SLider section

ตำจิ้นแห้ง

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ตำจิ้นแห้ง

 

 

ความเป็นมา

จิ๊นแห้ง คือเนื้อวัวแห้งหรือเนื้อวัวย่าง เป็นการถนอมอาหารประเภทเนื้อวัวให้สามารถเก็บไว้ได้นานๆ ตำจิ๊นแห้งก็คือการโขลกพริกแกงกับเนื้อแห้งเพื่อให้มีรสชาติมากยิ่งขึ้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ในส่วนผสมของตำจิ๊นแห้งมีสรรพคุณต่างๆ เช่น  กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ

 

ส่วนผสม

เนื้อวัวแห้ง                100    กรัม

ผักชีซอย                  1        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมซอย              1        ช้อนโต๊ะ

กระเทียมสับ              1        ช้อนโต๊ะ

น้ำมันพืช                   2        ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมพริกแกง

พริกขี้หนูแห้ง            15      เม็ด

กระเทียม                  15      กรัม

หอมแดง                  40      กรัม

ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                         1        ช้อนชา

 

วิธีทำ

โขลกพริก หอมแดง กระเทียม ข่า และเกลือให้ละเอียด ใส่เนื้อวัวแห้งลงโขลกรวมกับเครื่องพริกแกงที่โขลกไว้ให้เข้ากัน พักไว้ เจียวกระเทียมกับน้ำมันพืช ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ผัดให้เข้ากัน ตักใส่ชาม โรยด้วยผักชีต้นหอม

 

 

 

ภาค ใต้

แกงปูใบชะพลู

ความเป็นมา แกงปูใบชะพลู หรือน้ำยาปู คล้ายกับน้ำยาของภาคกลางที่กินกับขนมจีน ทางใต้มีอาหารทะเลมากจึงใช้เนื้อปูมาทำ ถ้าเป็นจังหวัดภูเก็ตจะใช้ปูสับเป็นชิ้น แต่ในบางจังหวัดใส่เฉพาะเนื้อปู ส่วนพริกแกงมีรสเข้มข้นตามความนิยมของคนใต้และใส่ขมิ้น น้ำแกงจึงมีสีเหลืองสวย รสชาติเข้มข้น โดยทั่วไปจะกินกับขนมจีน แต่ที่ภูเก็ตจะกินกับเส้นหมี่ หรือเรียกว่า “หมี่หุ้น” ซึ่งน่าจะเป็นอิทธิพลของชาวจีนที่อาศัยอยู่มากในภูเก็ต   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปูเป็นอาหารทะเลที่มีโพแทสเซียมและสังกะสีอยู่สูง โพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิต และทำให้หัวใจเต้นปกติ ส่วนสังกะสีมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ในเนื้อปูต้ม 100 กรัมมีโปรตีน 19.5 กรัม ส่วนใบชะพลูมีวิตามิน แคลเซียม และเบต้าแคโรทีนค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ได้ดีเพราะมีไขมันจากกะทิมาช่วยดูดซึม   ส่วนผสม ปูทะเลนึ่งหรือเนื้อปูนึ่งสุก       1     ถ้วย น้ำพริกแกง                   2     ช้อนโต๊ะ กะทิ                      1 1/2      ถ้วย น้ำตาลปี๊บ                    1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                        2     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                     2     ใบ ใบชะพลูซอย                80   กรัม ขนมจีนหรือเส้นหมี่        100 กรัม ส่วนผสมน้ำพริกแกง  พริกชี้ฟ้าแห้ง 7 เม็ด พริกขี้หนูแห้ง 5 เม็ด (ตามชอบ) พริกขี้หนูสด 5-10 เม็ด พริกไทยขาว 1 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่นแว่น 1 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้หั่นแว่น 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูด 1 ช้อนชา ขมิ้นหั่นแว่น 1 ช้อนโต๊ะ หอมแดง 2 ช้อนโต๊ะ กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือทะเล 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างให้เข้ากันและละเอียด


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

วุ้นกะทิ

    ความเป็นมา วุ้นเป็นขนมหวานของไทยที่หากินได้ทั่วไป เนื้อวุ้นจะคล้ายกับเยลลี่ของฝรั่ง แตกต่างกันที่เนื้อสัมผัสของวุ้นจะแข็งและกรอบกว่า คนไทยนำกะทิมาผสมกับผงวุ้นเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อให้มีรสเค็มมัน ทำเป็นหน้าของวุ้นตัดกับรสหวานของเนื้อวุ้นที่ใส่เฉพาะน้ำตาล ทำให้กินได้อร่อยไม่เลี่ยน และใส่สลับชั้นให้ดูสวยงาม   คุณค่าทางโภชนาการ วุ้นเป็นสารสกัดมาจากสาหร่ายที่เรียกว่า “อาการ์” มีคุณสมบัติทำให้เนื้อขนมแข็ง สาหร่ายมีธาตุไอโอดีน แต่เมื่อเทียบกับน้ำตาลและกะทิที่เป็นส่วนผสมของวุ้นกะทิซึ่งมีมากกว่าวุ้น จึงควรบริโภคแต่พอเหมาะ แม้ว่าวุ้นกะทิปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 133 กิโลแคลอรี แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินไป   ส่วนผสมตัววุ้น วุ้นผง                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำลอยดอกมะลิ                  2 1/4  ถ้วย น้ำตาลทราย                       1/2     ถ้วย น้ำใบเตย (ตำและคั้นน้ำ )หรือสีผสมอาหารสีตามชอบ   ส่วนผสมหน้ากะทิ ผงวุ้น                                 1        ช้อนโต๊ะ หัวกะทิ                              2 ¼    ถ้วย น้ำตาลทราย                       ¼       ถ้วย เกลือป่น                             2        ช้อนชา   วิธีทำ ผสมผงวุ้น น้ำลอยดอกมะลิ เกลือ ตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลายหมด ก่อนยกขึ้นใส่น้ำใบเตยให้มีสีสวยตามชอบ ตักใส่พิมพ์ นำส่วนผสมหัวกะทิตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลาย ตักหยอดหน้าตัววุ้น


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

แกงเลียง

ความเป็นมา แกงเลียงเป็นแกงน้ำใสที่มีรสเผ็ดร้อนจากพริกไทย จึงน่าจะเป็นแกงโบราณของไทยก่อนที่ไทยจะได้รับอิทธิพลของพริกมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้าในสมัยอยุธยา ผักที่ใช้เป็นผักพื้นบ้านที่ปลูกริมรั้วทั้งหมด เช่น ฟักทอง บวบ ตำลึง ใบแมงลัก และใส่กุ้งแห้งเพื่อให้มีรสหวานอร่อย คุณค่าทางโภชนาการ แกงเลียงจัดเป็นอาหารสุขภาพที่มีรสเผ็ดร้อนจากพริกไทย ที่ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ฟักทองมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา ตำลึงมีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ บวบมีใยอาหารสูงและช่วยบำรุงน้ำนม ใบแมงลักมีธาตุเหล็กสูง ช่วยบรรเทาอาการหวัด และแก้วิงเวียนศีรษะ โปรตีนได้จากกุ้งแห้งและเนื้อกุ้งสด ส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียง กุ้งแห้งตำละเอียด                       ½    ถ้วย หอมแดงซอย                             ¼    ถ้วย พริกไทยเม็ด                              1     ช้อนโต๊ะ กะปิ                                          1     ช้อนชา ส่วนผสม กุ้งสดแกะเปลือก                         200 กรัม ฟักทองหั่นชิ้นใหญ่                     300 กรัม บวบหั่นชิ้นใหญ่                         300 กรัม ใบตำลึง                                    1     ถ้วย ข้าวโพดอ่อนหั่น                         100 กรัม ใบแมงลัก                                  1     ถ้วย น้ำปลา วิธีทำ ปั่นหรือตำส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียงให้เข้ากัน นำไปละลายในน้ำทีละน้อยให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นเติมน้ำซุป หรือน้ำสะอาด ขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน และบวบต้มให้สุกนุ่ม ใส่กุ้งสด


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire