SLider section

ผักกาดจอ

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ผักกาดจอ

ความเป็นมา

ผักกาดจอหรือจอผักกาด เป็นอาหารที่ใช้ผักกวางตุ้งที่กำลังออกดอกในการปรุง นิยมรับประทานกันแพร่หลายในทุกจังหวัดของภาคเหนือ สูตรผักกาดจอมีความแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ผักกวางตุ้งมีแคลเซียมสูงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

 

ส่วนผสม

ผัดกาดกวางตุ้งหั่นท่อน                    2        กิโลกรัม

กระดูกซี่โครงหมู หั่นเป็นชิ้น              1/2     กิโลกรัม

หอมแดง                                     30      กรัม

กระเทียม                                    20      กรัม

กระเทียมสับ                                2        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                            1        ช้อนโต๊ะ

ปลาร้าสับ                                    1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                                          1        ช้อนโต๊ะ

มะขามเปียก                                1        ถ้วย

น้ำมันพืช                                    3        ช้อนโต๊ะ

พริกแห้งทอด                               5        เม็ด

วิธีทำ

ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใส่ซี่โครงหมูลงไปต้มจนนุ่ม โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ เกลือ ปลาร้าสับ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นใส่ลงไปในหม้อต้มรอจนเดือดอีกครั้ง ใส่ผักกวางตุ้งลงไป ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรส ตั้งจนเดือดอีกครั้งปิดไฟ จากนั้นนำกระเทียมสับไปเจียวให้เหลืองหอม โรยหน้าพร้อมพริกแห้ง

 

 

ภาค เหนือ

แกงฮังเล

ความเป็นมา แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยที่มีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า “ฮิน” ในภาษาพม่า หมายถึง แกง และ “เล” ในภาษาพม่า หมายถึง เนื้อสัตว์ แกงฮังเลหาทานได้ง่ายเพราะได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วภาคเหนือ   คุณค่าทางโภชนาการ ขิงมีสรรพคุณหลากหลาย จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ   ส่วนผสม หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้น            1        กิโลกรัม ซีอิ๊วดำ                                  1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมปอก                     1/2     ถ้วยตวง ขิงสดหั่นฝอย                      1/2     ถ้วยตวง น้ำมะขามเปียก                   1/2     ถ้วยตวง ผงกะหรี่                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                1/2     ถ้วยตวง น้ำมัน                                  1/2     ถ้วยตวง น้ำตาลปี๊บ                           1/2     ถ้วยตวง น้ำสะอาด                            3        ถ้วยตวง ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้งหั่นแว่น                  6        เม็ด กระเทียมซอย                     2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                      2        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                          1        ช้อนโต๊ะ ข่าซอย                                1        ช้อนชา เกลือป่น                               1        ช้อนชา กะปิ                                     2        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันให้หอม ใส่หมูสามชั้นหั่นชิ้นลงไปผัดให้เริ่มสุก ใส่กระเทียม เติมน้ำสะอาด ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ซีอิ๊วดำ ผงกะหรี่ คนให้เข้ากันตั้งไฟอ่อนจนเดือด ใส่ขิงสดหั่นฝอยคนให้เข้ากัน ตั้งต่อจนเดือดอีกครั้ง ตักเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

กระเพาะปลา

    ความเป็นมา กระเพาะปลาเป็นอาหารจีนอีกชนิดที่มาพร้อมกับคนจีนที่มีฐานะ จัดเป็นอาหารชั้นสูงราคาแพง แต่เดิมมีขายเฉพาะในภัตตาคารก่อนที่จะแพร่หลายและมีขายทั่วไป กระเพาะปลาทำจากกระเพาะปลาตากแห้งและนำไปทอด ก่อนที่จะนำไปตุ๋นให้นุ่มในน้ำซุปจากหมูและไก่ ซึ่งต้องเคี่ยวและใช้เวลานานกว่าจะนุ่ม ในปัจจุบันมีการใส่หน่อไม้ และเลือดไก่ เป็นส่วนผสมที่คนไทยใส่เพิ่มไปซึ่งแตกต่างจากของจีน   คุณค่าอาหาร กระเพาะปลาเป็นอาหารสุขภาพของจีนจัดอยู่ในประเภท “อาหารโป๊ว”  ที่บำรุงร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะเมือกที่หุ้มกระเพาะปลาอยู่เวลาต้มแล้วจะทำให้น้ำซุปหนืดๆ ถือว่าช่วยรักษาความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้อย่างดี กระเพาะปลา 1 ชามให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม กระเพาะปลาแห้ง                200    กรัม เลือดไก่                               100    กรัม เนื้อไก่หั่นชิ้นเล็ก                  250    กรัม ไข่นกกระทาต้มสุก               10      ฟอง หน่อไม้หั่น                             100    กรัม ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำมันหอย แป้งมันผสมน้ำเล็กน้อย โครงไก่ กระดูกไขสันหลังหมู รากผักชี สำหรับทำน้ำซุป เครื่องปรุงรส พริกน้ำส้ม ซอสเปรี้ยวของจีน (จิ๊กโฉ่ว ) พริกไทย   วิธีทำ ล้างกระเพาะปลาโดยแช่น้ำให้นุ่ม บีบให้แห้ง นำไปผัดกับขิงและเหล้าจีนให้พอหอมและหมดกลิ่นหืน นำไปต้มอีกครั้งบีบให้แห้ง จากนั้นทำน้ำซุปโดยต้มโครงกระดูกไก่ กระดูกหมู ด้วยไฟอ่อน จนน้ำซุปใสได้ที่ กรองน้ำซุป นำไปต้มกระเพาะปลา เนื้อไก่ หน่อไม้ เลือดไก่ ต้มจนทุกอย่างสุกนุ่ม ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำมันหอย ใส่แป้งมันละลายน้ำพอให้ข้นเหนียว ตักใส่ชามโรยผักชี พริกไทยป่น เติมพริกน้ำส้ม ซอสเปรี้ยวตามชอบ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire