SLider section

ข้าวหมูแดง

ภาค กลาง

  • recipe image cover
  • recipe image cover

ข้าวหมูแดง

ความเป็นมา

หมูแดงเป็นอาหารที่ไทยรับมาจากจีนซึ่งเป็นอาหารประเภทย่างหรือบาร์บีคิวชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปคนจีนจะนิยมกินกับข้าว แต่การกินเป็นอาหารจานเดียวโดยหั่นหมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง ไข่ต้ม วางบนหน้าข้าวและราดด้วยน้ำหมูแดงกินกับต้นหอม น่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบการกินตามลักษณะของคนไทยในภายหลัง

 

คุณค่าทางโภชนา

หมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูง เนื้อหมู 100 กรัม มีโปรตีน 13.9 กรัม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงที่นำสารอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในทางการแพทย์จีนเชื่อว่าโปรตีนและไขมันจากหมูจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

 

ส่วนผสม

หมูสันใน                                   500 กรัม

รากผักชีบุบ                               50   กรัม

กระเทียมบุบ                              30   กรัม

ผงพะโล้                                    1     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย                             2     ช้อนโต๊ะ

ซีอิ๊วขาว                                    2     ช้อนโต๊ะ

ซีอิ๊วดำ                                      1     ช้อนชา

พริกไทยป่น                              1     ช้อนชา

สีผสมอาหารสีแดง                   1     ช้อนโต๊ะ

 

ส่วนผสมน้ำราดหมูแดง น้ำซุปกระดูกหมู 1 ½ ถ้วย ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายแดง 4 ช้อนโต๊ะ น้ำที่เหลือจากการหมักหมู น้ำที่ได้จากการย่างหมู งาคั่วบุบ 4 ช้อนโต๊ะ แป้งมันสำปะหลัง  3 ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย)

 

วิธีทำ

หมักหมูด้วยส่วนผสมทั้งหมดพักไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปย่างด้วยไฟอ่อนจนสุก หรือสามารถใช้วิธีอบด้วยถังหรือเตาอบก็ได้ หมั่นทาหมูในระหว่างย่างด้วยน้ำหมักหมูจะทำให้หมูยังคงมีความชุ่มชื้น น้ำหมักหมูสามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการทำน้ำราดหมูแดงได้ต่ออีกด้วย

ภาค เหนือ

แกงหอยขม

ความเป็นมา หอยขมเป็นหอยน้ำจืดขนาดเล็ก มีเปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ นิยมนำมาแกง เพื่อให้ได้รสชาติจากน้ำแกงข้นๆที่เข้าไปถึงตัวเนื้อหอย   คุณค่าทางโภชนาการ หอยขมมีโปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีคุณค่าทางโภชนาการจากส่วนผสมต่างๆ เช่น ตะไคร้ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร  กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม หอยขม                    500          กรัม น้ำปลา                          2        ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่วโขลก                 4        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูบุบ                  5        กรัม ผักชีฝรั่งหั่นเป็นท่อน    30      กรัม ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                  5        เม็ด เกลือป่น                  1        ช้อนชา ตะไคร้ซอย             1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย         2       ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย          3       ช้อนโต๊ะ กะปิ                          1       ช้อนชา ปลาร้าสับ                 1       ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ล้างหอยขมให้สะอาดพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นปั่นหรือตำพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันเล็กน้อยให้หอม ใส่หอยขมลงไปผัดให้พริกแกงเคลือบหอย เติมน้ำสะอาดพอท่วม ต้มต่อจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่พริกขี้หนู และข้าวคั่วโขลก และผักชีฝรั่ง คนให้ทั่วพอเดือดอีกครั้งตักขึ้น จะได้แกงที่มีลักษณะน้ำขลุกขลิก เสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

หมูผัดกะปิ

ความเป็นมา จานนี้เป็นอาหารธรรมดาหาทานง่ายที่ใช้เนื้อสัตว์อย่างหมูมาผัดกับกะปิ เครื่องปรุงติดครัวที่มีกันทุกบ้านมาผัดรวมกัน เพิ่มรสชาติให้อร่อยด้วยรสหวานนิดๆ จากน้ำตาลปี๊บ แต่ยังต้องมีรสเค็มและกลิ่นที่หอมกะปิ อีกทั้งยังต้องใส่สะตอซึ่งถือเป็นผักประจำถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของทางใต้   คุณค่าทางโภชนาการ หมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนและไขมันสูง อีกทั้งกะปิต้องใช้มากและผัดจนเคลือบชิ้นหมู สะตอเนื้อนุ่มกรอบ รสมัน กลิ่นรุนแรง ต่างก็ให้โปรตีนสูง และจะยิ่งได้สารอาหารสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเมื่อกินร่วมกับเนื้อสัตว์ ถือได้ว่าเป็นกับข้าวที่อุดมไปด้วยโปรตีนอีกจานหนึ่ง   ส่วนผสม สันคอหมูหั่นบาง            500 กรัม กะปิ                               ½    ถ้วย กระเทียม                      1/4  ถ้วย น้ำตาลปี๊บ                    3     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูสวน               1     ช้อนโต๊ะ สะตอ                           1     ถ้วย   วิธีทำ ผัดกะปิ และกระเทียมกับน้ำมันพืชเล็กน้อยให้พอมีกลิ่นหอม ใส่หมูผัดให้พอสุก ใส่สะตอ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ใส่พริกขี้หนู ผัดเร็วๆ ให้สุกทั่ว ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

แกงเผ็ดไก่

ความเป็นมา คนไทยเริ่มใช้กะทิในการทำอาหารโดยดัดแปลงมาจากการใช้นมของพวกอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในสมัยอยุธยา แต่เดิมคนไทยมีแต่แกงน้ำใส และมีน้ำพริกแกงที่ใช้สมุนไพรสดมาตำรวมกันเพื่อให้แกงมีรสชาติเข้มข้นขึ้น เมื่อนำเอากะทิมาใช้ผสมในน้ำแกง และใส่สมุนไพรอย่างใบโหระพาเพื่อให้มีกลิ่นสดชื่น จึงทำให้กลายเป็นแกงที่มีรสชาติกลมกล่อมน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการ แม้แกงไก่จะใช้กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งอาจจะมีปัญหากับคอเลสเตอรอล แต่ก็มีสมุนไพรจากพริกแกงโดยเฉพาะพริกที่มีรสเผ็ดเพราะมีสารแคปไซซินช่วยขยายช่องจมูกให้ใหญ่ขึ้น จึงช่วยขับเสมหะ และลดการอุดตันของหลอดเลือด มะเขือพวงมีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยในการย่อยอาหาร มะเขือเปราะที่มีกากใยที่ช่วยระบายท้อง ใบโหระพาที่มีเบต้าแคโรทีนสูง โหระพา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 452.16 ไมโครกรัม แกงเผ็ดไก่จึงไม่ได้เป็นอาหารที่มีไขมันสูงอย่างที่หลายคนกลัว ถ้าเรากินอย่างพอเหมาะ ส่วนผสม กะทิ                                         4     ถ้วย เนื้อไก่                                      300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย มะเขือเปราะ                              100 กรัม มะเขือพวง                                 20   กรัม ใบโหระพา                                50   กรัม พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ                      10   กรัม น้ำปลา น้ำตาลเล็กน้อย ส่วนผสมน้ำพริกแกงแดง พริกแห้ง 9 เม็ด กรีดเม็ดออกและแช่น้ำจนนุ่ม ตะไคร้ซอยบาง ¼ ถ้วย หอมแดงซอย  ¼ ถ้วย กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นฝอย 1 ช้อนชา รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว 4 ช้อนชา ยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด วิธีทำ    ผัดเครื่องแกงกับกะทิเล็กน้อยจนหอม ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้ผิวด้านนอกสุกขาว จากนั้นในกะทิลงไป เติมน้ำสะอาดเล็กน้อยต้มจนเริ่มเดือดและกะทิแตกมัน ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล ชิมรส เมื่อต้องการเสิร์ฟให้ใส่ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ  


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire