SLider section

ยำผักกูดกุ้งสด

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ยำผักกูดกุ้งสด

ความเป็นมา

ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านที่มีต้นคล้ายกับเฟิร์น ลำต้นยาว ยอดงอม้วน ขึ้นตามชายป่าริมน้ำ ซึ่งเป็นภูมิประเทศของแถบทางใต้ ถ้าขึ้นที่ใดแสดงว่าบริเวณนั้นดินดีไม่มีสารปนเปื้อน ชาวบ้านช่างสังเกตเก็บผักนี้มาทำอาหารได้ทั้งลวกจิ้มน้ำพริก ผัด ยำ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกูดเป็นผักรสจืดอมหวานนิดๆ ทั้งใบและต้นสีเขียวมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก ซึ่งจะช่วยบำรุงร่างกายโดยเฉพาะสายตาได้อย่างดี และที่ชาญฉลาดกว่านั้นเบต้าแคโรทีนจะดูดซึมได้ดีเมื่อมีไขมันร่วมด้วย การราดกะทิลงในยำจานนี้จึงทำให้ได้คุณค่าอาหารอย่างเต็มเปี่ยม

 

ส่วนผสม

ผักกูดเด็ดยาว 1 นิ้ว ลวก        100 กรัม

กุ้งสดลวก                               80   กรัม

หัวกะทิ                                    ½    ถ้วย

ถั่วลิสงบุบหยาบ                      ¼    ถ้วย

หอมแดงซอย                           ½    ถ้วย

มะพร้าวคั่ว                                ¼    ถ้วย

กุ้งแห้งตำ                                  ¼    ถ้วย

พริกขี้หนูซอย                            5     กรัม

น้ำมะนาว                                    2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย                                2     ช้อนโต๊ะ

เกลือ                                             1     ช้อนชา

วิธีทำ

ผสมน้ำมะนาว น้ำตาลทราย เกลือ ให้เข้ากัน จากนั้นจึงใส่ส่วนผสมอื่นๆ ยกเว้นกะทิลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เมื่อจะเสิร์ฟจึงราดกะทิบนหน้า ก่อนรับประทานคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง

ภาค เหนือ

น้ำพริกข่า

    ความเป็นมา น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งอีกชนิดหนึ่ง ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน ทานคู่กับเนื้อสัตว์ตากแห้ง ข้าวเหนียว และผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่ามีสรรพคุณช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืด ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน   ส่วนผสม พริกขี้หนูแห้ง          20      เม็ด กระเทียม                 20      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                      ¼       ช้อนชา วิธีทำ โขลกเกลือ กระเทียม และข่า รวมกันให้ละเอียดใส่พริกขี้หนูแห้งย่างไฟ ลงโขลกรวมกันจนละเอียดตักขึ้น ทานคู่กับเนื้อแห้ง ข้าวเหนียว ผักสด      


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำมะเขือยาว

    ความเป็นมา มะเขือยาวเป็นผักพื้นบ้านที่หาทานได้ทั่วไป มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการมากมาย สามารถนำมาประกอบอาหารได้ปลายประเภท ชาวล้านนานิยมนำมาตำเป็นน้ำพริกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ มะเขือยาวมีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และแคลเซียมจากมะเขือยาวยังช่วยบำรุงกระดูกและฟัน   ส่วนผสม มะเขือยาว               300    กรัม พริกหนุ่ม                 60      กรัม กระเทียม                 30      กรัม หอมแดง                  30      กรัม กะปิเผา                   1        ช้อนชา เกลือ                       1        ช้อนชา ผักชี หั่น                  2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอม หั่น              2        ช้อนโต๊ะ กระเทียม สับ            1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                     2        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช   วิธีทำ นำมะเขือยาว หอมแดง กระเทียม พริกหนุ่ม เผาไฟ แล้วปอกเปลือกออกให้หมด นำพริกหนุ่มโขลกกับเกลือให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกให้เข้ากัน ใส่มะเขือยาว โขลกให้เข้ากัน พักไว้ ตั้งกระทะใส่น้ำมัน เจียวกระเทียมสับจนหอม ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ลงผัด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ต้นหอม ผักชี ตักขึ้น        


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

วุ้นกะทิ

    ความเป็นมา วุ้นเป็นขนมหวานของไทยที่หากินได้ทั่วไป เนื้อวุ้นจะคล้ายกับเยลลี่ของฝรั่ง แตกต่างกันที่เนื้อสัมผัสของวุ้นจะแข็งและกรอบกว่า คนไทยนำกะทิมาผสมกับผงวุ้นเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อให้มีรสเค็มมัน ทำเป็นหน้าของวุ้นตัดกับรสหวานของเนื้อวุ้นที่ใส่เฉพาะน้ำตาล ทำให้กินได้อร่อยไม่เลี่ยน และใส่สลับชั้นให้ดูสวยงาม   คุณค่าทางโภชนาการ วุ้นเป็นสารสกัดมาจากสาหร่ายที่เรียกว่า “อาการ์” มีคุณสมบัติทำให้เนื้อขนมแข็ง สาหร่ายมีธาตุไอโอดีน แต่เมื่อเทียบกับน้ำตาลและกะทิที่เป็นส่วนผสมของวุ้นกะทิซึ่งมีมากกว่าวุ้น จึงควรบริโภคแต่พอเหมาะ แม้ว่าวุ้นกะทิปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 133 กิโลแคลอรี แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินไป   ส่วนผสมตัววุ้น วุ้นผง                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำลอยดอกมะลิ                  2 1/4  ถ้วย น้ำตาลทราย                       1/2     ถ้วย น้ำใบเตย (ตำและคั้นน้ำ )หรือสีผสมอาหารสีตามชอบ   ส่วนผสมหน้ากะทิ ผงวุ้น                                 1        ช้อนโต๊ะ หัวกะทิ                              2 ¼    ถ้วย น้ำตาลทราย                       ¼       ถ้วย เกลือป่น                             2        ช้อนชา   วิธีทำ ผสมผงวุ้น น้ำลอยดอกมะลิ เกลือ ตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลายหมด ก่อนยกขึ้นใส่น้ำใบเตยให้มีสีสวยตามชอบ ตักใส่พิมพ์ นำส่วนผสมหัวกะทิตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลาย ตักหยอดหน้าตัววุ้น


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire