SLider section

แกงกล้วยดิบ

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

แกงกล้วยดิบ

ความเป็นมา

แกงกล้วยดิบ เป็นแกงชนิดหนึ่ง ใช้กล้วยน้ำว้าดิบเป็นส่วนผสมเพราะหาได้ทั่วไปกล้วยจึงเป็นที่นิยมที่จะนำมาประกอบอาหารหลากหลายประเภท

 

คุณค่าทางโภชนาการ

กล้วยน้ำว้าช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ในการช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี

 

ส่วนผสม

กล้วยน้ำว้าดิบ                     400    กรัม

เนื้อหมูสามชั้น                    100    กรัม

ชะอมเด็ด                             50      กรัม

ชะพลูหั่นหยาบ                   50      กรัม

หอมแดงซอย                        1     ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมพริกแกง

พริกขี้หนูแห้ง                      15      เม็ด

กระเทียม                            10      กรัม

หอมแดง                            30      กรัม

ข่าหั่น                                 1        ช้อนโต๊ะ

ตะไคร้ซอย                         1        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                     1        ช้อนโต๊ะ

ปลาร้าต้มสุก                      1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                                 1/2     ช้อนชา

วิธีทำ

ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับหมูสามชั้นจนมีกลิ่นหอม และหมูเริ่มสุก เติมน้ำให้พอท่วม ตั้งไฟจนเดือด ใส่กล้วยน้ำว้าดิบหั่นเป็นแผ่นบางๆ ตั้งไฟจนเดือดอีกครั้ง ใส่หอมแดงซอย ชะอมเด็ด และใบชะพลู คนให้เข้ากันและผักสุก ตักขึ้นเสิร์ฟ

ภาค กลาง

ผัดเปรี้ยวหวานกุ้งหมู

    ความเป็นมา ผัดเปรี้ยวหวานเป็นอาหารที่ทั้งชาวไทยและชาวจีนนิยมกัน ชาวจีนมักจะผัดผักปรุงรสให้เปรี้ยวหวานและนำมาราดปลาทอด แต่สำหรับชาวไทยจะผัดกับกุ้งและหมู จุดเด่นของอาหารจานนี้คือ ต้องปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวในอาหารจีน และต้องปรุงรสหวานจากน้ำตาลทรายเท่านั้น   คุณค่าทางโภชนาการ รสเปรี้ยวและหวานทำให้กินอาหารจานนี้ได้อร่อยขึ้น หมูและกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีหอมหัวใหญ่เมื่อกินสดจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่ไม่ว่าจะกินดิบหรือสุกสามารถช่วยต้านผลร้ายของอาหารมันๆ ที่มีต่อเลือดได้ เพราะมีสารช่วยป้องกันเลือดแข็งตัว และอาจเพิ่มอัตราเร่งการสลายตัวของลิ่มเลือดได้   ส่วนผสม เนื้อหมู กุ้ง รวมกัน               120    กรัม กระเทียมบุบ                        5        กรัม น้ำซุปประมาณ                     1        ถ้วย แตงกวาหั่นชิ้นใหญ่             80      กรัม หอมหัวใหญ่                        80      กรัม พริกหยวกหรือพริกหวาน     50      กรัม ต้นหอมหั่นเป็นชิ้นยาว           20      กรัม น้ำส้มสายชู                             3        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                     2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2        ช้อนโต๊ะ แป้งมันสำปะหลังใส่น้ำเล็กน้อย วิธีทำ ใส่น้ำมันในกระทะ พอร้อน เจียวกระเทียมให้หอม ใส่กุ้ง และหมูรวนพอสุกใส่แตงกวา หอมหัวใหญ่ พริกหยวก ผัดพอเข้ากัน ใส่น้ำซุป ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลา พอเดือดใส่แป้งมันผสมน้ำ ผัดให้พอข้นเหนียว ใส่ต้นหอม ตักใส่จานเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

แจ่วฮ้อน

  ความเป็นมา แจ่วฮ้อน หรือสุกี้อีสาน มีวิธีทำเหมือนกับสุกี้ของภาคกลาง แต่จะใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพื่อรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวกินคู่กับน้ำจิ้มแจ่วรสแซ่บตามสไตล์ของคนอีสาน   คุณค่าทางโภชนาการ แจ่วฮ้อนมีส่วนผสมที่มีประโยชน์ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ที่ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี   ส่วนผสม เนื้อสัตว์ตามชอบ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลาหมึก น้ำซุปกระดูกหมู              1        ถ้วยตวง ข่าซอยละเอียด               15      กรัม ตะไคร้หั่นท่อน                30      กรัม รากผักชีทุบ                     10      กรัม ใบมะกรูด                          3        ใบ เกลือป่น                             1        ช้อนชา ใบผักชีฝรั่งซอย                15      กรัม ต้นหอมหั่น                       20      กรัม ใบโหระพา น้ำปลา น้ำตาลทราย ส่วนผสมน้ำจิ้มแจ่ว พริกป่น                        1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                         2        ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว                           2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก              2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                           1        ช้อนชา วิธีทำ ทำน้ำจิ้มแจ่วโดยผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน คนให้น้ำตาลละลายพักไว้ จากนั้นตั้งน้ำซุปกระดูกหมูบนไฟกลาง ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาลทราย จนน้ำซุปเดือด ใส่เนื้อสัตว์ ต้มจนเนื้อสัตว์สุกดี ใส่ผักชีฝรั่ง และต้นหอม ยกเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ฉู่ฉี่ปลาทู

ความเป็นมา ฉู่ฉี่เป็นอาหารไทยที่มีน้ำข้น ขลุกขลิก เพราะมีถั่วลิสงในเครื่องพริกแกง  รสหวานนำ มีกลิ่นหอมเด่นของใบมะกรูด บางคนตั้งข้อสังเกตว่าฉู่ฉี่ปลาทูคล้ายกับปลาทูสอดไส้พริกอาหารเปอรานากัน หรือ บ้าบ๋า ย่าหยา และถูกปรับเปลี่ยนโดยคนภาคกลาง ที่นิยมกินกะทิจึงใส่กะทิให้มีความหอมมันและใช้ราดหน้าปลาแทน   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาทูจัดเป็นปลาทะเลน้ำลึกที่มีโอเมก้า 3 สูสีหรือล้ำหน้าปลาแซลมอนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาถูกกว่า สดกว่า หาง่ายกว่า ปลาทู 100 กรัมมีโอเมก้า 3 ประมาณ 2-3 กรัม ให้พลังงาน 81 -93 กิโลแคลอรี โปรตีน 18 -24 กรัม ธาตุเหล็ก 0.4-1.8 มิลลิกรัม ไขมัน 2-18 กรัม และยังมีไขมันไม่อิ่มตัวที่ลดปัญหาคอเลสเตอรอลซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดไขมันอุดตัน และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยงานเหมาะกับผู้สูงอายุ   ส่วนผสม ปลาทูนึ่งตัวละ 120 กรัม               4     ตัว กะทิ                                         1 ½ ถ้วย พริกแกงแดง                              ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดซอย                            3     กรัม พริกชี้ฟ้าซอยสำหรับโรยหน้า วิธีทำ ทอดปลาทูนึ่งให้เหลืองหอมเตรียมไว้ จากนั้นปั่นหรือตำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วป่นให้ละเอียด นำลงไปผัดกับกะทิเล็กน้อยปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ เติมกะทิที่เหลือ ใส่ใบมะกรูดซอย คนให้เข้ากัน นำไปราดลงบนตัวปลาทู ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าซอย


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire