SLider section

คั่วหน่อไม้

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

คั่วหน่อไม้

ความเป็นมา

ในภาษาเหนือ คั่ว หมายถึงการผัด คั่วหน่อไม้ ก็คือผัดหน่อไม้  เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมทำทานภายในครัวเรือน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

หน่อไม้เป็นอาหารที่ให้เส้นใยสูงจึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย อีกทั้งยังมีโปรตีนจากเนื้อหมูและคุณค่าทางโภชนาการจากเครื่องปรุงต่างๆ

 

ส่วนผสม

หน่อไม้                             300    กรัม

เนื้อหมูสามชั้น                  50      กรัม

พริกชี้ฟ้า                           15      กรัม

กระเทียมสับ                      1        ช้อนโต๊ะ

น้ำมันพืช สำหรับผัด

เครื่องแกง

พริกขี้หนู                           7        เม็ด

กระเทียม                         15        กรัม

หอมแดง                          20      กรัม

กะปิ                                  1        ช้อนชา

ปลาร้า                              1        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                               1/2     ช้อนชา

วิธีทำ

นำหน่อไม้ไปต้มจนสุก จากนั้นนำมาฉีกหรือหั่นเป็นเส้นๆ พักไว้ จากนั้นโขลกหรือตำเครื่องแกงให้ละเอียด ตั้งกระทะใส่น้ำมันเจียวกระเทียมให้พอเหลือง ใส่พริกแกงลงไปผัดให้หอม ใส่เนื้อหมูสามชั้นผัดให้สุก ใส่พริกชี้ฟ้า และหน่อไม้ผัดให้เข้ากันจนสุกทั่ว ตักเสิร์ฟ

ภาค อีสาน

ส้มตำปูม้าดอง

ความเป็นมา ส้มตำปูม้าดอง คือส้มตำที่นิยมกันอย่างมากตามร้านอาหารซีฟู้ด เพราะรสชาติปูม้าดอง จะยิ่งเพิ่มให้ส้มตำให้ดูน่าทานมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำปูม้าดองมีสรรพคุณเหมือนๆกับส้มตำไทยคือมีเอนไซน์ปาปีน ที่ช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย   ส่วนผสม มะละกอดิบสับเป็นเส้น                    100    กรัม แครอทขูดเส้น                                20      กรัม ปูม้าดอง                                          1        ตัว กระเทียม                                        5        กรัม พริกขี้หนู                                         4        เม็ด มะเขือเทศสีดาหั่นเสี้ยว                   30      กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน                     25      กรัม น้ำปลา                                        1        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                   ¼       ถ้วย น้ำตาลปี๊บ                                   1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ใส่กระเทียมและพริกขี้หนู ลงในครก โขลกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกใส่มะเขือเทศ น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา  แล้วคลุกให้เข้ากันใส่มะละกอ แครอทตามด้วยปูม้าดอง แล้วโขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จาน รับประทานพร้อมผักสด


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ลาบปลาดุก

ความเป็นมา ลาบปลาดุกถูกดัดแปลงเพื่อให้เกิดรสชาติและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะรสชาติและรสสัมผัสของปลาดุกย่างจะแตกต่างจากเนื้อสัตว์โดยทั่วไป เนื้อปลาจะนุ่มและซึมซับรสของเครื่องปรุงได้ดีกว่า จึงได้รสชาติที่จัดจ้านกว่าเนื้อปลาชนิดอื่น   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลาดุกย่างมีสรรพคุณคือ มีโปรตีนสูง และไขมันต่ำ นอกจากนั้น ข่ายังช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนหอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจผักชีฝรั่งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ใบสะระแหน่ช่วยบำรุงสายตา คลายเครียด ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม ปลาดุกหนัก 300 กรัม                   1        ตัว ใบมะกรูดหั่นฝอย                          2        ช้อนชา ข่าโขลกละเอียด                            1        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                10      กรัม ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                                 10      กรัม ข้าวคั่วป่น                                    2        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                       2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                   2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ล้างปลาดุกให้สะอาด ขูดเมือกบนผิวออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อนำมาสับหยาบๆ จากนั้นเคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย และใบมะกรูดหั่นฝอยปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว คลุกเคล้ากันให้ทั่ว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักเคียง    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำกระท้อน

    ความเป็นมา ตำกระท้อน หรือตำบ่าตืน คือการนำกระท้อนมาหั่นเป็นเส้นแล้วผสมรวมกับเครื่องปรุงต่างๆ ปกติแล้วกระท้อนเป็นผลไม้ที่ทานสดได้เลย แต่ชาวล้านนานำมาดัดแปลงให้อร่อยถูกปากมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ กระท้อนอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังมีวิตามินเอ มีเพกติน ช่วยให้ระบบขับถ่ายมีประสิทธิภาพ และเป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส ช่วยเผาผลาญไม่ให้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ที่ไม่ได้ใช้งานตกค้างและสะสมในร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อกระท้อน           300    กรัม พริกขี้หนู                  5        กรัม กระเทียม                 5        กรัม น้ำตาลปี๊บ                1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปู                          ½       ช้อนชา กุ้งแห้ง                       1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ทุบกระท้อนให้นุ่ม ปอกเปลือก สับเป็นชิ้นโขลกพริกขี้หนู กระเทียม พอแตก ใส่น้ำตาลปี๊บ ปลาร้า น้ำปู และกุ้งแห้ง โขลกให้เข้ากันใส่กระท้อนลงโขลกและคลุกเคล้าให้เข้ากัน      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire