SLider section

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

 

 

ความเป็นมา

ขนมน้ำกะทิเป็นของหวานพื้นบ้านของไทยที่นำกะทิมาผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดซึ่งมีกลิ่นหอม และรสไม่หวานแหลม น้ำกะทิกินกับลอดช่อง ข้าวเหนียวดำ ใส่น้ำแข็ง และใส่ผลไม้รสหวานหอมอย่างทุเรียนกินกับข้าวเหนียวมูนที่ให้รสหวานมันอร่อย

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงพอสมควร เนื้อทุเรียน 200 กรัมให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน มีสารซัลเฟอร์หรือกำมะถันตามธรรมชาติ ทุเรียน 100 กรัมให้พลังงานมากกว่าผลไม้ทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อกินกับข้าวเหนียวมูนที่มีกะทิเป็นส่วนผสมยิ่งให้พลังงานเพิ่มขึ้น จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป

 

ส่วนผสม

ข้าวเหนียวมูน                               200    กรัม

เนื้อทุเรียนสุก                                150    กรัม

กะทิ                                                 3        ถ้วย

น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว       1 ½    ถ้วย

เกลือเล็กน้อย

 

วิธีทำ

ละลายน้ำตาลในน้ำกะทิจนหมด นำไปตั้งไฟให้ร้อนจัดแต่ไม่ให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็น ใส่เนื้อทุเรียนลงไป พักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นำมาตักราดหน้าข้าวเหนียวมูน

 

 

ภาค ใต้

แกงเผ็ดเห็ดแครง

ความเป็นมา แกงเผ็ดเป็นแกงที่ชาวบ้านทำกินกันทั่วไป และส่วนผสมก็มีได้หลากหลาย ส่วนใหญ่จะมีทั้งผักใบและผักหัวกับเนื้อสัตว์ เช่นไก่ กุ้ง แกงเผ็ดเห็ดแครงก็เป็นอีกเมนูที่นำเห็ดท้องถิ่นอย่างเห็ดแครงที่จะมีมากในฤดูฝน และขึ้นตามขอนต้นยางพาราที่ตัดทิ้งไว้มาแกงกับกะทิและใส่กุ้ง   คุณค่าทางโภชนาการ เห็ดแครงเป็นเห็ดพื้นบ้านที่หาได้เฉพาะทางใต้เท่านั้น ดอกเล็กรูปร่างคล้ายพัด ไม่มีก้านดอก คล้ายเปลือกหอยแครง สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน ก่อนนำมาทำอาหารต้องแช่น้ำให้นิ่มและบานก่อน เนื้อจะกรอบอร่อย นิยมนำมาแกงใส่กะทิ เห็ดแครงมีคาร์โบไฮเดรทและโปรตีนสูง ยังมีคุณสมบัติเป็นยาที่ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสได้   ส่วนผสม เห็ดแครง                           150    กรัม กุ้ง                                      150    กรัม หัวกะทิ                               1        ถ้วย น้ำพริกแกงเผ็ด                  2        ช้อนโต๊ะ กะปิ                                     1        ช้อนโต๊ะ เกลือเล็กน้อย วิธีทำ ผัดพริกแกงกับกะทิพอหอม ใส่กะปิ กุ้ง พอเดือดใส่เห็ดแครง ผัดประมาณ 10 นาที จนเห็ดแครงสุก    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ข้าวหมูแดง

ความเป็นมา หมูแดงเป็นอาหารที่ไทยรับมาจากจีนซึ่งเป็นอาหารประเภทย่างหรือบาร์บีคิวชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปคนจีนจะนิยมกินกับข้าว แต่การกินเป็นอาหารจานเดียวโดยหั่นหมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง ไข่ต้ม วางบนหน้าข้าวและราดด้วยน้ำหมูแดงกินกับต้นหอม น่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบการกินตามลักษณะของคนไทยในภายหลัง   คุณค่าทางโภชนา หมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูง เนื้อหมู 100 กรัม มีโปรตีน 13.9 กรัม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงที่นำสารอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในทางการแพทย์จีนเชื่อว่าโปรตีนและไขมันจากหมูจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น   ส่วนผสม หมูสันใน                                   500 กรัม รากผักชีบุบ                               50   กรัม กระเทียมบุบ                              30   กรัม ผงพะโล้                                    1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                             2     ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว                                    2     ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วดำ                                      1     ช้อนชา พริกไทยป่น                              1     ช้อนชา สีผสมอาหารสีแดง                   1     ช้อนโต๊ะ   ส่วนผสมน้ำราดหมูแดง น้ำซุปกระดูกหมู 1 ½ ถ้วย ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายแดง 4 ช้อนโต๊ะ น้ำที่เหลือจากการหมักหมู น้ำที่ได้จากการย่างหมู งาคั่วบุบ 4 ช้อนโต๊ะ แป้งมันสำปะหลัง  3 ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย)   วิธีทำ หมักหมูด้วยส่วนผสมทั้งหมดพักไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปย่างด้วยไฟอ่อนจนสุก หรือสามารถใช้วิธีอบด้วยถังหรือเตาอบก็ได้ หมั่นทาหมูในระหว่างย่างด้วยน้ำหมักหมูจะทำให้หมูยังคงมีความชุ่มชื้น น้ำหมักหมูสามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการทำน้ำราดหมูแดงได้ต่ออีกด้วย


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire