SLider section

แกงป่าปลาดุกใส่ใบยี่หร่า

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงป่าปลาดุกใส่ใบยี่หร่า

ความเป็นมา

แกงป่าเป็นชื่อที่บอกได้ดีว่า เป็นการนำของป่าหรือสมุนไพรสดที่หาได้ในป่ามาปรุงอาหาร ไม่ใส่กะทิ กลิ่นสมุนไพรใช้กลบกลิ่นเนื้อสัตว์ และเพิ่มความหอมให้น่ากิน  ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดที่หาได้ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไปเมื่อนำมาแกงกับสมุนไพรจึงได้กลิ่นหอมและรสเผ็ดร้อนที่ชวนกิน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันในอันดับต้นๆ มีโอเมก้า 3 ซึ่งหลายคนคิดว่ามีแต่ในปลาทะเลเท่านั้น แต่ปลาดุกมีทั้งโอเมก้า 3 ใกล้เคียงกับปลาน้ำลึก เนื้อปลาดุก 100 กรัมมีโปรตีน  23.0 กรัม และเมื่อแกงรวมกับน้ำพริกแกงและใบยี่หร่าที่มีกลิ่นหอมรสร้อนแรง จานนี้จึงทำให้สมองโล่งโปร่งสบาย

 

ส่วนผสม

ปลาดุกหั่นเป็นชิ้น          300 กรัม

น้ำพริกแกงใต้               3     ช้อนโต๊ะ

กระชายหั่นฝอย            50   กรัม

ใบมะกรูดฉีก                 5     กรัม

พริกไทยอ่อน                10   กรัม

ใบยี่หร่า                40   กรัม

เกลือ                           ½    ช้อนชา

วิธีทำ ตั้งน้ำใส่หม้อจนเดือดใส่พริกแกงคนให้ละลาย รอให้เดือดอีกครั้งจึงใส่ปลาต้มจนปลาสุก ใส่กระชาย พริกไทยอ่อน ใบมะกรูด เกลือ ก่อนยกลงใส่ใบยี่หร่า คนให้พอเข้ากัน ตักเสิร์ฟ

 

 

ภาค เหนือ

แกงอ่อมหมู

ความเป็นมา แกงอ่อมหมูของทางภาคเหนือ จะแตกต่างจากแกงอ่อมในภาคอีสาน เพราะมีพริกแกงที่รสชาติจัดจ้านกว่า สมัยก่อนแกงอ่อมของชาวล้านนาจะเป็นอาหารที่นิยมทานกันในช่วงเวลาที่สำคัญๆท่านั้น   คุณค่าทางโภชนาการ เครื่องแกงของแกงอ่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ            200    กรัม ข่าอ่อนซอย                                   10      กรัม ตะไคร้ซอย                                    15      กรัม ใบมะกรูด                                        4        ใบ รากผักชี                                         10      กรัม ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย                                        1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืชสำหรับผัด ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                                     7        เม็ด หอมแดง                                     30      กรัม กระเทียม                                    15      กรัม ข่าซอย                                       1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ รากผักชีซอย                                1        ช้อนชา กะปิ                                             1        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูลงไปผัดจนหมูเริ่มสุก ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำลงให้พอท่วมเนื้อหมู เคี่ยวต่อจนเนื้อนุ่ม ใส่ใบมะกรูด และผักชีฝรั่ง ตั้งไฟจนเดือด ยกลง ตักเสิร์ฟพร้อมโรยด้วยต้นหอม ผักชี    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ปลาโอต้มหวาน

    ความเป็นมา อาหารรสหวานในสำรับอาหารใต้ มักเป็นการช่วยแก้รสเผ็ดซึ่งเป็นรสชาติประจำของอาหารใต้ จึงนำปลาโอที่มีอยู่ชุกชุมมาต้มใส่น้ำตาลและซีอิ๊วให้มีรสหวานนำ เค็มตาม ใช้รับประทานคู่กับอาหารใต้รสจัดได้หลายเมนู   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาโอจัดเป็นปลาทูน่าสายพันธุ์หนึ่ง เนื้อสีชมพูแดงเข้ม นิยมนำมาทำปลาทูน่ากระป๋อง เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อนำมาต้มหวานยิ่งต้มเนื้อจะยิ่งแข็งขึ้น ปลาโอเป็นปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงในระดับต้นๆ ของปลาทะเล และมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง จึงช่วยเรื่องหลอดเลือดทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจไม่ให้อุดตัน   ส่วนผสม ปลาโอหั่นชิ้น                      300    กรัม กระเทียมบุบ                      10      กรัม หอมแดง                            20      กรัม ตะไคร้บุบ                           30      กรัม น้ำสะอาด                           2        ถ้วย น้ำตาลมะพร้าว                   3        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วดำ                               2        ช้อนชา เกลือ                                   1        ช้อนชา   วิธีทำ ตั้งหม้อใส่น้ำพอเดือดใส่หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ต้มจนเดือดใส่เนื้อปลา รอจนเดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว ซีอิ๊วดำ เกลือ ลดไฟอ่อน ต้มไปเรื่อยๆ จนเนื้อปลาแข็ง ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire