SLider section

ยำผักกูดกุ้งสด

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ยำผักกูดกุ้งสด

ความเป็นมา

ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านที่มีต้นคล้ายกับเฟิร์น ลำต้นยาว ยอดงอม้วน ขึ้นตามชายป่าริมน้ำ ซึ่งเป็นภูมิประเทศของแถบทางใต้ ถ้าขึ้นที่ใดแสดงว่าบริเวณนั้นดินดีไม่มีสารปนเปื้อน ชาวบ้านช่างสังเกตเก็บผักนี้มาทำอาหารได้ทั้งลวกจิ้มน้ำพริก ผัด ยำ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกูดเป็นผักรสจืดอมหวานนิดๆ ทั้งใบและต้นสีเขียวมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก ซึ่งจะช่วยบำรุงร่างกายโดยเฉพาะสายตาได้อย่างดี และที่ชาญฉลาดกว่านั้นเบต้าแคโรทีนจะดูดซึมได้ดีเมื่อมีไขมันร่วมด้วย การราดกะทิลงในยำจานนี้จึงทำให้ได้คุณค่าอาหารอย่างเต็มเปี่ยม

 

ส่วนผสม

ผักกูดเด็ดยาว 1 นิ้ว ลวก        100 กรัม

กุ้งสดลวก                               80   กรัม

หัวกะทิ                                    ½    ถ้วย

ถั่วลิสงบุบหยาบ                      ¼    ถ้วย

หอมแดงซอย                           ½    ถ้วย

มะพร้าวคั่ว                                ¼    ถ้วย

กุ้งแห้งตำ                                  ¼    ถ้วย

พริกขี้หนูซอย                            5     กรัม

น้ำมะนาว                                    2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย                                2     ช้อนโต๊ะ

เกลือ                                             1     ช้อนชา

วิธีทำ

ผสมน้ำมะนาว น้ำตาลทราย เกลือ ให้เข้ากัน จากนั้นจึงใส่ส่วนผสมอื่นๆ ยกเว้นกะทิลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เมื่อจะเสิร์ฟจึงราดกะทิบนหน้า ก่อนรับประทานคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง

ภาค กลาง

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   คุณค่าทางโภชนาการ จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย   ส่วนผสม กะทิ                                         2     ถ้วย เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                                  5     กรัม วิธีทำ ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ห่อนึ่งไก่

  ความเป็นมา ห่อนึ่งไก่ คืออาหารที่นำไก่ผัดกับพริกแกงเพื่อเพิ่มรสชาติ จากนั้นนำไปห่อกับใบตองแล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง จะได้ไก่ที่มีรสชาติเข้มข้น   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อไก่สามารถหาทานได้ทั่วไป มีโปรตีนที่มีประโยชน์ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย อีกทั้งส่วนผสมพริกแกงยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน               500    กรัม ข้าวคั่ว                        ½       ถ้วย ใบมะกรูด                 5        กรัม ผักชีซอย                  1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย              1        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง            20      เม็ด หอมแดง                30      กรัม กระเทียม               15      กรัม ข่าหั่น                     1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย            1        ช้อนโต๊ะ ขมิ้น                       5        กรัม กะปิ                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                      1        ช้อนชา วิธีทำ   โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันพืชให้หอม ใส่ไก่ลงผัดจนสุกเติมน้ำ ต้มจนเดือด ตักไก่ใส่ชาม ใส่ข้าวคั่ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดและผักชีต้นหอม คลุกเคล้าให้เข้ากันตักส่วนผสมใส่บนใบตอง กลัดใบตองนำลงนึ่ง      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ความเป็นมา คนท้องถิ่นมักจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านเพื่อนำมาทำอาหารได้ง่าย พืชที่ปลูกมักจะกินบ่อยๆ เช่น พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ข่ามักจะใช้เหง้าแก่มาดับกลิ่นคาวโดยเฉพาะปลา ต้นข่าอ่อนจะมีลำต้นยาวและเหง้าอ่อน ที่นิยมนำมาทำอาหารทั้งแกงส้มและแกงเผ็ด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่าอ่อนมีรสเผ็ดไม่มาก และมีสรรพคุณเป็นยาที่ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ และยังมีกากใยที่ช่วยขับถ่ายได้ดี เหง้าอ่อน 100 กรัมให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี มีฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม เมื่อนำมาแกงกะทิกับหมูและใส่น้ำพริกแกงจึงให้ทั้งโปรตีนและไขมัน   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่น                             300    กรัม ต้นข่าอ่อนหั่นเป็นชิ้น             100    กรัม น้ำพริกแกง                             ¼       ถ้วย หัวกะทิ                                    1        ถ้วย หางกะทิ                                   2        ถ้วย น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                         2        ช้อนชา   ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกขี้หนู 20-30 เม็ด พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กระเทียมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดงหั่น 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย  3 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น 2 ช้อนชา ขมิ้นหั่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ  2 ช้อนโต๊ะเกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมพริกแกงรวมกันจนละเอียด   วิธีทำ ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่ต้นข่าอ่อน หางกะทิ ต้มไฟอ่อนจนเนื้อข่าอ่อนสุก ปรุงรส ยกลง กินกับผักสดต่างๆ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire