SLider section

คั่วกลิ้งหมู

ภาค ใต้

  • recipe image cover

คั่วกลิ้งหมู

ความเป็นมา

คั่วกลิ้งเป็นอาหารใต้อีกจานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน เพราะมีรสเผ็ดร้อนของพริกแกงที่มีทั้งพริกสด พริกแห้ง และสมุนไพรเด่นชัด เมื่อนำไปผัดยังต้องใส่สมุนไพรซอย เช่น ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด เพิ่มลงไป สีเหลืองจัดเพราะใส่ขมิ้น รสชาติทั้งเผ็ดทั้งร้อน จัดจ้าน และเมื่อเห็นร้านอาหารไหนขายคั่วกลิ้งจะรู้ทันทีว่าเป็นอาหารภาคใดไม่ได้นอกจากอาหารใต้เท่านั้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

สีเหลืองเด่นของคั่วกลิ้งที่เคลือบหมูสับหรือไก่สับและสมุนไพรต่างๆ เป็นสีของขมิ้น สารสีเหลืองในขมิ้นนี้คือ “เคอร์คูมิน” ที่มีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งมีสรรพคุณเป็นยา ช่วยรักษาแก้ท้องอืดท้องเสีย ปัจจุบันยังค้นพบว่าช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อกินขมิ้นพร้อมกับอาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ และยังช่วยทำลายไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้  คั่วกลิ้งจึงจัดเป็น “อาหารเป็นยา” อย่างแท้จริง

 

ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง 20 เม็ด ข่าหั่นแว่น 20 กรัม พริกไทยดำเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ

ขมิ้นยาว 2 นิ้ว  ตะไคร้ซอย  50 กรัม หอมแดง 40 กรัม กระเทียม 10 กรัม ผิวมะกรูด ½ ลูก

กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา  ตำส่วนผสมพริกแกงทุกกอย่างรวมกันจนละเอียด

 

ส่วนผสม

เนื้อหมูสับหยาบ            500 กรัม

พริกแกง                      1/2  ถ้วย

ตะไคร้ซอย                   30   กรัม

ข่าสับหยาบ                  3     ช้อนโต๊ะ

ใบมะกรูดซอย               ¼    ถ้วย

น้ำมัน                           2     ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด                     1     ถ้วย

น้ำตาลทราย                 1     ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันจนหอม ใส่หมูลงผัดให้เข้ากัน ค่อยๆ เติมน้ำเปล่าทีละน้อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใช้ไฟอ่อนคั่วไปเรื่อยๆ จนเนื้อหมูสุกแห้ง

 

 

ภาค กลาง

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   คุณค่าทางโภชนาการ จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย   ส่วนผสม กะทิ                                         2     ถ้วย เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                                  5     กรัม วิธีทำ ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ยำปลาอินทรีเค็ม

    ความเป็นมา ด้วยความที่พื้นที่ภาคใต้ติดกับทะเลจึงมีอาหารทะเลมากรวมทั้งปลาอินทรี จึงนำมาทำปลาเค็มเพื่อเก็บไว้กินได้นาน การนำมาทอด และยำโดยใส่หอมซอย พริกขี้หนู น้ำมะนาว จึงเป็นวิธีการปรุงง่าย ๆ อย่างหนึ่งที่กินได้อร่อย   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาอินทรีเค็มมีโปรตีนมากกว่าปลาสดในปริมาณที่เท่ากันเนื่องจากน้ำที่ระเหยไป แต่มีโซเดียมมากเราจึงกินได้น้อย การนำมายำให้มีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม และมีหอมแดงซอยทำให้กินได้อร่อย หอมแดงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด และในยาแผนโบราณใช้แก้หวัดคัดจมูกได้   ส่วนผสม ปลาอินทรีเค็มทอด               100    กรัม หอมแดงซอยบาง                 30      กรัม พริกขี้หนูซอย                        3        กรัม น้ำมะนาว                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                   1/2     ช้อนชา วิธีทำ โรยหอมแดง พริกขี้หนู น้ำตาล น้ำมะนาว บนชิ้นปลา คลุกรวมกันก่อนรับประทาน    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงกล้วยดิบ

ความเป็นมา แกงกล้วยดิบ เป็นแกงชนิดหนึ่ง ใช้กล้วยน้ำว้าดิบเป็นส่วนผสมเพราะหาได้ทั่วไปกล้วยจึงเป็นที่นิยมที่จะนำมาประกอบอาหารหลากหลายประเภท   คุณค่าทางโภชนาการ กล้วยน้ำว้าช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ในการช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี   ส่วนผสม กล้วยน้ำว้าดิบ                     400    กรัม เนื้อหมูสามชั้น                    100    กรัม ชะอมเด็ด                             50      กรัม ชะพลูหั่นหยาบ                   50      กรัม หอมแดงซอย                        1     ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง                      15      เม็ด กระเทียม                            10      กรัม หอมแดง                            30      กรัม ข่าหั่น                                 1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                         1        ช้อนโต๊ะ กะปิ                                     1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก                      1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                                 1/2     ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับหมูสามชั้นจนมีกลิ่นหอม และหมูเริ่มสุก เติมน้ำให้พอท่วม ตั้งไฟจนเดือด ใส่กล้วยน้ำว้าดิบหั่นเป็นแผ่นบางๆ ตั้งไฟจนเดือดอีกครั้ง ใส่หอมแดงซอย ชะอมเด็ด และใบชะพลู คนให้เข้ากันและผักสุก ตักขึ้นเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire