SLider section

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ความเป็นมา

คนท้องถิ่นมักจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านเพื่อนำมาทำอาหารได้ง่าย พืชที่ปลูกมักจะกินบ่อยๆ เช่น พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ข่ามักจะใช้เหง้าแก่มาดับกลิ่นคาวโดยเฉพาะปลา ต้นข่าอ่อนจะมีลำต้นยาวและเหง้าอ่อน ที่นิยมนำมาทำอาหารทั้งแกงส้มและแกงเผ็ด

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ข่าอ่อนมีรสเผ็ดไม่มาก และมีสรรพคุณเป็นยาที่ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ และยังมีกากใยที่ช่วยขับถ่ายได้ดี เหง้าอ่อน 100 กรัมให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี มีฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม เมื่อนำมาแกงกะทิกับหมูและใส่น้ำพริกแกงจึงให้ทั้งโปรตีนและไขมัน

 

ส่วนผสม

เนื้อหมูหั่น                             300    กรัม

ต้นข่าอ่อนหั่นเป็นชิ้น             100    กรัม

น้ำพริกแกง                             ¼       ถ้วย

หัวกะทิ                                    1        ถ้วย

หางกะทิ                                   2        ถ้วย

น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลมะพร้าว                         2        ช้อนชา

 

ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกขี้หนู 20-30 เม็ด พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กระเทียมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ

หอมแดงหั่น 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย  3 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น 2 ช้อนชา ขมิ้นหั่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ  2 ช้อนโต๊ะเกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมพริกแกงรวมกันจนละเอียด

 

วิธีทำ

ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่ต้นข่าอ่อน หางกะทิ ต้มไฟอ่อนจนเนื้อข่าอ่อนสุก ปรุงรส ยกลง กินกับผักสดต่างๆ

ภาค อีสาน

ลาบปลาช่อนทอด

  ความเป็นมา ปลาในภาคอีสานมีให้เลือกทานหลายชนิด ปลาช่อนเป็นหนึ่งในปลาที่นิยมทานกันมาก เพราะเนื้อแน่นและมีรสชาติอร่อยสามารถนำมาทำเป็นเมนูได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ย่าง ทอด แกง และลาบ   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาช่อนมีโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก นอกจากนี้ปลายังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งยังมีโอเมก้า3ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันที่สำคัญในสมองและจอประสาทตา   ส่วนผสม ปลาช่อนบั้งลำตัว ขนาด 400 กรัม           1        ตัว หอมแดงซอย                                  40      กรัม น้ำปลา                                            2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                         4        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                        1        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                            1        ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว                                             2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                                     10      กรัม ผักชีฝรั่ง หั่นหยาบ                            20      กรัม ใบสะระแหน่                                     10      กรัม   วิธีทำ นำปลาช่อนไปทอดให้เหลืองกรอบ จัดวางลงจานเตรียมน้ำยำโดยการผสม น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บและพริกป่นเข้าด้วยกันคลุกเคล้า หอมแดงซอย ต้นหอมซอย  ผักชีฝรั่ง น้ำยำ และข้าวคั่วพอเข้ากันแล้วราดลงบนตัวปลาโรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ เสิร์ฟพร้อมผักเคียง    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

    ความเป็นมา ขนมน้ำกะทิเป็นของหวานพื้นบ้านของไทยที่นำกะทิมาผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดซึ่งมีกลิ่นหอม และรสไม่หวานแหลม น้ำกะทิกินกับลอดช่อง ข้าวเหนียวดำ ใส่น้ำแข็ง และใส่ผลไม้รสหวานหอมอย่างทุเรียนกินกับข้าวเหนียวมูนที่ให้รสหวานมันอร่อย   คุณค่าทางโภชนาการ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงพอสมควร เนื้อทุเรียน 200 กรัมให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน มีสารซัลเฟอร์หรือกำมะถันตามธรรมชาติ ทุเรียน 100 กรัมให้พลังงานมากกว่าผลไม้ทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อกินกับข้าวเหนียวมูนที่มีกะทิเป็นส่วนผสมยิ่งให้พลังงานเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป   ส่วนผสม ข้าวเหนียวมูน                               200    กรัม เนื้อทุเรียนสุก                                150    กรัม กะทิ                                                 3        ถ้วย น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว       1 ½    ถ้วย เกลือเล็กน้อย   วิธีทำ ละลายน้ำตาลในน้ำกะทิจนหมด นำไปตั้งไฟให้ร้อนจัดแต่ไม่ให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็น ใส่เนื้อทุเรียนลงไป พักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นำมาตักราดหน้าข้าวเหนียวมูน    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงคั่วหอยขมใบชะพลู

ความเป็นมา แกงพื้นบ้านที่นำหอยขมหรือหอยจุ๊บที่อยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาแกงกับใบชะพลูที่หาได้ง่ายเช่นกัน แกงใส่กะทิที่ได้รสชาติหวานมัน รสเผ็ดร้อนเข้มข้นและกลิ่นหอมจากสมุนไพรสดในเครื่องพริกแกงคั่ว ทำให้เกิดความลงตัวในแกงพื้นบ้านจานนี้อย่างน่าประหลาดใจ   คุณค่าทางโภชนาการ หอยจุ๊บในตำราแพทย์แผนไทยระบุไว้ว่าทั้งเปลือกและเนื้อหอยมีสรรพคุณช่วยแก้กระษัยต่างๆ เช่น แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง บำรุงถุงน้ำดี และโรคทางเดินปัสสาวะอย่างโรคนิ่ว และเมื่อนำไปแกงกับใบชะพลูซึ่งมีสารออกซาเลตที่สามารถทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอย่างโรคนิ่วได้ถ้ารับประทานมาก นับเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่นำส่วนผสมทั้ง 2 อย่างนี้มาปรุงเพื่อแก้กันจึงทำให้จานนี้สมดุลกินได้อย่างไม่มีปัญหา   ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูสด 15 เม็ด ตะไคร้ซอย 2 ต้น กระเทียม 10 กลีบ หอมแดง 5 หัว ขมิ้นยาว 2 นิ้ว ข่าหั่นแว่น  5 แว่น  พริกไทยเม็ด 2 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมทุกอย่างให้ละเอียด ส่วนผสมแกง หอยขมสับก้นหอยแล้ว          500 กรัม ใบชะพลูซอย                         2     ถ้วย กะทิ                                        4     ถ้วย เกลือ                                        1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                     1     ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ นำกะทิขึ้นตั้งไฟ พอเดือดใส่พริกแกง หอยขม คนให้เข้ากัน รอจนหอยสุก ใส่ใบชะพลู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล ยกลง    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire