SLider section

มะม่วงเบาแช่อิ่ม

ภาค ใต้

  • recipe image cover

มะม่วงเบาแช่อิ่ม

 

ความเป็นมา

มะม่วงเบาเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองของทางใต้ ผลมีขนาดเล็กเท่ากับไข่ไก่ใบเล็ก เมื่อดิบรสจะเปรี้ยวจี๊ด เนื้อกรอบ ไม่มีกลิ่นฉุน คนใต้นิยมนำไปทำอาหารให้รสเปรี้ยวหลากหลาย เช่น นำไปตำน้ำพริกเป็นน้ำพริกมะม่วงเบา แต่ที่นิยมมากที่สุดคือนำไปแช่อิ่ม

 

คุณค่าทางโภชนาการ

มะม่วงเบามีรสเปรี้ยวเป็นแหล่งของวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้อย่างดี ช่วยสร้างสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เส้นผม ฟัน เหงือก และกระดูกสมบูรณ์แข็งแรง เมนูนี้นำมาแช่อิ่ม

โดยใส่ในน้ำเชื่อมเพื่อให้ซึมเข้าเนื้อ มะม่วงจึงมีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ กินแล้วช่วยให้สดชื่นมาก

แต่ถ้ากินมากไปจะได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นที่จะทำให้ให้อ้วนได้

 

ส่วนผสม

มะม่วงเบา                         50      ผล

น้ำปูนใส                            1        ถ้วย

เกลือ                                ½       ถ้วย

น้ำตาลทราย                       1        กก.

น้ำสะอาด                          3        ถ้วย

วิธีทำ

ปอกเปลือกมะม่วง ผ่าลูกละ 2-4 ชิ้น แช่ในน้ำสะอาดให้มะม่วงจม ใส่น้ำปูนใส ใส่เกลือ แช่ทิ้งไว้ 2 คืน คนให้ทั่ววันละ 2-3 ครั้งตักมะม่วงขึ้นพักไว้ ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลกับน้ำใส่เกลือ ตั้งไฟจนข้น พักไว้ให้เย็น เทใส่ในมะม่วงปิดฝาพักไว้ 2 คืน นำมาคนวันละ 2 ครั้ง ชิมดูจะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน นำเข้าตู้เย็น มะม่วงจะ กรอบอร่อยขึ้น

 

 

ภาค เหนือ

ตำส้มโอน้ำปู

    ความเป็นมา ตำส้มโอ หรือตำบ่าโอ คือการนำส้มโอมาผสมรวมกับพริกแกงเพื่อเพิ่มรสชาติ ชาวล้านนานิยมใส่น้ำปูเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยถูกปาก   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มโอช่วยขับสารพิษในร่างกายได้ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งมะเขือเปราะช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยในการขับถ่าย   ส่วนผสม ส้มโอ                        200    กรัม พริกขี้หนู                   5        กรัม กระเทียม                   5        กรัม มะเขือเปราะซอย       40      กรัม ตะไคร้ซอย               2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปู                         ½       ช้อนชา   วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนู พอแหลก ใส่ปลาร้า น้ำตาลปี๊บ น้ำปู โขลกให้เข้ากันใส่ส้มโอลงโขลกเบาๆ ใส่ตะไคร้ซอย มะเขือเปราะซอยคลุกเคล้าให้เข้ากันจัดใส่จานทานคู่กับผักสด      


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

กุ้งเต้น

ความเป็นมา กุ้งฝอยที่นำมาทำกุ้งเต้นสามารถหาทานได้ทั่วไปในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่นิยมรับประทานกันในภาคอีสานและภาคเหนือ แต่สูตรจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แม้บางครั้งจะไม่เป็นที่ยอมรับกันมากเท่าใดนัก เนื่องจากวิธีการปรุงนั้นพิสดารกว่าปกติทั่วไป   คุณค่าทางโภชนาการ กุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นแหล่งรวมของโปรตีนและแคลเซียม  นอกจากนั้นยังมีหอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและบำรุงหัวใจผักชีฝรั่ง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม กุ้งฝอยเป็นๆ                  200    กรัม น้ำมะนาว                        2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1½     ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว                             2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                 30      กรัม พริกป่น                            1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย                  30      กรัม ต้นหอมซอย                   20      กรัม   วิธีทำ ล้างกุ้งฝอย พักในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำใส่กุ้งฝอยลงในอ่างผสม ใส่น้ำมะนาว น้ำปลา ข้าวคั่ว หอมแดง และพริกป่น เคล้าให้เข้ากัน ใส่ผักชีฝรั่งและต้นหอม เคล้าให้เข้ากันทั่ว ตักใส่จานเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงคั่วผักกูดกับกุ้ง

ความเป็นมา แกงคั่วใช้น้ำพริกแกงเผ็ดที่ไม่ใส่เครื่องเทศอย่างลูกผักชี ยี่หร่า เป็นแกงพื้นบ้านที่ใช้น้ำพริก แกงแดงทั่วไป แต่แกงคั่วทางใต้ไม่นิยมรสหวานหรือ 3 รสเหมือนทางภาคกลาง จึงได้รสหวานอร่อยตามธรรมชาติจากกะทิและกุ้งที่ทำกินกันง่ายๆ ทั่วไป   คุณค่าทางโภชนาการ ผักกูดจัดเป็นเฟิร์นที่กินได้ ขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ดีและไม่มีสารเคมี จึงจัดเป็นผักปลอดสารพิษตามธรรมชาติที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เมื่อนำไปแกงกับกะทิที่มีไขมันจึงช่วยดึงวิตามินเอได้อย่างดี ช่วยแก้ดวงตาฝ้าฟางและทำให้แข็งแรง   ส่วนผสม กุ้งสดปอกเปลือก                  200    กรัม ผักกูดเด็ดเป็นชิ้นยาว             150    กรัม กะทิ                                         2        ถ้วย น้ำพริกแกงคั่ว                         3        ช้อนโต๊ะ เกลือเล็กน้อย   วิธีทำ ตั้งกะทิพอเดือดใส่น้ำพริกแกงคนให้ละลาย รอกะทิแตกมันเล็กน้อยใส่กุ้ง พอเดือดใส่ผักกูดลงไป ปรุงรสด้วยเกลือ ต้มจนผักสุกตักเสิร์ฟร้อนๆ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire