SLider section

ยำไตปลา

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ยำไตปลา

 

 

ความเป็นมา

ยำไตปลาเป็นการนำไตปลาซึ่งเป็นของหมักดองมาปรุงอาหารให้อร่อยอีกเมนูหนึ่งซึ่งโดยทั่วไปคนนิยมนำไปทำแกงไตปลา แต่ยำจานนี้เป็นยำไตปลาที่ใส่กะทิให้มีรสมัน มีกลิ่นหอมจากสมุนไพรสดต่างๆ ที่ซอยใส่รวมไปกับเนื้อปลา และมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน อร่อยอย่างยำทั่วไป

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ไตปลาเป็นของหมักดองจากพุงปลา กระเพาะปลาที่มีโปรตีนสูง ในขณะเดียวกันก็ได้โปรตีนจากเนื้อปลาย่างที่ใส่รวมไปด้วย ไขมันจากกะทิ และกลิ่นรสสดชื่นที่ทำให้หายใจได้โล่งโปร่งสบายจากสมุนไพรสด เช่น พริก หอม ข่า ตะไคร้ เป็นต้น

 

ส่วนผสม

ไตปลา                                        200    กรัม

ข่า ตะไคร้ ขมิ้น บุบ  ใบมะกรูด 4-5 ใบ สำหรับต้มไตปลา

หัวกะทิ                                           1        ถ้วย

ตะไคร้ซอยบาง                              ½       ถ้วย

หอมแดงซอยบาง                           ½       ถ้วย

ข่าซอยเป็นเส้น                                1        ช้อนโต๊ะ

กระชายซอยเป็นเส้น                        ¼       ถ้วย

พริกขี้หนูซอย                                    5        กรัม

ใบมะกรูดซอย                                    5        ใบ

น้ำมะนาว                                              2        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลมะพร้าว                                     2        ช้อนโต๊ะ

เนื้อปลาทูย่างหรือเนื้อปลาโอย่าง        80      กรัม

วิธีทำ

ต้มไตปลากับข่า ตะไคร้ ขมิ้น ใบมะกรูด ต้มจนเดือด กรองไตปลา พักไว้แบ่งไตปลาที่ต้มไว้ประมาณ  3-4 ช้อนโต๊ะมาต้มกับกะทิ พอเดือดใส่เนื้อปลา ยกลงปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำตาล ใส่สมุนไพร และเนื้อปลาที่เตรียมไว้ทั้งหมด คลุกให้เข้ากัน ชิมรส กินกับผักสดต่างๆ

 

 

 

ภาค อีสาน

ข้าวต้มมัด

ความเป็นมา ข้าวต้มมัดหรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุกสมัยก่อนนิยมรับประทานกันในงานบุญต่างๆ   คุณค่าทางโภชนาการ กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์ เช่นแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารเทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ในการช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี   ส่วนผสม ข้าวเหนียวเขี้ยวงูใหม่                     800    กรัม กล้วยน้ำว้าสุกลูกละ 80 กรัม            10      ผล ถั่วดำนึ่งสุก                                      100    กรัม น้ำตาลทราย                                     100    กรัม เกลือป่น                                             1        ช้อนชา กะทิ                                                    3        ถ้วย ใบตองสำหรับห่อ   วิธีทำ ตั้งกะทิในกระทะบนไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือดจึงใส่เกลือ น้ำตาลทราย และข้าวเหนียว ลดไฟลง ผัดจนส่วนผสมเข้ากัน จนเริ่มแห้งปิดไฟ พักไว้ให้เย็นฝานกล้วยเป็นชิ้น 3 ส่วน จากนั้น วางข้าวเหนียวผัดบนใบตองใส่กล้วยตรงกลาง และใส่ข้าวเหนียวปิดหน้า โรยด้วยถั่วดำนึ่งสุก ห่อให้แน่นและมัดด้วยตอกนำข้าวต้มมัดเรียงใส่ซึ้ง นึ่งด้วยไฟแรงประมาณ 20 นาทีจนสุก ปิดไฟยกลงจัดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำมะเขือยาว

    ความเป็นมา มะเขือยาวเป็นผักพื้นบ้านที่หาทานได้ทั่วไป มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการมากมาย สามารถนำมาประกอบอาหารได้ปลายประเภท ชาวล้านนานิยมนำมาตำเป็นน้ำพริกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ มะเขือยาวมีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และแคลเซียมจากมะเขือยาวยังช่วยบำรุงกระดูกและฟัน   ส่วนผสม มะเขือยาว               300    กรัม พริกหนุ่ม                 60      กรัม กระเทียม                 30      กรัม หอมแดง                  30      กรัม กะปิเผา                   1        ช้อนชา เกลือ                       1        ช้อนชา ผักชี หั่น                  2        ช้อนโต๊ะ ต้นหอม หั่น              2        ช้อนโต๊ะ กระเทียม สับ            1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                     2        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช   วิธีทำ นำมะเขือยาว หอมแดง กระเทียม พริกหนุ่ม เผาไฟ แล้วปอกเปลือกออกให้หมด นำพริกหนุ่มโขลกกับเกลือให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกให้เข้ากัน ใส่มะเขือยาว โขลกให้เข้ากัน พักไว้ ตั้งกระทะใส่น้ำมัน เจียวกระเทียมสับจนหอม ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ลงผัด ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ต้นหอม ผักชี ตักขึ้น        


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

น้ำพริกกะปิ

ความเป็นมา น้ำพริกคู่ครัวไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตและกินกันทุกครัวเรือน กะปิเรียกได้ว่าเป็นอาหารร่วมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กินกันทุกประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน คำว่า”กะปิ” นี้ว่ากันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “งาปิ” ซึ่งเป็นภาษามอญ น้ำพริกกะปิของไทยต้องมีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และไม่ควรข้นเกินไปเพราะต้องกินกับข้าวและเครื่องเคียงอย่าง ปลาทู ผักสด และผักทอดต่างๆ   คุณค่าทางโภชนาการ กะปิทำจากเคยหมักจึงให้แคลเซียมสูงมาก กะปิ 100 กรัม ให้แคลเซียมสูงถึง 1,554 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ในน้ำพริกยังมีกระเทียมที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด พริกกระตุ้นความอยากอาหาร และมะอึกที่มีรสเปรี้ยวทำให้น้ำพริกมีรสกลมกล่อม อร่อย ทำให้กินผักเครื่องเคียงต่างๆ ที่มีวิตามิน และกากใยได้อีกมากมาย   ส่วนผสม กะปิอย่างดี เผาไฟ                      2     ช้อนโต๊ะ กระเทียม                                   10   กรัม กุ้งแห้งตำละเอียด                       2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูเขียว แดง รวมกัน          10   กรัม มะอึก ขูดขนออกหั่นบาง              60   กรัม น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนชา น้ำมะนาว                                  2     ช้อนโต๊ะ มะเขือพวงบุบ                            10   กรัม เครื่องเคียง ปลาทูทอด ผักลวก เช่น หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักทอด เช่น มะเขือยาวชุบไข่ทอด ไข่ชะอมทอด วิธีทำ ตำกระเทียม และกะปิให้เข้ากันดี ทำให้กลิ่นของกะปิและกระเทียมไม่แรงจนเกินไป จากนั้นใส่กุ้งแห้ง พริกขี้หนู ตำให้พริกพอแหลก ใส่มะอึก ตำเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา คนให้เข้ากัน จากนั้นตักออกจากครกจึงใส่น้ำมะนาว ชิมรสอีกครั้ง จึงใส่มะเขือพวงบุบ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire