SLider section

แกงหมูใบชะมวง

ภาค กลาง

  • recipe image cover

แกงหมูใบชะมวง

ความเป็นมา

แกงน้ำขลุกขลิกที่ไม่ใส่กะทิแต่ต้องใช้เนื้อหมูติดมันอย่างหมู 3 ชั้นจึงจะอร่อย การกินเนื้อหมูเป็นวัฒนธรรมของจีนที่ไทยได้รับมาตั้งแต่อดีตเมื่อชาวจีนอพยพเข้ามา และมีการผสมผสานใช้ผักพื้นบ้านไทยโดยเฉพาะใบชะมวงมาปรุงเพื่อให้มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรี

คุณค่าทางโภชนาการ

ใบชะมวงมีสรรพคุณที่สำคัญคือ ให้รสเปรี้ยว มีสารอาหาร เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 และแร่ธาตุอีกมากมายรวมถึงแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส เมื่อกินพร้อมเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงร่วมกันร่างกายจะสามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ใบ ยอดอ่อน และผลของชะมวงยังจัดเป็นยาโบราณที่ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ ฟอกเสมหะ ไอ กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ อีกด้วย

ส่วนผสมเครื่องแกง

พริกไทยเม็ด                              1     ช้อนโต๊ะ

ข่าหั่นบาง                                 15   กรัม

หอมแดง                                   2     ช้อนโต๊ะ

กระเทียม                                   2     ช้อนโต๊ะ

รากผักชีหั่น                               2     ช้อนชา

พริกชี้ฟ้าแห้งกรีดเม็ดออก            15   กรัม

กะปิเผา                                     1     ช้อนชา

ส่วนผสมแกงหมูชะมวง

หมูสามชั้นเนื้อมากติดมันน้อย       500 กรัม

หรือเนื้อหมูส่วนติดมัน หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมใหญ่

ใบชะมวงใบไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป    80   กรัม

น้ำมัน                                       1     ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด                                  4     ถ้วย

น้ำปลา                                     3     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 3     ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

หั่นใบชะมวงเป็นครึ่งส่วนพักไว้ ปั่นหรือตำเครื่องแกงให้ละเอียด นำเครื่องแกงไปผัดกับน้ำมัน และเนื้อหมู เติมน้ำสะอาดต้มจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบชะมวงลงไปคนให้เข้ากัน ต้มต่อไปจนน้ำงวดลง และใบชะมวงอ่อนนุ่ม ตักขึ้นเสิร์ฟ

ภาค อีสาน

ส้มตำลาว

ความเป็นมา ส้มตำลาว คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาว ซึ่งแตกต่างออกไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาร้าและมะละกอดิบเป็นหลัก ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เพราะแต่เดิมเรียกตำลาวว่า “ตำหมากหุ่ง”   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำลาว มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอล   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น              120    กรัม มะเขือเทศสีดา                    30      กรัม มะกอกสุก                             10      กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน          25      กรัม พริกขี้หนูสด                         8        เม็ด กระเทียม                              5        กรัม น้ำมะนาว                              1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                  1/2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                   1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันชิมรสตามชอบ ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมผักสด


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงกระด้าง

ความเป็นมา แกงกระด้าง หรือ แกงหมูกระด้าง นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย  แกงกระด้างมี 2 สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู   คุณค่าทางโภชนาการ ขาหมูมีโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนั้นส่วนผสมเครื่องปรุงต่างๆยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ   ส่วนผสม ขาหมู (ไม่เอากระดูก)                     1        กิโลกรัม หอมแดง                                         30      กรัม กระเทียม                                        20      กรัม พริกไทยป่น                                    1        ช้อนชา รากผักชี หั่นละเอียด                      2        ช้อนชา เกลือ                                               1        ช้อนชา น้ำปลา                                            2        ช้อนโต๊ะ ผักชีหั่นฝอย                                   2        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ล้างเนื้อขาหมูให้สะอาด จากนั้นนำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนสุกนุ่ม โขลกกระเทียม พริกไทย รากผักชีให้ละเอียดใส่ลงในหม้อต้มขาหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา ชิมรส จากนั้นเทใส่ถาดนำไปแช่ตู้เย็นจนเซ็ทตัว ตัดเสิร์ฟโรยหน้าด้วยผักชีหั่นฝอย


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

แกงเผ็ดไก่

ความเป็นมา คนไทยเริ่มใช้กะทิในการทำอาหารโดยดัดแปลงมาจากการใช้นมของพวกอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในสมัยอยุธยา แต่เดิมคนไทยมีแต่แกงน้ำใส และมีน้ำพริกแกงที่ใช้สมุนไพรสดมาตำรวมกันเพื่อให้แกงมีรสชาติเข้มข้นขึ้น เมื่อนำเอากะทิมาใช้ผสมในน้ำแกง และใส่สมุนไพรอย่างใบโหระพาเพื่อให้มีกลิ่นสดชื่น จึงทำให้กลายเป็นแกงที่มีรสชาติกลมกล่อมน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการ แม้แกงไก่จะใช้กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งอาจจะมีปัญหากับคอเลสเตอรอล แต่ก็มีสมุนไพรจากพริกแกงโดยเฉพาะพริกที่มีรสเผ็ดเพราะมีสารแคปไซซินช่วยขยายช่องจมูกให้ใหญ่ขึ้น จึงช่วยขับเสมหะ และลดการอุดตันของหลอดเลือด มะเขือพวงมีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยในการย่อยอาหาร มะเขือเปราะที่มีกากใยที่ช่วยระบายท้อง ใบโหระพาที่มีเบต้าแคโรทีนสูง โหระพา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 452.16 ไมโครกรัม แกงเผ็ดไก่จึงไม่ได้เป็นอาหารที่มีไขมันสูงอย่างที่หลายคนกลัว ถ้าเรากินอย่างพอเหมาะ ส่วนผสม กะทิ                                         4     ถ้วย เนื้อไก่                                      300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย มะเขือเปราะ                              100 กรัม มะเขือพวง                                 20   กรัม ใบโหระพา                                50   กรัม พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ                      10   กรัม น้ำปลา น้ำตาลเล็กน้อย ส่วนผสมน้ำพริกแกงแดง พริกแห้ง 9 เม็ด กรีดเม็ดออกและแช่น้ำจนนุ่ม ตะไคร้ซอยบาง ¼ ถ้วย หอมแดงซอย  ¼ ถ้วย กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นฝอย 1 ช้อนชา รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว 4 ช้อนชา ยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด วิธีทำ    ผัดเครื่องแกงกับกะทิเล็กน้อยจนหอม ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้ผิวด้านนอกสุกขาว จากนั้นในกะทิลงไป เติมน้ำสะอาดเล็กน้อยต้มจนเริ่มเดือดและกะทิแตกมัน ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล ชิมรส เมื่อต้องการเสิร์ฟให้ใส่ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ  


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire