SLider section

ก๋วยเตี๋ยวหมูเส้นเล็กต้มยำ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ก๋วยเตี๋ยวหมูเส้นเล็กต้มยำ

 

ความเป็นมา

ก๋วยเตี๋ยวต้มยำน้ำรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน อันเป็นความโดดเด่นของต้มยำที่คนชอบมากมาปรุงในน้ำซุปโดยไม่มีกลิ่นสมุนไพร แต่ปรุงรสให้แซ่บด้วยพริกป่น น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล กลายเป็นน้ำซุปรสต้มยำซึ่งทำให้กินก๋วยเตี๋ยวได้อย่างออกรสออกชาติ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

พลังงานของก๋วยเตี๋ยวต้มยำใกล้เคียงกับก๋วยเตี๋ยวน้ำหมูทั่วไปเพียงแต่มีรสเข้มข้นขึ้นด้วยทำให้ก๋วยเตี๋ยวจานนี้อิ่มอร่อย และสดชื่น เพราะรสเผ็ด เปรี้ยว ช่วยให้สมองรู้สึกปลอดโปร่ง ช่วยขับเหงื่อทำให้ตัวเบาไม่รู้สึกแน่นท้อง ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กต้มยำหมู 1 ชามให้พลังงาน 335 กิโลแคลอรี

 

ส่วนผสม

เส้นเล็ก                              300    กรัม

หมูสับ                               150    กรัม

หมูแดงหั่นบาง                    100    กรัม

กากหมูเจียว                        ½       ถ้วย

ถั่วงอก                                 100    กรัม

ต้นหอม ผักชีซอย สำหรับโรยหน้า

เครื่องต้มยำ พริกป่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู

ส่วนผสมน้ำซุป

กระดูกส่วนสะโพกหมู กระดูกไขสันหลังหมู ขิงหั่นแว่น ต้มรวมกันด้วยไฟอ่อน

วิธีทำ

ลวกเส้นก๋วยเตี๋ยวและถั่วงอก (ปริมาณสำหรับ 1 คน) ใส่ชาม  ตักน้ำซุปเดือดๆ ใส่ในหมูสับเล็กน้อย เทใส่ชามก๋วยเตี๋ยว วางหมูแดง 4-5 ชิ้น ใส่กากหมูเจียว พริกป่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชูอย่างละประมาณ ½-1  ช้อนโต๊ะ ตักน้ำซุปเดือดๆ ใส่โรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชี

 

 

 

ภาค กลาง

ข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ

ความเป็นมา น้ำพริกลงเรือเป็นน้ำพริกที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์เป็นผู้คิดค้นขึ้นเมื่อครั้งอยู่วังสวนสุนันทา ซึ่งท่านต้องจัดเตรียมสำรับให้เจ้านายผู้ใหญ่เมื่อยังไม่ถึงเวลาเสวย จึงเข้าไปในห้องเครื่องของเรือเห็นมีน้ำพริกกะปิและเครื่องเคียงเหลืออยู่อย่างละนิดละหน่อย เช่น หมูหวาน ปลาดุกทอดฟู ไข่เค็มแดง จึงนำมารวมกันและนำไปถวายกลายเป็นอาหารจานโปรดและตั้งชื่อว่า น้ำพริกลงเรือ เมื่อเวลาผ่านไปน้ำพริกนี้ก็แพร่หลายในคนทั่วไป พอถึงยุคที่คนไม่มีเวลาจึงนำน้ำพริกมาผัดข้าวกลายเป็นอาหารจานเดียวที่กินได้ง่ายและเร็ว   คุณค่าทางโภชนาการ น้ำพริกลงเรือเป็นทั้งอาหารครบหมู่และครบรสเพราะน้ำพริกกะปิมีรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว หมูหวานมีรสหวาน และปลาดุกฟูมีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบและมีโปรตีน เช่นเดียวกับกะปิและหมู เมื่อกินกับผักสดจะเสริมวิตามินต่างๆ ได้   ส่วนผสม ข้าวสวย                            2        ถ้วย น้ำพริกกะปิ                        3        ช้อนโต๊ะ หมูหวาน                             3        ช้อนโต๊ะ ไข่เค็มแดง                           1        ฟอง ปลาดุกฟูขยี้แหลก                 2        ช้อนโต๊ะ กระเทียมดองซอยบาง           1        ช้อนโต๊ะ ผักดิบต่างๆ เช่น ขมิ้นขาว ถั่วพู แตงกวา   วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อน ใส่ข้าวลงไปผัดพร้อมน้ำพริกกะปิ ใส่หมูหวาน ผัดให้เข้ากัน ตักใส่จาน วางไข่แดงหั่นเป็นชิ้นเล็กบนหน้าข้าว โรยปลาดุกฟู และกระเทียมดองซอยบาง


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ต้มแซ่บซี่โครงหมู

    ความเป็นมา ต้มแซ่บเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในภาคอีสานอีกหนึ่งเมนู มีความคล้ายคลึงกับต้มยำในภาคกลางแต่จะใส่พริกป่นแทนพริกสด และเลือกใช้เนื้อสัตว์เช่นหมูและเนื้อวัวมากกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น รสชาติของต้มแซ่บจะไม่เปรี้ยวมาก เน้นความกลมกล่อมจากส่วนผสมต่างๆที่ใส่ลงไป   คุณค่าทางโภชนาการ ต้มแซ่บมีสรรพคุณมากมายจากสมุนไพรและผัก เช่นข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี เห็ดฟาง พริกขี้หนูและมะเขือเทศมีวิตามินซีสูง ผักชีฝรั่งช่วยแก้ท้องอืด ดับกลิ่นปาก   ส่วนผสม กระดูกหมูอ่อน ต้มแล้วหั่นเป็นชิ้น       350    กรัม เห็ดฟางผ่าครึ่ง                                    1/2     ถ้วย ตะไคร้หั่นท่อน                                     30      กรัม ข่าหั่นแว่น                                             10      กรัม มะเขือเทศสีดา                                     80      กรัม หอมแดง                                                40      กรัม น้ำปลา                                                    3        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                                 3        ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดฉีก                                             3        กรัม ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                                     15      กรัม พริกขี้หนูแห้ง คั่ว                                       8        เม็ด พริกป่น                                                        1        ช้อนชา ผักชีเด็ดใบ                                                 10      กรัม วิธีทำ ตั้งหม้อใส่น้ำบนไฟกลาง ใส่หอมแดง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ต้มจนเดือด ใส่กระดูกหมู ต้มสักพักจนสุกนุ่ม ใส่เห็ดฟาง มะเขือเทศ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว พริกป่น ตักใส่ชามโรยหน้าด้วยผักชี ผักชีฝรั่ง พริกแห้งคั่ว    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire