SLider section

แจ่วฮ้อน

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

แจ่วฮ้อน

 

ความเป็นมา

แจ่วฮ้อน หรือสุกี้อีสาน มีวิธีทำเหมือนกับสุกี้ของภาคกลาง แต่จะใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพื่อรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวกินคู่กับน้ำจิ้มแจ่วรสแซ่บตามสไตล์ของคนอีสาน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

แจ่วฮ้อนมีส่วนผสมที่มีประโยชน์ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ที่ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี

 

ส่วนผสม

เนื้อสัตว์ตามชอบ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลาหมึก

น้ำซุปกระดูกหมู              1        ถ้วยตวง

ข่าซอยละเอียด               15      กรัม

ตะไคร้หั่นท่อน                30      กรัม

รากผักชีทุบ                     10      กรัม

ใบมะกรูด                          3        ใบ

เกลือป่น                             1        ช้อนชา

ใบผักชีฝรั่งซอย                15      กรัม

ต้นหอมหั่น                       20      กรัม

ใบโหระพา

น้ำปลา

น้ำตาลทราย

ส่วนผสมน้ำจิ้มแจ่ว

พริกป่น                        1        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                         2        ช้อนโต๊ะ

ข้าวคั่ว                           2        ช้อนโต๊ะ

น้ำมะขามเปียก              2        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาล                           1        ช้อนชา

วิธีทำ

ทำน้ำจิ้มแจ่วโดยผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน คนให้น้ำตาลละลายพักไว้ จากนั้นตั้งน้ำซุปกระดูกหมูบนไฟกลาง ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาลทราย จนน้ำซุปเดือด ใส่เนื้อสัตว์ ต้มจนเนื้อสัตว์สุกดี ใส่ผักชีฝรั่ง และต้นหอม ยกเสิร์ฟร้อนๆ

ภาค เหนือ

น้ำพริกอี่เก๋

    ความเป็นมา น้ำพริกอี่เก๋ เป็นอีกหนึ่งน้ำพริกซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในภาคเหนือ เนื่องจากใช้ส่วนผสมที่หาได้ง่ายและมีรสชาติที่ถูกปาก   คุณค่าทางโภชนาการ พริกขี้หนู น้ำมะนาว มีวิตามินซีสูงช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม มะเขือขื่นซอย          120    กรัม แคบหมู                    50      กรัม พริกขี้หนูสุก              5        กรัม กระเทียม                  20      กรัม กะปิ                           1        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                  2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย             1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกพริกขี้หนู กระเทียม และกะปิ รวมกันให้ละเอียดใส่แคบหมู โขลกรวมกันปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อยใส่มะเขือขื่น คนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟ        


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

  ความเป็นมา บะหมี่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนที่ทำจากแป้งสาลีผสมไข่ เส้นจึงมีสีเหลือง นุ่ม ส่วนผสม เช่น เกี๊ยว หมูแดง ก็ล้วนเป็นอาหารของจีน บะหมี่มาพร้อมกับคนจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยและเปิดร้านขาย มีทั้งขายในร้านคูหาเดียวหรือในภัตตาคาร ความอร่อยของเส้นหมี่ต้องนุ่มเหนียวไม่กระด้างหรือแข็งแม้เก็บไว้นาน เกี๊ยวกุ้งเนื้อกุ้งต้องเด้งกรอบ แผ่นเกี๊ยวแป้งต้องบางนุ่ม หมูแดงต้องหอมควันไฟและเนื้อนุ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ บะหมี่หมูแดงส่วนผสมแต่ละชนิดมีคุณค่าอาหารในตัวเอง เช่น เส้นบะหมี่มีคาร์โบไฮเดรทและวิตามินต่างๆ จากแป้งสาลีและไข่  เกี๊ยวกุ้งมีวิตามินบี 12  ไอโอดีน และซิลีเนียมสูง มีแคลเซียมพอสมควร หมูแดงมีโปรตีนและวิตามินชนิดต่างๆ ส่วนผักใบเขียวมีเบต้าแคโรทีน จานนี้แม้ส่วนผสมจะมีอย่างละเล็กละน้อย แต่บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง 1 ชามให้พลังงาน 305 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม บะหมี่                                  50      กรัม เกี๊ยวกุ้ง                                 4        ชิ้น หมูแดงหั่นบาง                     30      กรัม ผักกวางตุ้งลวก                    50      กรัม กระเทียมเจียว                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำซุป วิธีทำ ลวกผักกวางตุ้งและเส้นบะหมี่ใส่ชามคลุกกับกระเทียมเจียวเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน ลวกเกี๊ยวกุ้งใส่ วางหมูแดง ตักน้ำซุปราด กินร้อนๆ กับเครื่องปรุงตามชอบ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire