SLider section

น้ำพริกกุ้งเสียบ

ภาค ใต้

  • recipe image cover

น้ำพริกกุ้งเสียบ

ความเป็นมา

กุ้งเสียบเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีพื้นที่ติดทะเลและมีกุ้งมาก โดยนำกุ้งนางไม่แกะเปลือกมาเสียบไม้ ปิ้งไฟอ่อนๆ รมควันจนน้ำในตัวกุ้งแห้ง ทำให้เก็บได้นานและมีกลิ่นหอมรมควัน นำมาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งรสชาติและส่วนผสมไม่ต่างจากน้ำพริกของภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แต่ทางใต้จะนิยมกินรสเผ็ดจัดมากกว่า

 

คุณค่าทางโภชนาการ

การรมควันหรือปิ้งไม่ทำให้โปรตีนในอาหารลดน้อยลง กุ้งเสียบจึงมีโปรตีนและยิ่งมีเปลือกจึงให้แคลเซียมสูงไปด้วย ส่วนผสมในน้ำพริก เช่น กระเทียม ช่วยลดคอเลสเตอรอล หอมแดงช่วยให้สดชื่น สิ่งสำคัญคือผักสดที่กินร่วมกันหรือที่คนใต้เรียกว่าถาดผักเหนาะ เพราะมีผักพื้นบ้านที่ให้วิตามิน และเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์  ใบบัวบก ถั่วฝักยาว เป็นต้น

 

ส่วนผสม

กุ้งเสียบคั่วกรอบ            1     ถ้วย

หอมแดง                     30   กรัม

กระเทียม                    20   กรัม

กะปิย่างไฟ                   2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                    2     ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว                     3     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลาดี                       1     ช้อนชา

พริกขี้หนู                     10   กรัม

วิธีทำ  

ตำกระเทียมและกะปิให้ละเอียด ใส่หอมแดง และพริกขี้หนู ตำให้ละเอียดดี ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ และน้ำปลา จากนั้นใส่กุ้งเสียบ อาจจะคนหรือใช้สากบุบให้พอเข้ากัน ตักขึ้น เติมน้ำมะนาวคนให้เข้ากันอีกครั้ง

ภาค เหนือ

น้ำพริกข่า

    ความเป็นมา น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งอีกชนิดหนึ่ง ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน ทานคู่กับเนื้อสัตว์ตากแห้ง ข้าวเหนียว และผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่ามีสรรพคุณช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืด ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน   ส่วนผสม พริกขี้หนูแห้ง          20      เม็ด กระเทียม                 20      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                      ¼       ช้อนชา วิธีทำ โขลกเกลือ กระเทียม และข่า รวมกันให้ละเอียดใส่พริกขี้หนูแห้งย่างไฟ ลงโขลกรวมกันจนละเอียดตักขึ้น ทานคู่กับเนื้อแห้ง ข้าวเหนียว ผักสด      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

มะม่วงเบาแช่อิ่ม

  ความเป็นมา มะม่วงเบาเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองของทางใต้ ผลมีขนาดเล็กเท่ากับไข่ไก่ใบเล็ก เมื่อดิบรสจะเปรี้ยวจี๊ด เนื้อกรอบ ไม่มีกลิ่นฉุน คนใต้นิยมนำไปทำอาหารให้รสเปรี้ยวหลากหลาย เช่น นำไปตำน้ำพริกเป็นน้ำพริกมะม่วงเบา แต่ที่นิยมมากที่สุดคือนำไปแช่อิ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ มะม่วงเบามีรสเปรี้ยวเป็นแหล่งของวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้อย่างดี ช่วยสร้างสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เส้นผม ฟัน เหงือก และกระดูกสมบูรณ์แข็งแรง เมนูนี้นำมาแช่อิ่ม โดยใส่ในน้ำเชื่อมเพื่อให้ซึมเข้าเนื้อ มะม่วงจึงมีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ กินแล้วช่วยให้สดชื่นมาก แต่ถ้ากินมากไปจะได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นที่จะทำให้ให้อ้วนได้   ส่วนผสม มะม่วงเบา                         50      ผล น้ำปูนใส                            1        ถ้วย เกลือ                                ½       ถ้วย น้ำตาลทราย                       1        กก. น้ำสะอาด                          3        ถ้วย วิธีทำ ปอกเปลือกมะม่วง ผ่าลูกละ 2-4 ชิ้น แช่ในน้ำสะอาดให้มะม่วงจม ใส่น้ำปูนใส ใส่เกลือ แช่ทิ้งไว้ 2 คืน คนให้ทั่ววันละ 2-3 ครั้งตักมะม่วงขึ้นพักไว้ ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลกับน้ำใส่เกลือ ตั้งไฟจนข้น พักไว้ให้เย็น เทใส่ในมะม่วงปิดฝาพักไว้ 2 คืน นำมาคนวันละ 2 ครั้ง ชิมดูจะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน นำเข้าตู้เย็น มะม่วงจะ กรอบอร่อยขึ้น    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ไข่กระทะ

  ความเป็นมา ไข่กระทะคืออาหารเช้าที่หาทานได้ในจังหวัดทางภาคอีสานที่มีชายแดนติดกับประเทศลาว เช่น อุบลราชธานี อุดรธานี เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารฝรั่งเศสในช่วงที่ประเทศลาว และเวียดนามยังอยู่ในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส   คุณค่าทางโภชนาการ ไข่ไก่ อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆมากมายช่วยลดความดันโลหิต เป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะกับคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นอย่างมาก   ส่วนผสม ไข่ไก่                       2        ฟอง หมูสับรวน                20      กรัม กุนเชียง                   20      กรัม หมูยอ                       30      กรัม เนยสด                      1/2     ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย พริกไทยป่น   วิธีทำ ตั้งกระทะ ใส่เนยสด จากนั้นตอกไข่ใส่ในกระทะ รอจนไข่สุกประมาณครึ่งหนึ่ง ใส่หมูสับ กุนเชียง หมูยอ เมื่อไข่สุกยกออกจากเตา โรยหน้าด้วยต้นหอมและพริกไทยป่น      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire