SLider section

แกงส้มแตงโมอ่อนกับดอกแค

ภาค กลาง

  • recipe image cover

แกงส้มแตงโมอ่อนกับดอกแค

แกงส้มแตงโมอ่อนกับดอกแคความเป็นมา

คำว่า “ส้ม” ในพจนานุกรมไทยหมายถึง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว แกงส้มจึงเป็นแกงที่มีรสเปรี้ยวนำ เป็นแกงพื้นฐานที่กินกันทั่วไปประเทศ และเปลี่ยนชื่อไปตามพืชผักพื้นบ้านของแต่ละภูมิภาคที่หาได้ ผักที่ทำแกงส้มจึงมีมากมายหลากหลาย  ส่วนรสชาติก็ปรับไปตามความชอบแต่ควรมีรสเปรี้ยวนำ เช่น ภาคใต้มักจะเผ็ดมาก ภาคเหนือรสไม่ออกหวาน เป็นต้น แกงส้มแตงโมอ่อนกับดอกแคเป็นแกงส้มภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยวนำ หวานตาม

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงส้มจัดได้ว่าเป็นอาหารสุขภาพชั้นเลิศของไทย เพราะส่วนผสมพริกแกงมีพริกนำ พริกมีรสเผ็ดร้อนที่ช่วยกระตุ้นสมองหลั่งสารเอ็นโดฟินทำให้มีความสุข และเลือดไหลหมุนเวียนดี โปรตีนได้จากเนื้อปลาหรือกุ้ง ไม่มีไขมัน มีน้ำมะขามเปียกและผักที่ให้กากใยที่ช่วยระบายท้อง แตงโมอ่อนเป็นผลไม้ที่มีน้ำมากมีฤทธิ์เย็นทำให้ร่างกายคลายความร้อน ดอกแคเป็นผักที่ช่วยแก้ไข้หัวลมซึ่งเป็นไข้ที่มักเป็นกันในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว

ส่วนผสม

น้ำพริกแกงส้ม                            ½    ถ้วย

เนื้อกุ้งต้มสุก                              ½    ถ้วย

กุ้งสด                                        100 กรัม

แตงโมอ่อน หั่นเป็นชิ้นใหญ่         400 กรัม

ดอกแค                                     1     ถ้วย

น้ำมะขามเปียก                           ½    ถ้วย

น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมน้ำพริกแกงส้ม  พริกแห้ง 5 เม็ด เอาเมล็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดง 2 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1 ช้อนชา  ตำทุกอย่างรวมกันจนละเอียด

วิธีทำ

นำน้ำพริกแกงส้มปั่นหรือตำรวมกับเนื้อกุ้งต้มสุก แล้วนำไปละลายกับน้ำเล็กน้อย เพื่อให้พริกแกงไม่จับเป็นก้อน ผัดจนได้กลิ่นหอม จากนั้นใส่น้ำสะอาดหรือน้ำสต๊อกลงไปคนให้น้ำพริกละลายตั้งไฟจนเดือด ใส่แตงโมอ่อน และกุ้งสด ปรุงรส เมื่อต้องการเสิร์ฟให้ตั้งไฟใส่ดอกแค เมื่อดอกแค่สลดและน้ำแกงเดือดให้ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ

ภาค เหนือ

เจียวไข่มดแดง

    ความเป็นมา ในภาคเหนือและภาคอีสานนิยมนำไข่มดแดงมาทำเป็นอาหาร เจียวไข่มดแดงเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ชาวล้านนานำไข่มดแดงมาทำเป็นอาหารได้อร่อย และทำได้ไม่ยาก   คุณค่าทางโภชนาการ ไข่มดแดงมีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ เมื่อรวมกับเครื่องปรุงต่างจะยิ่งเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารไข่ไก่ยังให้วิตามินและโปรตีนที่มีประโยชน์   ส่วนผสม ไข่มดแดง                 50      กรัม ไข่ไก่                        2        ฟอง มะเขือเทศ                80      กรัม หอมแดง                  15      กรัม ผักชี ซอย                 1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอม ซอย             1        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                  3        เม็ด กระเทียม                 10      กรัม หอมแดง                  15      กรัม กะปิ                          1        ช้อนชา เกลือ                       ½       ช้อนชา วิธีทำ โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียดพักไว้ นำหม้อตั้งไฟ ใส่น้ำสะอาดนำเครื่องแกงลงละลายตั้งไฟจนเดือด จากนั้นใส่ไข่มดแดง หอมแดง และมะเขือเทศ ใส่ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน พอสุก ตักใส่ภาชนะ พร้อมเสิร์ฟ      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ลาบปลาดุก

ความเป็นมา ลาบปลาดุกถูกดัดแปลงเพื่อให้เกิดรสชาติและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะรสชาติและรสสัมผัสของปลาดุกย่างจะแตกต่างจากเนื้อสัตว์โดยทั่วไป เนื้อปลาจะนุ่มและซึมซับรสของเครื่องปรุงได้ดีกว่า จึงได้รสชาติที่จัดจ้านกว่าเนื้อปลาชนิดอื่น   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลาดุกย่างมีสรรพคุณคือ มีโปรตีนสูง และไขมันต่ำ นอกจากนั้น ข่ายังช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนหอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจผักชีฝรั่งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ใบสะระแหน่ช่วยบำรุงสายตา คลายเครียด ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม ปลาดุกหนัก 300 กรัม                   1        ตัว ใบมะกรูดหั่นฝอย                          2        ช้อนชา ข่าโขลกละเอียด                            1        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                10      กรัม ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                                 10      กรัม ข้าวคั่วป่น                                    2        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                       2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                   2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ล้างปลาดุกให้สะอาด ขูดเมือกบนผิวออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อนำมาสับหยาบๆ จากนั้นเคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย และใบมะกรูดหั่นฝอยปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว คลุกเคล้ากันให้ทั่ว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักเคียง    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire