SLider section

ข้าวเม่าคลุกมะพร้าว

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ข้าวเม่าคลุกมะพร้าว

 

ความเป็นมา

ข้าวเม่า คือข้าวที่ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวที่ยังไม่แก่จัด เนื่องจากในภาคอีสานนิยมปลูกข้าวกันมาก จึงหาข้าวเม่ารับประทานได้ไม่ยาก และมีการนำข้าวเม่ามาประกอบอาหารหลากหลาย อีกทั้งยังทำเป็นขนมและของว่างได้อีกด้วย

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ข้าวเม่ามีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการ เช่นแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และไอโอดีน

 

ส่วนผสม

ข้าวเม่าข้าวเหนียว               100    กรัม

น้ำตาลทราย                        50      กรัม

มะพร้าวขูดแล้วนึ่งสุก            1        ถ้วยตวง

เกลือ                                      1/4     ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด                               2        ถ้วยตวง

 

วิธีทำ

ตั้งน้ำสะอาดให้เดือด ใส่เกลือคนจนเกลือละลายดี ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็นนำน้ำเกลือไปพรมใส่ข้าวเม่าทีละนิดและคลุกจนข้าวเม่านิ่ม จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดลงไปคลุกให้เข้ากันตักข้าวเม่าคลุกใส่จาน โรยหน้าด้วยมะพร้าว และน้ำตาล

 

 

ภาค เหนือ

แกงขนุน

ความเป็นมา แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน แต่ก่อนนิยมทำในงานบุญ เพราะชื่อที่เป็นมงคล หมายความไปถึงการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน   คุณค่าทางโภชนาการ ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากโปรตีน ไขมัน และกากใยอาหาร อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย   ส่วนผสม ซี่โครงหมูอ่อนหั่นท่อน                     300    กรัม ขนุนอ่อนหั่นชิ้น                                500    กรัม มะเขือส้มบุบพอแตก                        200    กรัม ชะอมเด็ด                                           50      กรัม น้ำปลา                                                3       ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                                           5      ถ้วยตวง ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้งเม็ดใหญ่                           8        เม็ด เกลือป่น                                          1        ช้อนชา ข่าหั่นละเอียด                                1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย                                3        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                 4        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าสับ                                       1        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด พักไว้ เติมน้ำสะอาดในหม้อขึ้นตั้งไฟกลาง  ใส่ซี่โครงหมูอ่อนลงไปต้มจนสุก ใส่พริกแกงลงไปละลายให้เข้ากัน ต้มต่อจนน้ำเดือดอีกครั้ง ใส่ขนุน มะเขือส้ม ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมรส ก่อนเสิร์ฟให้เร่งไฟแรง ใส่ชะอม ต้มพอให้ชะอมสลด ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

แกงหมูใบชะมวง

ความเป็นมา แกงน้ำขลุกขลิกที่ไม่ใส่กะทิแต่ต้องใช้เนื้อหมูติดมันอย่างหมู 3 ชั้นจึงจะอร่อย การกินเนื้อหมูเป็นวัฒนธรรมของจีนที่ไทยได้รับมาตั้งแต่อดีตเมื่อชาวจีนอพยพเข้ามา และมีการผสมผสานใช้ผักพื้นบ้านไทยโดยเฉพาะใบชะมวงมาปรุงเพื่อให้มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรี คุณค่าทางโภชนาการ ใบชะมวงมีสรรพคุณที่สำคัญคือ ให้รสเปรี้ยว มีสารอาหาร เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 และแร่ธาตุอีกมากมายรวมถึงแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส เมื่อกินพร้อมเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงร่วมกันร่างกายจะสามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ใบ ยอดอ่อน และผลของชะมวงยังจัดเป็นยาโบราณที่ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ ฟอกเสมหะ ไอ กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ อีกด้วย ส่วนผสมเครื่องแกง พริกไทยเม็ด                              1     ช้อนโต๊ะ ข่าหั่นบาง                                 15   กรัม หอมแดง                                   2     ช้อนโต๊ะ กระเทียม                                   2     ช้อนโต๊ะ รากผักชีหั่น                               2     ช้อนชา พริกชี้ฟ้าแห้งกรีดเม็ดออก            15   กรัม กะปิเผา                                     1     ช้อนชา ส่วนผสมแกงหมูชะมวง หมูสามชั้นเนื้อมากติดมันน้อย       500 กรัม หรือเนื้อหมูส่วนติดมัน หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมใหญ่ ใบชะมวงใบไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป    80   กรัม น้ำมัน                                       1     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                                  4     ถ้วย น้ำปลา                                     3     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 3     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ หั่นใบชะมวงเป็นครึ่งส่วนพักไว้ ปั่นหรือตำเครื่องแกงให้ละเอียด นำเครื่องแกงไปผัดกับน้ำมัน และเนื้อหมู เติมน้ำสะอาดต้มจนเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบชะมวงลงไปคนให้เข้ากัน ต้มต่อไปจนน้ำงวดลง และใบชะมวงอ่อนนุ่ม ตักขึ้นเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire