๊ะ

กระเทียม                                   2     ช้อนโต๊ะ

รากผักชีหั่น                               2     ช้อนชา

พริกชี้ฟ้าแห้งกรีดเม็ดออก            15   กรัม

กะปิเผา                                     1     ช้อนชา

ส่วนผสมแกงหมูชะมวง

หมูสามชั้นเนื้อมากติดมันน้อย       500 กรัม

หรือเนื้อหมูส่วนติดมัน หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมใหญ่

ใบชะมวงใบไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป    80   กรัม

น้ำมัน                                       1     ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด                                  4     ถ้วย

น้ำปลา                                     3     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 3     ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

หั่นใบชะมวงเป็นครึ่งส่วนพักไว้ ปั่นหรือตำเครื่องแกงให้ละเอียด นำเครื่องแกงไปผัดกับน้ำมัน และเนื้อหมู เติมน้ำสะอาดต้มจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบชะมวงลงไปคนให้เข้ากัน ต้มต่อไปจนน้ำงวดลง และใบชะมวงอ่อนนุ่ม ตักขึ้นเสิร์ฟ

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

น้ำพริกตาแดง

    ความเป็นมา น้ำพริกตาแดงของภาคเหนือสมัยก่อนนิยมใส่ถั่วเน่าแข็งลงไปด้วย แต่ปัจจุบันหาถั่วเน่าได้ยากจึงไม่ได้ใส่ น้ำพริกตาแดงจะมีลักษณะข้นเหนียว เหมาะกับใช้ข้าวเหนียวจิ้มทานคู่กับผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ น้ำพริกตาแดงมีสรรพคุณจากกระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ พริกแห้งช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดเสมหะ ขับปัสสาวะ และยังช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย   ส่วนผสม พริกแห้งเม็ดใหญ่                       ½       ถ้วย กระเทียม                                    60      กรัม หอมแดง                                     60      กรัม กะปิ                                            1        ช้อนโต๊ะ ปลาแห้ง                                     2        ถ้วย น้ำตาลปี๊บ                                   4        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                        ¼       ถ้วย มะขามเปียกแกะเม็ดออกสับละเอียด   ¼       ถ้วย   วิธีทำ โขลกพริกแห้งให้ละเอียด ใส่กระเทียม หัวหอม กะปิ โขลกต่อไปพอแหลกแล้วจึงใส่ปลาแห้ง มะขามเปียกสับละเอียด โขลกให้เข้ากันดีพร้อมปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา ตั้งกระทะใส่น้ำมันเมื่อน้ำมันร้อนจัดตักน้ำพริกลงผัดให้หอมใช้ไฟอ่อน ผัดจนทั่วกันดี ตักขึ้นเสิร์ฟพร้อมผักสด      


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ผัดเปรี้ยวหวานกุ้งหมู

    ความเป็นมา ผัดเปรี้ยวหวานเป็นอาหารที่ทั้งชาวไทยและชาวจีนนิยมกัน ชาวจีนมักจะผัดผักปรุงรสให้เปรี้ยวหวานและนำมาราดปลาทอด แต่สำหรับชาวไทยจะผัดกับกุ้งและหมู จุดเด่นของอาหารจานนี้คือ ต้องปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวในอาหารจีน และต้องปรุงรสหวานจากน้ำตาลทรายเท่านั้น   คุณค่าทางโภชนาการ รสเปรี้ยวและหวานทำให้กินอาหารจานนี้ได้อร่อยขึ้น หมูและกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีหอมหัวใหญ่เมื่อกินสดจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่ไม่ว่าจะกินดิบหรือสุกสามารถช่วยต้านผลร้ายของอาหารมันๆ ที่มีต่อเลือดได้ เพราะมีสารช่วยป้องกันเลือดแข็งตัว และอาจเพิ่มอัตราเร่งการสลายตัวของลิ่มเลือดได้   ส่วนผสม เนื้อหมู กุ้ง รวมกัน               120    กรัม กระเทียมบุบ                        5        กรัม น้ำซุปประมาณ                     1        ถ้วย แตงกวาหั่นชิ้นใหญ่             80      กรัม หอมหัวใหญ่                        80      กรัม พริกหยวกหรือพริกหวาน     50      กรัม ต้นหอมหั่นเป็นชิ้นยาว           20      กรัม น้ำส้มสายชู                             3        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                     2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2        ช้อนโต๊ะ แป้งมันสำปะหลังใส่น้ำเล็กน้อย วิธีทำ ใส่น้ำมันในกระทะ พอร้อน เจียวกระเทียมให้หอม ใส่กุ้ง และหมูรวนพอสุกใส่แตงกวา หอมหัวใหญ่ พริกหยวก ผัดพอเข้ากัน ใส่น้ำซุป ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลา พอเดือดใส่แป้งมันผสมน้ำ ผัดให้พอข้นเหนียว ใส่ต้นหอม ตักใส่จานเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire