SLider section

ปลาโอต้มหวาน

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ปลาโอต้มหวาน

 

 

ความเป็นมา

อาหารรสหวานในสำรับอาหารใต้ มักเป็นการช่วยแก้รสเผ็ดซึ่งเป็นรสชาติประจำของอาหารใต้ จึงนำปลาโอที่มีอยู่ชุกชุมมาต้มใส่น้ำตาลและซีอิ๊วให้มีรสหวานนำ เค็มตาม ใช้รับประทานคู่กับอาหารใต้รสจัดได้หลายเมนู

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ปลาโอจัดเป็นปลาทูน่าสายพันธุ์หนึ่ง เนื้อสีชมพูแดงเข้ม นิยมนำมาทำปลาทูน่ากระป๋อง เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อนำมาต้มหวานยิ่งต้มเนื้อจะยิ่งแข็งขึ้น ปลาโอเป็นปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงในระดับต้นๆ ของปลาทะเล และมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง จึงช่วยเรื่องหลอดเลือดทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจไม่ให้อุดตัน

 

ส่วนผสม

ปลาโอหั่นชิ้น                      300    กรัม

กระเทียมบุบ                      10      กรัม

หอมแดง                            20      กรัม

ตะไคร้บุบ                           30      กรัม

น้ำสะอาด                           2        ถ้วย

น้ำตาลมะพร้าว                   3        ช้อนโต๊ะ

ซีอิ๊วดำ                               2        ช้อนชา

เกลือ                                   1        ช้อนชา

 

วิธีทำ

ตั้งหม้อใส่น้ำพอเดือดใส่หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ต้มจนเดือดใส่เนื้อปลา รอจนเดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว ซีอิ๊วดำ เกลือ ลดไฟอ่อน ต้มไปเรื่อยๆ จนเนื้อปลาแข็ง ตักขึ้นเสิร์ฟ

 

 

ภาค อีสาน

ส้มตำลาว

ความเป็นมา ส้มตำลาว คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาว ซึ่งแตกต่างออกไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาร้าและมะละกอดิบเป็นหลัก ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เพราะแต่เดิมเรียกตำลาวว่า “ตำหมากหุ่ง”   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำลาว มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอล   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น              120    กรัม มะเขือเทศสีดา                    30      กรัม มะกอกสุก                             10      กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน          25      กรัม พริกขี้หนูสด                         8        เม็ด กระเทียม                              5        กรัม น้ำมะนาว                              1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                  1/2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                   1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันชิมรสตามชอบ ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมผักสด


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว

 ความเป็นมา ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วเป็นอาหารจีนประเภทเดียวกับก๋วยเตี๋ยวราดหน้าที่มักจะขายคู่กัน แต่ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วจะต้องผัดให้เส้นหอมซีอิ๊วที่ใส่ลงไป และสีดำของซีอิ๊วเคลือบเส้นให้ทั่ว เส้นต้องไม่ติดกันมีน้ำมันเคลือบบางๆ บนเส้นที่ผัดจนหอม ใส่ไข่ลงไปขณะผัด และใส่ผักคะน้าที่ต้องผัดจนนุ่มแต่ผักยังต้องเขียวอยู่   คุณค่าทางโภชนาการ ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วให้พลังงานค่อนข้างสูง ผัดซีอิ๊วใส่ไข่ 1 จาน ให้พลังงาน 520 กิโลแคลอรี เพราะการผัดเส้นให้มันเงาและมีกลิ่นหอมกระทะต้องใส่น้ำมันมาก จึงทำให้ได้ไขมันมากไปด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้โปรตีนวิตามินจากไข่ เนื้อหมู และได้วิตามินเกลือแร่จากผักคะน้า   ส่วนผสม เส้นใหญ่                  120    กรัม เนื้อหมู                     50      กรัม ผักคะน้าหั่น              50      กรัม ซีอิ๊วดำ                      1        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว                    2        ช้อนชา ไข่ไก่                          1        ฟอง น้ำมันสำหรับผัด   วิธีทำ ใส่น้ำมันในกระทะ ใส่หมูลงรวนพอสุก ใส่ผักคะน้า ใส่เส้นผัดให้เส้นกระจายอย่าติดกัน ใส่ซีอิ๊วดำผัดให้เคลือบเส้น ตอกไข่ใส่ ใส่ซีอิ๊ว ผัดจนทุกอย่างเข้ากัน ตักใส่จาน    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire