SLider section

แกงเผ็ดไก่

ภาค กลาง

  • recipe image cover

แกงเผ็ดไก่

ความเป็นมา

คนไทยเริ่มใช้กะทิในการทำอาหารโดยดัดแปลงมาจากการใช้นมของพวกอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในสมัยอยุธยา แต่เดิมคนไทยมีแต่แกงน้ำใส และมีน้ำพริกแกงที่ใช้สมุนไพรสดมาตำรวมกันเพื่อให้แกงมีรสชาติเข้มข้นขึ้น เมื่อนำเอากะทิมาใช้ผสมในน้ำแกง และใส่สมุนไพรอย่างใบโหระพาเพื่อให้มีกลิ่นสดชื่น จึงทำให้กลายเป็นแกงที่มีรสชาติกลมกล่อมน่ากิน

คุณค่าทางโภชนาการ

แม้แกงไก่จะใช้กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งอาจจะมีปัญหากับคอเลสเตอรอล แต่ก็มีสมุนไพรจากพริกแกงโดยเฉพาะพริกที่มีรสเผ็ดเพราะมีสารแคปไซซินช่วยขยายช่องจมูกให้ใหญ่ขึ้น จึงช่วยขับเสมหะ และลดการอุดตันของหลอดเลือด มะเขือพวงมีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยในการย่อยอาหาร มะเขือเปราะที่มีกากใยที่ช่วยระบายท้อง ใบโหระพาที่มีเบต้าแคโรทีนสูง โหระพา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 452.16 ไมโครกรัม แกงเผ็ดไก่จึงไม่ได้เป็นอาหารที่มีไขมันสูงอย่างที่หลายคนกลัว ถ้าเรากินอย่างพอเหมาะ

ส่วนผสม

กะทิ                                         4     ถ้วย

เนื้อไก่                                      300 กรัม

น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย

มะเขือเปราะ                              100 กรัม

มะเขือพวง                                 20   กรัม

ใบโหระพา                                50   กรัม

พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ                      10   กรัม

น้ำปลา

น้ำตาลเล็กน้อย

ส่วนผสมน้ำพริกแกงแดง พริกแห้ง 9 เม็ด กรีดเม็ดออกและแช่น้ำจนนุ่ม ตะไคร้ซอยบาง ¼ ถ้วย

หอมแดงซอย  ¼ ถ้วย กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นฝอย 1 ช้อนชา รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว 4 ช้อนชา ยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา

ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด

วิธีทำ   

ผัดเครื่องแกงกับกะทิเล็กน้อยจนหอม ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้ผิวด้านนอกสุกขาว จากนั้นในกะทิลงไป เติมน้ำสะอาดเล็กน้อยต้มจนเริ่มเดือดและกะทิแตกมัน ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล ชิมรส เมื่อต้องการเสิร์ฟให้ใส่ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ

 

ภาค ใต้

แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลาอินทรี

ความเป็นมา แกงเหลืองก็คือแกงส้มของภาคกลาง แต่ใส่ขมิ้นจึงมีสีเหลืองและเรียกว่าแกงเหลือง เป็นแกงพื้นบ้านที่ทำง่ายๆ กินกันทั่วไป รสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน แกงเหลืองไม่นิยมรสหวาน และมีรสเผ็ดร้อนเข้มข้นกว่าแกงส้ม แกงนี้สามารถเปลี่ยนส่วนผสมไปตามพืชพรรณของแต่ละท้องที่และเรียกชื่อไปตามพืชผักและเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุง เมนูนี้ใช้หน่อไม้ดองที่มีรสเปรี้ยวตามธรรมชาติ รสหวานจากสับปะรด และไม่ทำให้เผ็ดเกินไป ใส่ปลาอินทรีที่ทางใต้มีอย่างอุดมสมบูรณ์   คุณค่าทางโภชนาการ แกงน้ำใสรสสุขภาพที่มีรสหวาน เปรี้ยว จากพืชผักธรรมชาติโดยแท้จริง รสชาติจึงสดชื่นทั้งส้มมะขามและสับปะรดล้วนมีวิตาซีที่ช้วยป้องกันหวัดมีกากใยที่ช่วยป้องกันท้องผูก จานนี้ยังรสเผ็ดของพริกที่ช่วยแก้หวัดคัดจมูกได้อย่างดี และพริกยังมีสารไบโอเฟลโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ซึ่งอาจจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้   ส่วนผสม พริกแกง                               ½    ถ้วย หน่อไม้ดอง                           1     ถ้วย ปลาอินทรีหั่นชิ้นใหญ่           300 กรัม สับปะรดหั่นชิ้นบาง                100 กรัม น้ำปลา                                   2     ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                       2     ช้อนโต๊ะ   ส่วนผสมพริกแกง พริกสด 20 เม็ด ขมิ้นยาว  1 นิ้ว กระเทียม 7 กลีบ  กะปิ  1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างรวมกันให้ละเอียด    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ข้าวเม่าคลุกมะพร้าว

  ความเป็นมา ข้าวเม่า คือข้าวที่ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวที่ยังไม่แก่จัด เนื่องจากในภาคอีสานนิยมปลูกข้าวกันมาก จึงหาข้าวเม่ารับประทานได้ไม่ยาก และมีการนำข้าวเม่ามาประกอบอาหารหลากหลาย อีกทั้งยังทำเป็นขนมและของว่างได้อีกด้วย   คุณค่าทางโภชนาการ ข้าวเม่ามีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการ เช่นแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และไอโอดีน   ส่วนผสม ข้าวเม่าข้าวเหนียว               100    กรัม น้ำตาลทราย                        50      กรัม มะพร้าวขูดแล้วนึ่งสุก            1        ถ้วยตวง เกลือ                                      1/4     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                               2        ถ้วยตวง   วิธีทำ ตั้งน้ำสะอาดให้เดือด ใส่เกลือคนจนเกลือละลายดี ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็นนำน้ำเกลือไปพรมใส่ข้าวเม่าทีละนิดและคลุกจนข้าวเม่านิ่ม จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดลงไปคลุกให้เข้ากันตักข้าวเม่าคลุกใส่จาน โรยหน้าด้วยมะพร้าว และน้ำตาล    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ยำจิ้นไก่

ความเป็นมา ยำจิ้นไก่ มีที่มาจากพิธีเลี้ยงผีไก่ต้มของชาวล้านนา เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็นำไก่ต้มมาทำยำจิ้นไก่รับประทานกัน แม้ชื่อจะคล้ายกับอาหารประเภทยำ แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นอาหารประเภทต้ม   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อไก่มีโปรตีน อีกทั้งส่วนผสมยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เห็ดฟาง มีวิตามินซี จำนวนมากลดการติดเชื้อ ช่วยสมานแผล ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด โรคเหงือก ลดอาการผื่นคัน  หัวปลีช่วยในการขับน้ำนมของคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร   ส่วนผสม ไก่ต้ม ฉีกเป็นชิ้น                  150       กรัม เห็ดฟาง ผ่าครึ่ง ต้มสุก           80      กรัม หัวปลีต้ม ฉีกเป็นชิ้น              100      กรัม ผักชีซอย                                 2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                            2        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย                           2        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                                 5        เม็ด ข่าเผาซอย                             1        ช้อนชา ตะไคร้เผาซอย                       15      กรัม หอมแดงซอย                         30     กรัม กระเทียม                                40     กรัม วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำเครื่องแกงลงไปผัดให้หอม จากนั้นเติมน้ำสะอาดหรือน้ำซุปลงไป ใส่ไก่ต้ม เห็ดฟาง และหัวปลี ต้มจนเดือด ใส่ผักชีฝรั่งซอย ตักขึ้น โรยหน้าด้วยต้นหอม และผักชี


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire