SLider section

แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลาอินทรี

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลาอินทรี

ความเป็นมา

แกงเหลืองก็คือแกงส้มของภาคกลาง แต่ใส่ขมิ้นจึงมีสีเหลืองและเรียกว่าแกงเหลือง เป็นแกงพื้นบ้านที่ทำง่ายๆ กินกันทั่วไป รสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน แกงเหลืองไม่นิยมรสหวาน และมีรสเผ็ดร้อนเข้มข้นกว่าแกงส้ม แกงนี้สามารถเปลี่ยนส่วนผสมไปตามพืชพรรณของแต่ละท้องที่และเรียกชื่อไปตามพืชผักและเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุง เมนูนี้ใช้หน่อไม้ดองที่มีรสเปรี้ยวตามธรรมชาติ รสหวานจากสับปะรด และไม่ทำให้เผ็ดเกินไป ใส่ปลาอินทรีที่ทางใต้มีอย่างอุดมสมบูรณ์

 

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงน้ำใสรสสุขภาพที่มีรสหวาน เปรี้ยว จากพืชผักธรรมชาติโดยแท้จริง รสชาติจึงสดชื่นทั้งส้มมะขามและสับปะรดล้วนมีวิตาซีที่ช้วยป้องกันหวัดมีกากใยที่ช่วยป้องกันท้องผูก จานนี้ยังรสเผ็ดของพริกที่ช่วยแก้หวัดคัดจมูกได้อย่างดี และพริกยังมีสารไบโอเฟลโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ซึ่งอาจจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้

 

ส่วนผสม

พริกแกง                               ½    ถ้วย

หน่อไม้ดอง                           1     ถ้วย

ปลาอินทรีหั่นชิ้นใหญ่           300 กรัม

สับปะรดหั่นชิ้นบาง                100 กรัม

น้ำปลา                                   2     ช้อนโต๊ะ

น้ำมะขามเปียก                       2     ช้อนโต๊ะ

 

ส่วนผสมพริกแกง พริกสด 20 เม็ด ขมิ้นยาว  1 นิ้ว กระเทียม 7 กลีบ  กะปิ  1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างรวมกันให้ละเอียด

 

 

ภาค อีสาน

แหนมซี่โครงหมูทอด

    ความเป็นมา แหนมเป็นการถนอมอาหารอีกประเภทหนึ่ง มีรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากการหมักของจุลินทรีย์ แหนมซี่โครงหมูทอดมีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม และบางครั้งจะหั่นเป็นชิ้นติดกระดูกอ่อนที่สามารถรับประทานได้ ให้ความกรุบกรอบเวลาเคี้ยว นิยมทานเป็นกับแกล้มคู่กับผักต่างๆเช่นขิง กะหล่ำปลี   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง   ส่วนผสม ซี่โครงหมูอ่อน           400    กรัม ข้าวสุก                      3        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ             15      กรัม เกลือ                          2        ช้อนชา วิธีทำ นำข้าวสุกมาแช่น้ำแล้วบีบน้ำออก พักไว้ล้างซี่โครงหมู ซับให้แห้งจากนั้นนำมาผสมกับ กระเทียมสับ เกลือ และข้าวสุกนำใส่ถุงพลาสติก ไล่อากาศออก ห่อแล้วมัดให้แน่น เก็บไว้ประมาณ 2 วัน จากนั้นนำมาทอดให้สุก กินกับถั่วลิสง ขิงอ่อน และกะหล่ำปลี        


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงไตปลา

ความเป็นมา แกงไตปลาอาหารจานเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารใต้ ไตปลาทำมาจากการนำพุงปลา และกระเพาะปลาที่มีอยู่มาก เช่น พุงปลาทู พุงปลาลัง มาใส่เกลือหมักดองไว้ ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อหมักจนได้ที่ประมาณ 1 เดือน ก็นำมาทำแกง ใส่เนื้อปลา ผัก ที่มีรสชาติเผ็ด เค็ม ร้อนแรง   คุณค่าทางโภชนาการ ไตปลาเป็นของหมักดองที่มีโปรตีนสูง นำมาทำแกงโดยใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งล้วนมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีไขมันจากปลาซึ่งเป็นไขมันดี และมีวิตามินต่างๆ จากผัก เช่น ฟักทองที่มีวิตามินเอ มะเขือพวงช่วยย่อยอาหาร และข้อเด่นของผักทั้งหมดที่ใส่นี้มีกากใยที่ช่วยระบายท้องได้อย่างดี   ส่วนผสมไตปลาปรุงรส ไตปลา(พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว)             1     ถ้วย ตะไคร้บุบ                            3     ต้น ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ ข่าหั่นแว่น                           60   กรัม พริกไทยเม็ดบุบ                    2     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ต้มไตปลาผสมน้ำแล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ทั้งหมด พอเดือด กรองน้ำไว้ พักไว้ ส่วนผสมพริกแกง กระเทียม 15 กรัม หอมแดง 50 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด พริกชี้หนูสด 15 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ  ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด พักไว้ ส่วนผสมแกงไตปลา ไตปลาปรุงรส                       1     ถ้วย ปลาย่างแกะเนื้อ                   1     ถ้วย หน่อไม้หั่น                          1     ถ้วย มะเขือเปราะ                        80   กรัม มะเขือพวง                           ½    ถ้วย ถั่วฝักยาวหั่นสั้น                   ½    ถ้วย ฟักทองหั่น                          80   กรัม น้ำสะอาด                            3     ถ้วย ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ วิธีทำ นำไตปลาปรุงรสละลายกับน้ำตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาย่างแกะเนื้อ หน่อไม้ และฟักทอง เมื่อเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และใบมะกรูดฉีก ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire