SLider section

แหนมซี่โครงหมูทอด

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

แหนมซี่โครงหมูทอด

 

 

ความเป็นมา

แหนมเป็นการถนอมอาหารอีกประเภทหนึ่ง มีรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากการหมักของจุลินทรีย์ แหนมซี่โครงหมูทอดมีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม และบางครั้งจะหั่นเป็นชิ้นติดกระดูกอ่อนที่สามารถรับประทานได้ ให้ความกรุบกรอบเวลาเคี้ยว นิยมทานเป็นกับแกล้มคู่กับผักต่างๆเช่นขิง กะหล่ำปลี

 

คุณค่าทางโภชนาการ

เนื้อหมูมีโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง

 

ส่วนผสม

ซี่โครงหมูอ่อน           400    กรัม

ข้าวสุก                      3        ช้อนโต๊ะ

กระเทียมสับ             15      กรัม

เกลือ                          2        ช้อนชา

วิธีทำ

นำข้าวสุกมาแช่น้ำแล้วบีบน้ำออก พักไว้ล้างซี่โครงหมู ซับให้แห้งจากนั้นนำมาผสมกับ กระเทียมสับ เกลือ และข้าวสุกนำใส่ถุงพลาสติก ไล่อากาศออก ห่อแล้วมัดให้แน่น เก็บไว้ประมาณ 2 วัน จากนั้นนำมาทอดให้สุก กินกับถั่วลิสง ขิงอ่อน และกะหล่ำปลี

 

 

 

 

ภาค เหนือ

ตำจิ้นแห้ง

    ความเป็นมา จิ๊นแห้ง คือเนื้อวัวแห้งหรือเนื้อวัวย่าง เป็นการถนอมอาหารประเภทเนื้อวัวให้สามารถเก็บไว้ได้นานๆ ตำจิ๊นแห้งก็คือการโขลกพริกแกงกับเนื้อแห้งเพื่อให้มีรสชาติมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ในส่วนผสมของตำจิ๊นแห้งมีสรรพคุณต่างๆ เช่น  กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ   ส่วนผสม เนื้อวัวแห้ง                100    กรัม ผักชีซอย                  1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย              1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ              1        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช                   2        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง            15      เม็ด กระเทียม                  15      กรัม หอมแดง                  40      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                         1        ช้อนชา   วิธีทำ โขลกพริก หอมแดง กระเทียม ข่า และเกลือให้ละเอียด ใส่เนื้อวัวแห้งลงโขลกรวมกับเครื่องพริกแกงที่โขลกไว้ให้เข้ากัน พักไว้ เจียวกระเทียมกับน้ำมันพืช ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ผัดให้เข้ากัน ตักใส่ชาม โรยด้วยผักชีต้นหอม      


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ข้าวเม่าคลุกมะพร้าว

  ความเป็นมา ข้าวเม่า คือข้าวที่ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวที่ยังไม่แก่จัด เนื่องจากในภาคอีสานนิยมปลูกข้าวกันมาก จึงหาข้าวเม่ารับประทานได้ไม่ยาก และมีการนำข้าวเม่ามาประกอบอาหารหลากหลาย อีกทั้งยังทำเป็นขนมและของว่างได้อีกด้วย   คุณค่าทางโภชนาการ ข้าวเม่ามีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการ เช่นแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และไอโอดีน   ส่วนผสม ข้าวเม่าข้าวเหนียว               100    กรัม น้ำตาลทราย                        50      กรัม มะพร้าวขูดแล้วนึ่งสุก            1        ถ้วยตวง เกลือ                                      1/4     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                               2        ถ้วยตวง   วิธีทำ ตั้งน้ำสะอาดให้เดือด ใส่เกลือคนจนเกลือละลายดี ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็นนำน้ำเกลือไปพรมใส่ข้าวเม่าทีละนิดและคลุกจนข้าวเม่านิ่ม จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดลงไปคลุกให้เข้ากันตักข้าวเม่าคลุกใส่จาน โรยหน้าด้วยมะพร้าว และน้ำตาล    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงกระด้าง

ความเป็นมา แกงกระด้าง หรือ แกงหมูกระด้าง นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย  แกงกระด้างมี 2 สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู   คุณค่าทางโภชนาการ ขาหมูมีโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนั้นส่วนผสมเครื่องปรุงต่างๆยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ   ส่วนผสม ขาหมู (ไม่เอากระดูก)                     1        กิโลกรัม หอมแดง                                         30      กรัม กระเทียม                                        20      กรัม พริกไทยป่น                                    1        ช้อนชา รากผักชี หั่นละเอียด                      2        ช้อนชา เกลือ                                               1        ช้อนชา น้ำปลา                                            2        ช้อนโต๊ะ ผักชีหั่นฝอย                                   2        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ล้างเนื้อขาหมูให้สะอาด จากนั้นนำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนสุกนุ่ม โขลกกระเทียม พริกไทย รากผักชีให้ละเอียดใส่ลงในหม้อต้มขาหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา ชิมรส จากนั้นเทใส่ถาดนำไปแช่ตู้เย็นจนเซ็ทตัว ตัดเสิร์ฟโรยหน้าด้วยผักชีหั่นฝอย


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire