SLider section

ส้มตำไทย

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ส้มตำไทย

ความเป็นมา

ส้มตำไทย เป็นอาหารไทยยอดนิยมอีกหนึ่งเมนูที่มีชื่อเสียงแพร่หลายไปยังต่างประเทศ มีรสชาติที่ถูกปาก และจากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงเป็นอาหารที่ทำได้สะดวก  อร่อย อีกทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการสูง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ส้มตำไทย เป็นอาหารสุขภาพ ที่เปี่ยมไปด้วยวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ เช่น มะละกอมีเอนไซน์ปาปีน ที่ช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย

 

ส่วนผสม

มะละกอดิบสับเป็นเส้น          80      กรัม

แครอทขูดเส้น                     20      กรัม

กระเทียม                             5        กรัม

พริกขี้หนู                             3        เม็ด

มะเขือเทศสีดาผ่าครึ่ง            30      กรัม

ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน            25      กรัม

กุ้งแห้ง                              2        ช้อนโต๊ะ

ถั่วลิสงคั่ว                           1        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                               1        ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว                          ¼       ถ้วย

น้ำตาลปี๊บ                          1        ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

ใส่กระเทียมและพริกขี้หนู ลงในครก โขลกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกจากนั้นใส่มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา  แล้วคลุกให้เข้ากันใส่มะละกอ ตามด้วยถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้งแล้วโขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันชิมแล้วปรุงจนชอบ ตักใส่จาน รับประทานพร้อมผักสด

ภาค ใต้

หลนปูเค็ม

    ความเป็นมา หลน จัดเป็นเครื่องจิ้มอย่างหนึ่งของไทย น้ำขลุกขลิกใส่กะทิ มีรสหวานจากกะทิและน้ำตาลมะพร้าว กินกับผักสดต่างๆ ทางใต้มีพื้นที่ติดทะเลจึงมีปูมากและนำมาทำปูเค็มซึ่งจัดเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งให้เก็บไว้กินได้นาน ใช้เพื่อปรุงรสเค็มในการทำหลนนี้ด้วย   คุณค่าทางโภชนาการ ปูเป็นซีฟู้ดที่มีโพแทสเซียมและสังกะสีสูง ส่วนผสมสมุนไพร เช่น หอม ตะไคร้ พริกขี้หนู ทำให้มีกลิ่นหอมชวนกินแล้ว ยังให้ความรู้สึกสดชื่น และหลนเป็นเครื่องจิ้มที่มีรสจัดจึงทำให้กินผักสดต่างๆ ได้มาก วิตามินและเกลือแร่จึงได้มากจากผักสด เช่น ขมิ้นขาว สายบัว มะเขือเปราะ ที่กินเป็นเครื่องเคียงนี้เอง   ส่วนผสม ปูเค็ม หั่นครึ่ง            5        ตัว หัวกะทิ                       1        ถ้วย หอมแดงซอย             30      กรัม ตะไคร้ซอย                 50      กรัม พริกขี้หนูซอย             5        กรัม น้ำตาลมะพร้าว          3        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ตั้งกะทิพอเดือดใส่หอม ตะไคร้ คนให้เข้ากัน เมื่อเดือดอีกครั้งใส่ปู ปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว พอเดือด ชิมรส กินกับผักสดต่างๆ เช่น ใบบัวบก แตงกวา มะเขือเปราะ เป็นต้น    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

  ความเป็นมา บะหมี่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนที่ทำจากแป้งสาลีผสมไข่ เส้นจึงมีสีเหลือง นุ่ม ส่วนผสม เช่น เกี๊ยว หมูแดง ก็ล้วนเป็นอาหารของจีน บะหมี่มาพร้อมกับคนจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยและเปิดร้านขาย มีทั้งขายในร้านคูหาเดียวหรือในภัตตาคาร ความอร่อยของเส้นหมี่ต้องนุ่มเหนียวไม่กระด้างหรือแข็งแม้เก็บไว้นาน เกี๊ยวกุ้งเนื้อกุ้งต้องเด้งกรอบ แผ่นเกี๊ยวแป้งต้องบางนุ่ม หมูแดงต้องหอมควันไฟและเนื้อนุ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ บะหมี่หมูแดงส่วนผสมแต่ละชนิดมีคุณค่าอาหารในตัวเอง เช่น เส้นบะหมี่มีคาร์โบไฮเดรทและวิตามินต่างๆ จากแป้งสาลีและไข่  เกี๊ยวกุ้งมีวิตามินบี 12  ไอโอดีน และซิลีเนียมสูง มีแคลเซียมพอสมควร หมูแดงมีโปรตีนและวิตามินชนิดต่างๆ ส่วนผักใบเขียวมีเบต้าแคโรทีน จานนี้แม้ส่วนผสมจะมีอย่างละเล็กละน้อย แต่บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง 1 ชามให้พลังงาน 305 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม บะหมี่                                  50      กรัม เกี๊ยวกุ้ง                                 4        ชิ้น หมูแดงหั่นบาง                     30      กรัม ผักกวางตุ้งลวก                    50      กรัม กระเทียมเจียว                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำซุป วิธีทำ ลวกผักกวางตุ้งและเส้นบะหมี่ใส่ชามคลุกกับกระเทียมเจียวเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน ลวกเกี๊ยวกุ้งใส่ วางหมูแดง ตักน้ำซุปราด กินร้อนๆ กับเครื่องปรุงตามชอบ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire